00:32

จังหวัดยโสธร

เมืองบั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ
http://www.worldexplorer.co.th/images/calen_th_p502-2.jpg

ข้อมูลทั่วไป

จังหวัดยโสธรจากพงศาวดารเมืองยโสธรได้บันทึกไว้ว่า เมื่อราวๆ ปี พ.ศ. 2340 พระเจ้าวรวงศา (พระวอ) เสนาบดีเก่าเมืองเวียงจันทน์กับสมัครพรรคพวกเดินทางอพยพจะไปอาศัยอยู่กับ เจ้านครจำปาศักดิ์ เมื่อเดินทางถึงดงผีสิงห์เห็นเป็นทำเลดี จึงได้ตั้งหลักฐานและสร้างเมืองที่นี่เรียกว่า “บ้านสิงห์ท่า” หรือ “เมืองสิงห์ท่า” ต่อมาใน พ.ศ. 2357 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกฐานะบ้าน สิงห์ท่าแห่งนี้ขึ้นเป็น “เมืองยโสธร” ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ มีเจ้าเมืองดำรงบรรดาศักดิ์เป็นพระสุนทรราชวงศา

ในปี พ.ศ. 2515 ได้ยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร โดยประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 70 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2515 ได้แยกอำเภอยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอป่าติ้ว อำเภอเลิงนกทา และอำเภอกุดชุม ออกจากจังหวัดอุบลราชธานี และรวมกันเป็นจังหวัดยโสธร ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2515

อาณาเขต การปกครอง

จังหวัดยโสธรมีเนื้อที่ประมาณ 4,161 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดในเขตอีสานตอนล่าง จังหวัดยโสธรแบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ คือ อำเภอเมืองยโสธร คำเขื่อนแก้ว มหาชนะชัย ป่าติ้ว เลิงนกทา กุดชุม ค้อวัง ทรายมูล และไทยเจริญ

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดมุกดาหาร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดนครพนม
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ด

การเดินทาง

ทางรถยนต์
ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรีจึงเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมาไปทางอำเภอพิมาย ผ่านอำเภอหนองสองห้อง และอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น แล้วจึงแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 23 ผ่านอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี อำเภอเสลภูมิ แล้วจึงถึงจังหวัดยโสธร รวมระยะทางประมาณ 531 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง

ทางรถไฟหรือเครื่องบิน
สำหรับผู้โดยสารโดยรถไฟและเครื่องบิน จะต้องลงที่จังหวัดอุบลราชธานี แล้วต่อรถยนต์มาลงที่ยโสธรอีกประมาณ 99 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับตารางรถไฟ โทร.1690,0 2223 7010,0 2223 7020 www.railway.co.th และตารางการบิน โทร. 1566,0 2628 2000 ,0 2356 1111 www.thaiairways.com

ทางรถโดยสารประจำทาง
จากกรุงเทพฯ มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศ สายกรุงเทพฯ-ยโสธร ทุกวัน รายละเอียดสอบถามได้ที่ สถานีเดินรถสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 โทร. 0 2936-2852-66 www.transport.co.th

การเดินทางจากอำเภอเมืองยโสธรไปยังอำเภอต่าง ๆ

อำเภอเมือง - กิโลเมตร
อำเภอทรายมูล 18 กิโลเมตร
อำเภอคำเขื่อนแก้ว 23 กิโลเมตร
อำเภอป่าติ้ว 28 กิโลเมตร
อำเภอกุดชุม 37 กิโลเมตร
อำเภอมหาชนะชัย 41 กิโลเมตร
อำเภอไทยเจริญ 50 กิโลเมตร
อำเภอเลิงนกทา 69 กิโลเมตร
อำเภอค้อวัง 70 กิโลเมตร


ที่เที่ยว

อ.เมือง
http://thummada.com/php_upload/sun10.jpg

สวนสาธารณะพญาแถน
ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง ริมถนนแจ้งสนิท (ทางหลวงหมายเลข 23) ติดกับอ่างเก็บน้ำลำทวน ภายในสวนพญาแถนมีลำน้ำเล็กๆ คดเคี้ยวล้อมรอบพื้นที่ 18 ไร่ 2 งาน 57 ตารางวา บริเวณโดยรอบประกอบด้วยสวนไม้ดอก ไม้ประดับ สังคีตศาลา (เวทีการแสดงกลางแจ้ง) สนามเด็กเล่น และสวนสุขภาพ ทางเทศบาลกำหนดให้สวนพญาแถนเป็นสถานที่จัดงานบั้งไฟประจำปี (พญาแถนเป็นชื่อของเทพเจ้าแห่งฝนตามความเชื่อของชาวอีสานว่าเมื่อถึงเดือนหก อันเป็นเดือนต้นฤดูฝน จะต้องทำบั้งไฟจุดขึ้นไปบนท้องฟ้าถวายพญาแถน ฝนจะได้ตกต้องตามฤดูกาล) นอกจากนี้ยังใช้เป็นสถานที่จัดงานแข่งเรือสั้นประจำปี และงานสงกรานต์ เมื่อปี พ.ศ.. 2525 สวนแห่งนี้ยังได้รับรางวัลสวนสาธารณะดีเด่น ประจำภาค 3 ของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย

วัดมหาธาตุ

http://202.28.94.55/web/322236/2551/project/g7/Yasothon/watmahatad.jpg
ตั้งอยู่ภายในเขตเทศบาลเมือง เป็นวัดคู่ยโสธรมาตั้งแต่สร้างเมือง (บ้านท่าสิงห์เดิม) โบราณสถานที่สำคัญในวัดมี 2 แห่ง คือ พระธาตุยโสธร และหอไตร

พระธาตุยโสธร
หรือพระธาตุอานนท์ ตั้งอยู่หน้าอุโบสถ เป็นพระธาตุรุ่นเก่าที่สำคัญองค์หนึ่งในภาคอีสาน เจดีย์เป็นทรงสี่เหลี่ยมส่วนยอดคล้ายพระธาตุพนม ภายในพระธาตุบรรจุอัฐิธาตุของพระอานนท์ การก่อสร้างได้รับอิทธิพลศิลปะลาวที่นิยมสร้างขึ้นเมื่อปลายสมัยกรุง ศรีอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งตรงกับประวัติการตั้งเมืองและประวัติของวัดมหาธาตุฉบับหนึ่งว่า สร้างราว พ.ศ. 2321 โดยท้าวหน้า ท้าวคำสิงห์ ท้าวคำผา ซึ่งเดิมเป็นเสนาบดีเก่าของกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) ต่อมาได้อพยพผู้คนภายใต้การนำของพระวอ พระตา ราว พ.ศ. 2313-2319 มาตั้งถิ่นฐาน ณ ที่นี้

ลักษณะพระธาตุ ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 81 เมตร ก่ออิฐถือปูนเอวฐานคอดเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงาย เหนือขึ้นไปเป็นเรือนธาตุ มีซุ้ม 4 ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน ส่วนยอดธาตุมียอดปลีเล็กแซมทั้ง 4 ด้าน ยอดกลางทรงสี่เหลี่ยมสอบ มี 2 ชั้น รูปแบบการก่อสร้างคล้ายกับพระธาตุก่องข้าวน้อย และทางวัดจะจัดให้มีงานสมโภชพระธาตุอานนท์ขึ้นเป็นประจำทุกปีในเดือนมีนาคม

หอไตร
เป็นที่เก็บคัมภีร์ใบลานของวัด ตั้งอยู่ตรงกลางสระทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระธาตุ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลักษณะแบบหอไตรภาคอีสานทั่วไป มีทางเดินโดยรอบติดกันใต้ชายคา บริเวณนี้เป็นที่เก็บรักษาตู้พระธรรม หีบพระธรรม เสลียงชั้นวางคัมภีร์ซึ่งนำมาจากเวียงจันทน์ มีซุ้มประตูและบานประตูไม้สลักลวดลายเครือเถาลงรักปิดทองอย่างสสวยงาม มีลวดลายการตกแต่งฝาผนัง ซึ่งเป็นลักษณะผสมแบบภาคกลาง ทำให้กล่าวได้ว่า หอไตรน่าจะสร้างขึ้นประมาณสมัยรัชกาลที่ 4-5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

พระธาตุก่องข้าวน้อย

http://www.212cafe.com/freewebboard/user_board/yangtalad49/picture/00057_1.jpg
เป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม ตั้งอยู่ในทุ่งนา ตำบลตาดทอง อำเภอเมืองยโสธร ไปตามทางหลวงหมายเลข 23 (ยโสธร-อุบลราชธานี) ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 194 เลี้ยวซ้ายไปอีก 1 กิโลเมตร

พระธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม สร้างในพุทธศตวรรษที่ 23-25 ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่ในเขตวัดพระธาตุก่องข้าวน้อย ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงทุ่งนาในเขตตำบลตาดทอง พระธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไป คือมีลักษณะเป็นก่องข้าว องค์พระธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 2 เมตร ก่อสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตร ช่วงกลางขององค์พระธาตุมีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ถัดจากช่วงนี้ไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆ สอบเข้าหากัน เป็นส่วนยอดรอบนอกของพระธาตุก่องข้าวน้อยมีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด 5x5 เมตร สภาพโดยทั่วไปในปัจจุบันนี้องค์พระธาตุชำรุดทรุดโทรม ปูนส่วนใหญ่ที่โบกไว้โดยรอบกะเทาะออกเกือบหมด และเห็นอิฐที่ใช้ก่อได้อย่างชัดเจน ส่วนยอดของพระธาตุก็หักพังลงมาก

นอกจากนี้บริเวณด้านหลังพระธาตุมีพระพุทธรูปอยู่องค์ หนึ่งก่อด้วยอิฐ ชาวบ้านนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และในเดือนห้าจะมีผู้คนนิยมมาสรงน้ำพระและปิดทอง ซึ่งเชื่อกันว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ฝนจะแล้งในปีนั้น

พระธาตุก่องข้าวน้อยมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ ซึ่งผิดไปจากปูชนียสถานแห่งอื่นๆ ที่มักเกี่ยวพันกับเรื่องพุทธศาสนา แต่ประวัติความเป็นมาของพระธาตุก่องข้าวน้อยกลับเป็นเรื่องของหนุ่มชาวนาที่ ทำนาตั้งแต่เช้าจนเพล มารดาส่งข้าวสายเกิดหิวข้าวจนตาลายอารมณ์ชั่ววูบทำให้เขากระทำมาตุฆาตด้วย สาเหตุเพียงว่าข้าวที่เอามาส่งดูจะน้อยไปไม่พอกิน ครั้นเมื่อกินข้าวอิ่มแล้ว ข้าวยังไม่หมดจึงได้สติคิดสำนึกผิดที่กระทำรุนแรงต่อมารดาของตนเองจนถึงแก่ ความตาย จึงได้สร้างพระธาตุก่องข้าวน้อยแห่งนี้ขึ้น เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลขออโหสิกรรมและล้างบาปที่ตนกระทำมาตุฆาต

นอกจากนี้ที่บริเวณบ้านตาดทอง กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และภาชนะลายเขียนสีแบบบ้านเชียงซึ่งกรมศิลปากรกำลังดำเนินการจัดตั้งอุทยาน ก่อนประวัติศาสตร์ขึ้น

อ.อื่นๆ

สถานที่ท่องเที่ยว ในเขตอำเภอป่าติ้ว

หมู่บ้านทำหมอนขิตบ้านศรีฐาน

http://www.inspect9.moe.go.th/02918_020.jpeg
ห่างจากตัวเมืองยโสธร 20 กิโลเมตร ตามเส้นทางยโสธร-ป่าคิ้ว-อำนาจเจริญ (ทางหลวงหมายเลข 202) ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 18-19 แยกทางขวามือเข้าไปทางลูกรังอีก 3 กิโลเมตร หลังฤดูทำนาชาวบ้านแทบทุกครัวเรือนมีอาชีพทอผ้าและทำหมอนขิต นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปชมและซื้อหมอนขิตไว้เป็นที่ระลึก ซึ่งขณะนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก ส่งเป็นสินค้าออกไปขายต่างประเทศ นับเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่นำรายได้เป็นอันดับสองรองจากการทำนา

สถานที่ท่องเที่ยว ในเขตอำเภอเลิงนกทา

ภูถ้ำพระ
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านกุดแห่ หรือกุดแห ตำบลกุดเชียงหมี ห่างจากอำเภอเลิงนกทา 12 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 212 และห่างจากอำเภอเมือง 85 กิโลเมตร ที่เรียกว่า "ภูถ้ำพระ" เนื่องจากมีพระพุทธรูปอยู่ในถ้ำจำนวนมาก ล้วนแต่เป็นพระพุทธรูปโบราณอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งสิ้น ถ้ำพระนี้เป็นถ้ำใหญ่กว้างประมาณ 3 วา ยาวประมาณ 8 วา ตั้งอยู่ชะง่อนภูด้านทิศใต้ มีทางเข้าไปตามซอกหินเป็นอุโมงค์ จากปากถ้ำเลยไปทางทิศเหนือ สามารถเดินลอดไปได้อย่างสบาย บนภูเขาลูกนี้นอกจากจะมีบรรยากาศร่มเย็นและร่มรื่นไปด้วยป่าไม้หนาทึบแล้ว บริเวณโดยรอบยังมีถ้ำอื่นๆ อีก อาทิ ถ้ำเค็ง ถ้ำงูชวง ถ้ำเกลี้ยง และถ้ำพรหมบุตร

สถานที่ท่องเที่ยว ในเขตอำเภอคำเขื่อนแก้ว

บ้านสงเปือย
อยู่ห่างจากตัวเมืองยโสธร 25 กิโลเมตร ตามเส้นทางยโสธร-คำเขื่อนแก้ว-อุบลราชธานี โดยทางหลวงหมายเลข 23 จะมีทางแยกขวาเข้าไปอีกราว 10 กิโลเมตร สิ่งสำคัญและปูชนียสถานที่น่าสนใจ มีดังนี้

พระพุทธรูปใหญ่
เป็นพระประธานในอุโบสถวัดสงเปือย มีขนาดหน้าตักกว้าง 3 เมตร สูง 8 เมตร เป็นพระพุทธรูปปั้นด้วยอิฐ ปูน มีอายุไม่น้อยกว่า 200 ปี เป็นที่สักการะของประชาชนในท้องถิ่น ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง

เจดีย์บรรจุดินจากสังเวชนียสถาน

http://mw2.google.com/mw-panoramio/photos/medium/7025408.jpg
เดิมเป็นเจดีย์เก่า อายุประมาณ 200 ปีขึ้นไป ในปี พ.ศ. 2498 ได้ต่อเติมขึ้นใหม่ โดยเงินทุนของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม พระปลัดเขียน อัมมาพันธ์ นำดินจากสังเวชนียสถาน 4 ตำบล คือ ที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน จากประเทศอินเดียมาบรรจุไว้

รอยพระพุทธบาทจำลอง
จัดสร้างโดยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม และท่านผู้หญิง ในวันสงกรานต์ของทุกปีมีประชาชนในท้องถิ่นมาสรงน้ำเป็นจำนวนมาก

พิพิธภัณฑ์ของโบราณ
เป็นสถานที่รวบรวมของโบราณซึ่งเก็บและขุดมาได้จากดงเมืองเตยเมืองเก่าสมัย ขอม ในพิพิธภัณฑ์นี้มีเตียงบรรทมเจ้าเมือง (เป็นศิลา) และศิลาจารึก สันนิษฐานว่าเป็นอักษรขอมโบราณ

ซากเมืองโบราณดงเมืองเตย
อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านสงเปือย ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1 กิโลเมตร และห่างจากตัวอำเภอประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นสถานที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของอำเภอคำเขื่อนแก้ว ภายในบริเวณดงเมืองเตยมีซากวัด สระน้ำ กำแพงเมือง ซึ่งปัจจุบันได้ชำรุดลงไปมากแล้ว แต่ยังมีเค้าโครงเดิมพอจะสันนิษฐานได้ว่าเดิมเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณสมัย เจนละ-ทวารวดี ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 จากข้อความที่พบในจารึกของกษัตริย์เจนละ แสดงว่าโบราณสถานแห่งนี้สร้างขึ้นเป็นศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ที่นับถือพระ ศิวะ ในช่วงเวลานั้น บริเวณดงเมืองเตย รวมทั้งชุมชนใกล้เคียงก็คงจะเคยเป็นเมืองที่มีชื่อว่า "ศังขะปุระ" ซึ่งคงจะมีความสัมพันธ์ในฐานะเมืองในปกครองของอาณาจักรเจนละ ซึ่งก็คืออาณาจักรขอมในสมัยต่อมาที่แผ่อำนาจเข้ามาในเขตลุ่มแม่น้ำมูล-ชี ในช่วงเวลาดังกล่าว

กู่จาน
ตั้งอยู่ที่บ้านงิ้ว ตำบลกู่จาน ห่างจากอำเภอคำเขื่อนแก้วไปทางทิศตะวันออก 12 กิโลเมตร เป็นถนนลูกรัง ตามตำนานเล่าว่ากู่จานมีมาตั้งแต่ครั้งสร้างพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม

สถานที่ท่องเที่ยว ในเขตอำเภอมหาชนะชัย

รอยพระพุทธบาทจำลอง
ตั้งอยู่ที่หมู่บ้าานหนองยาง ตำบลหัวเมือง ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางทิศตะวันตก 6 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2083 พื้นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทเป็นเนินทรายขาวสูงงอกขึ้นกลางพื้นที่ลุ่มน้ำ ชี นับเป็นโบราณวัตถุอันล้ำค่าของจังหวัด บริเวณเดียวกันนี้ยังมีโบราณวัตถุอีกชิ้นหนึ่ง ได้แก่ พระพุทธรูปปางนาคปรก (ศิลาแลง) 1 องค์ ขนาดหน้าตักกว้าง 1 ศอก และหลักศิลาจารึกทำด้วยศิลาแลง 1 หลัก สูงประมาณ 1 เมตร กว้าง 50 เซนติเมตร มีตัวหนังสือโบราณบันทึกไว้ว่า โบราณวัตถุทั้ง 3 อย่างนี้ พระมหาอุตตปัญญาและสิทธิวิหาริก ได้นำมาจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 1378 นอกจากนั้นก็เขียนบอกคำนมัสการพระพุทธบาทไว้ บางตัวก็อ่านไม่ออกเพราะเลือนลางมาก ในระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ของทุกปี จะมีประชาชนจากอำเภอและตำบลใกล้เคียงไปนมัสการเป็นจำนวนมาก


หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ โรงพยาบาลยโสธร โทร. 0 4571 2580, 0 4572 2486-7
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 4571 1093
สำนักงานจังหวัด โทร. 0 4571 2722
สถานีตำรวจภูธรจังหวัดยโสธร โทร. 0 4571 1683–4

00:32

จังหวัดอุดรธานี

" น้ำตกจากสันภูพาน อุทยานแห่งธรรมะ อารยธรรมห้าพันปี ธานีผ้าหมี่-ขิด
แดนเนรมิตรหนองประจักษ์ เลิศลักษณ์กล้วยไม้หอม อุดรซันไชน์ "

http://www.udonthani.com/images/tng1.JPG
จังหวัดอุดรธานี

ข้อมูลทั่วไป

อุดรธานี เป็นจังหวัดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคมและการท่องเที่ยวทางภาคตะวันออก เฉียงเหนือของประเทศไทย และยังเป็นดินแดนที่มีอารยธรรมเก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและมีหัตถกรรมผ้าขิตที่มีชื่อ เสียงอีกด้วย

อาณาเขตการปกครอง

จังหวัดอุดรธานีมีเนื้อที่ประมาณ 11,730 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 20 อำเภอ คือ อำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอหนองวัวซอ อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านผือ อำเภอบ้านดุง อำเภอกุมภวาปี อำเภอโนนสะอาด อำเภอเพ็ญ อำเภอน้ำโสม อำเภอกุดจับ อำเภอศรีธาตุ อำเภอวังสามหมอ อำเภอทุ่งฝน อำเภอสร้างคอม อำเภอไชยวาน อำเภอหนองแสง อำเภอนายูง อำเภอพิบูลย์รักษ์ อำเภอกู่แก้ว และอำเภอประจักษ์ศิลปาคม

ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดหนองคาย
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดขอนแก่นและกาฬสินธุ์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดสกลนคร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดเลย และหนองบัวลำภู

การเดินทาง

ทางรถยนต์

จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงสระบุรี บริเวณกิโลเมตรที่ 107 แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านนครราชสีมา ขอนแก่น ถึงอุดรธานี รวมระยะทางประมาณ 564 กิโลเมตร

ทางรถไฟ

การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดบริการรถไฟวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-อุดรธานี ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2220 4334, 0 2 223 7010, 0 2223 7020 www.railway.co.th

ทางรถโดยสารประจำทาง

มีบริการรถโดยสารทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-อุดรธานีทุกวัน รถออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร (หมอชิต 2) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 0 2936-2852–66 และที่สถานี ขนส่งอุดรธานี โทร. 0 4222 1489 www.transport.co.th

ทางเครื่องบิน

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ให้บริการเครื่องบินระหว่าง กรุงเทพฯ-อุดรธานีทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1566,0 2628 2000 www.thaiairways.com และ สายการบินนกแอร์ เปิดบริการเที่ยวบินไปจังหวัดอุดรธานีทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 1318 www.nokair.co.th และสายการบินแอร์ เอเชีย โทร. 0 2515 9999 www.airasia.com นอกจากนี้ยังมีสายการบินไทเกอร์ แอร์เวย์ที่เดินจากสิงคโปร์มายังจังหวัดอุดรธานี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0 2351 8333 www.tigerairways.com

การเดินทางจากอุดรธานีไปยังจังหวัดใกล้เคียง

หนองบัวลำภู 46 กิโลเมตร
หนองคาย 51 กิโลเมตร
ขอนแก่น 115 กิโลเมตร
เลย 152 กิโลเมตร
สกลนคร 159 กิโลเมตร
กาฬสินธุ์ 192 กิโลเมตร

นอกจากนี้ ยังมีรถโดยสารประจำทางเดินทางไปจังหวัดใกล้เคียงคือ จังหวัดหนองคาย เลย ขอนแก่น หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม อุบลราชธานี พิษณุโลก เชียงใหม่ เชียงราย ระยอง เป็นต้น ซึ่งจะออกทุก ๆ 30-40 นาที

การเดินทางจากอำเภอเมืองอุดรธานีไปยังอำเภอต่าง ๆ

อำเภอเมือง - กิโลเมตร
อำเภอกุดจับ 24 กิโลเมตร
อำเภอหนองหาน 35 กิโลเมตร
อำเภอหนองแสง 35 กิโลเมตร
อำเภอประจักษ์ศิลปาคม 36 กิโลเมตร
อำเภอหนองวัวซอ 39 กิโลเมตร
อำเภอกุมภวาปี 43 กิโลเมตร
อำเภอเพ็ญ 43 กิโลเมตร
อำเภอพิบูลย์รักษ์ 50 กิโลเมตร
อำเภอโนนสะอาด 53 กิโลเมตร
อำเภอบ้านผือ 55 กิโลเมตร
กิ่งอำเภอกู่แก้ว 61 กิโลเมตร
อำเภอไชยวาน 62 กิโลเมตร
อำเภอทุ่งฝน 65 กิโลเมตร
อำเภอสร้างคอม 68 กิโลเมตร
อำเภอศรีธาตุ 72 กิโลเมตร
อำเภอบ้านดุง 84 กิโลเมตร
อำเภอวังสามหมอ 96 กิโลเมตร
อำเภอน้ำโสม 110 กิโลเมตร
อำเภอนายูง 129 กิโลเมตร

แผนที่จังหวัดอุดรธานี

แผนที่ตัวเมืองอุดรธานี


ข้อมูลท่องเที่ยว อำเภอเมือ

หนองประจักษ์ศิลปาคม
อยู่ในเขตเทศบาลเมืองอุดรธานี หนองประจักษ์เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีมาตั้งแต่ก่อนตั้งเมืองอุดรธานี เดิมเรียกว่า “หนองนาเกลือ” ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมือง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “หนองประจักษ์” เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่ พล.ต. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ทรงก่อตั้งเมืองอุดรธานี ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 เทศบาลเมืองอุดรธานี ได้ทำการปรับปรุงหนองประจักษ์ขึ้นใหม่ เพื่อถวายเป็นราชสักการะแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ โดยบริเวณตัวเกาะกลางน้ำได้จัดทำสวนหย่อมปลูกไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิด และทำสะพานเชื่อมระหว่างเกาะมีน้ำพุ หอนาฬิกา และสวนเด็กเล่น แต่ละวันจะมีประชาชนเข้าไปพักผ่อนและออกกำลังกายกันเป็นจำนวนมาก ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จะมีพระตำหนักหนองประจักษ์ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวรัชกาลปัจจุบัน

วัดโพธิสมภรณ์
ตั้งอยู่ที่ตำบลหมากแข้ง เป็นวัดที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ ปลายรัชกาลที่ 5 โดยมหาอำมาตย์ตรีพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ เนติโพธิ) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร ได้ชักชวนราษฎรในหมู่บ้านหมากแข้งสร้างวัด ซึ่งชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดใหม่ ต่อมา พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ได้ทรงประทานนามว่า “วัดโพธิสมภรณ์” ให้เป็นอนุสรณ์แก่พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตรผู้สร้างวัดนี้

วัดมัชฌิมาวาส
ตั้งอยู่ที่ตำบลหมากแข้ง เดิมเคยเป็นวัดร้างมาก่อน ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดเดิมหรือวัดเก่า ในวิหารเล็กๆ ภายในวัดมีพระพุทธรูปหินสีขาวปางนาคปรกประดิษฐานอยู่ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อนาค” เป็นที่เคารพสักการะของชาวอุดรธานีมาก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมได้โปรดให้สร้างวัดขึ้น ที่วัดร้างโนนหมากแข้ง และให้ชื่อว่า “วัดมัชฌิมาวาส”

ศาลเจ้าปู่-ย่า
ตั้งอยู่หลังสถานีรถไฟใกล้ตลาดหนองบัว เป็นศาลเจ้าของชาวจีนที่ใหญ่โตและสวยงาม มีสวนหย่อมริมหนองบัว บรรยากาศร่มรื่นเหมาะแก่การท่องเที่ยวและพักผ่อน และในศาลเจ้าปู่-ย่าแห่งนี้ ยังมีมังกรทองยาวถึง 99 เมตร ซึ่งใช้แสดงโชว์ในงานทุ่งศรีเมืองในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี

สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์
ตั้งอยู่ที่ซอยกมลวัฒนา ถนนรอบอุดร-หนองสำโรง จากตัวเมืองใช้เส้นทางหมายเลข 2 (อุดรธานี-หนองคาย) ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร เลยแยกถนนเลี่ยงเมืองไปเล็กน้อย ทางซ้ายมือจะมีทางแยกเข้าหนองสำโรง และเห็นป้ายบอกทางเข้าสวนกล้วยไม้ทางด้านซ้ายมือ สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ เป็นสวนกล้วยไม้ที่ผลิตกล้วยไม้กลิ่นหอมพันธุ์ใหม่ของไทย ซึ่งใช้เวลาในการค้นคว้าและผสมพันธุ์ถึง 10 ปีเศษ ชื่อพันธุ์ Udon Sunshine หรือพันธุ์นางสาวอุดรซันไฌน์ ซึ่งมีการนำไปสกัดทำน้ำหอมในชื่อเดียวกัน ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. (042) 242475

วัดบ้านตาด
ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านตาด เดินทางออกจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 2 อุดรธานี-ขอนแก่น ถึงบริเวณสี่แยกบ้านคงเค็ง แล้วแยกขวาเข้าไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณวัดที่อยู่เลยจากชุมชนบ้านตาดไม่ไกลเท่าใดนัก สภาพโดยทั่วไปของวัดนี้มีลักษณะเป็นพื้นที่ป่าบนโคกเนินที่ล้อมรอบด้วยกำแพง คอนกรีต มีพื้นที่ทั้งหมดราว 163 ไร่ มีประตูเข้าออกเป็นประตูใหญ่อยู่บริเวณด้านหน้าของวัด การจะเข้าไปในวัดต้องขออนุญาตท่านเจ้าอาวาสเสียก่อน กำแพงล้อมรอบบริเวณวัดนอกจากมีจุดประสงค์ที่จะให้แสดงเขตแน่นอนของวัดแล้ว ยังป้องกันอันตรายให้กับสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าของวัดอีกด้วย เพราะในบริเวณวัดมีสัตว์ป่าชุกชุมมาก ทั้งไก่ฟ้า ไก่ป่า นก กระรอก กระแต หมูป่า วัดบ้านตาดเป็นที่พำนักของพระอาจารย์มหาบัวญาณสัมปันโน พระอาจารย์วิปัสสนาสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพระที่มีปฏิปทา เป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป ภายในวัดนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการไปปฏิบัติธรรมเท่านั้น

หมู่บ้านนาข่า
อยู่ในเขตอำเภอเมือง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 16 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายอุดรธานี-หนองคาย (ทางหลวงหมายเลข 2) หมู่บ้านอยู่ทางขวามือ ตรงข้ามโรงเรียนชุมชนนาข่า เป็นหมู่บ้านที่มีการทอผ้าขิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าขิตในราคาย่อมเยา

บ้านถ่อน
เป็นหมู่บ้านที่มีการทอผ้าขิตและผ้าฝ้ายยกดอกลวดลายสวยงาม การเดินทางไปหมู่บ้านถ่อน ใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (อุดรธานี-หนองคาย) ไป 16 กิโลเมตร จะมีทางแยกขวามือเป็นทางลูกรังเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร

อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง
อยู่บนเส้นทางหลวงแผ่นดินสายอุดรธานี-เลย ตรงกิโลเมตรที่ 15 แล้วแยกเข้าไปอีก 10 กิโลเมตร เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ อยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พื้นที่อ่างเก็บน้ำประมาณ 20,000 ไร่ สามารถกักเก็บน้ำได้ 113 ล้านลูกบาศก์เมตร และส่งน้ำเพื่อการเกษตรได้จำนวน 86,000 ไร่ เป็นอ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตร การประมง การจ่ายน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีภูมิประเทศที่สวยงาม เหมาะสำหรับการล่องแพ ตกปลา และนั่งเรือเล่น ปัจจุบันทางราชการได้สร้างพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราช ชนนี ซึ่งเสด็จฯ มาประทับเกือบทุกปี

อ.อื่นๆ

อำเภอบ้านผือ
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้ง อยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3,430 ไร่ ในเขตบ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดระยะทางประมาณ 67 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 2 (อุดรธานี-หนองคาย) บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 13 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2021 ไปทางอำเภอบ้านผือ ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตรแยกขวาประมาณ 500 เมตร และตรงไปตามเส้นทางหมายเลข 2348 อีกประมาณ 12 กิโลเมตร มีแยกขวาเป็นทางเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร ภายในบริเวณอุทยานฯทางด้านขวามือเป็นที่ตั้งของศูนย์บริการนักท่องเที่ยว สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดและข้อมูลของอุทยานฯ รวมทั้งแผนที่และเส้นทางเพื่อความสะดวกในการเที่ยวชมอุทยานประวัติศาสตร์ภู พระบาท เปิดบริการเวลา 08.00-16.30 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทนี้เป็นที่ตั้งของสถานที่ซึ่งแสดงถึง อารยธรรมของมนุษย์ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศ ซึ่งมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นหินทรายที่ถูกขัดเกลาจากขบวนการกัดกร่อนทาง ธรรมชาติทำให้เกิดเป็นโขดหินน้อยใหญ่รูปร่างต่างๆกัน ปรากฏเป็นหลักฐานเกี่ยวกับชีวิตผู้คนในอดีตที่น่าสนใจหลายแห่ง อาทิ
พระพุทธบาทบัวบก ตั้งอยู่บริเวณทางแยกซ้ายมือก่อนถึงที่ทำการอุทยานฯ สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2463-2477 คำว่า "บัวบก" เป็นชื่อของพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามป่า มีหัวและใบคล้ายใบบัว ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ผักหนอก บัวบกนี้คงจะมีอยู่มากในบริเวณที่พบรอยพระพุทธบาท จึงเรียกรอยพระพุทธบาทนี้ว่า "พระพุทธบาทบัวบก" หรือคำว่าบัวบกอาจจะมาจากคำว่า บ่บก ซึ่งหมายถึง ไม่แห้งแล้ง รอยพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ 60 เซนติเมตร ลงไปในพื้นหินยาว 1.93 เมตร กว้าง 90 เซนติเมตร เดิมมีการก่อมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2465 พระอาจารย์ศรีทัตย์ สุวรรณมาโจ ได้รื้อมณฑปเก่าออกแล้วสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นใหม่ และยังสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองวางทับรอยพระพุทธบาทเดิมไว้ ภายในพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตัวองค์เจดีย์เป็นทรงบัวเหลี่ยมคล้ายองค์พระธาตุพนม มีงานนมัสการพระพุทธบาทบัวบกในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
พระพุทธบาทหลังเต่า ตั้ง อยู่ทางทิศใต้ของพระพุทธบาทบัวบก มีลักษณะเป็นรอยพระบาทสลักลึกลงไปในพื้นหิน ลึกประมาณ 25 เซนติเมตร ใจกลางพระบาทสลักเป็นรูปดอกบัว กลีบแหลมนูนขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัดและเนื่องจากพระพุทธบาทแห่งนี้อยู่ใกล้กับ เพิงหินธรรมชาติรูปร่างคล้ายเต่า จึงได้ชื่อว่า “พระพุทธบาทหลังเต่า”

ถ้ำ และเพิงหินต่าง ๆ ตั้งกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณอุทยานฯ แห่งนี้ นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมได้ในระยะทางไม่ไกลนัก ได้แก่ ถ้ำลายมือ ถ้ำโนนสาวเอ้ ถ้ำคน ถ้ำวัวแดง (ซึ่งถ้ำเหล่านี้สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นที่พำนักของมนุษย์สมัยหินและมนุษย์ เหล่านั้นได้เขียนรูปต่างๆ ไว้ เช่น รูปคน รูปมือ รูปสัตว์ และรูปรายเรขาคณิต) นอกจากนั้นยังมีลานหินที่สวยงาม คือ ลานหินโนนสาวเอ้ ธรรมชาติได้สร้างเพิงหินต่างๆ ไว้ ทำให้มนุษย์รุ่นหลังๆ ได้จินตนาการผูกเป็นเรื่องตำนานพื้นบ้าน คือ เรื่อง “นางอุสา-ท้าวบารส” เพิงหินที่สวยงามเหล่านี้ ได้แก่ คอกม้าท้าวบารส หอนางอุสา บ่อน้ำนางอุสา นอกจากนั้นยังพบชิ้นส่วนหลักเสมาและหินทรายจำหลัก พระพุทธรูปศิลปะสมัยทวาราวดี ที่เพิงหินวัดพ่อตาและเพิงหินวัดลูกเขย
พระพุทธบาทบัวบาน ตั้ง อยู่บนเนินเขาในเขตตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองอันเก่าแก่และมีการขุดค้นพบใบเสมาที่ทำด้วย หินเป็นจำนวนมากใบเสมาเหล่านี้สลักเป็นรูปบุคคล ศิลปะทวาราวดี

อำเภอน้ำโสม
วนอุทยานนายูงน้ำโสม มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจคือ น้ำตกยูงทอง ตั้งอยู่บ้านสว่าง หมู่ที่ 2 ตำบลนายูง อำเภอน้ำโสม เป็นน้ำตกตั้งอยู่บนสันเขาภูพานและภูย่าอูมีลำน้ำไหลผ่านโขดหินสลับซับซ้อน สวยงามท่ามกลางความเขียวขจีของแมกไม้นานาพรรณ น้ำตกยูงทองเป็นน้ำตกขนาดเล็ก มี 3 ชั้น อยู่ห่างจากตัวเมืองอุดรธานีประมาณ 103 กิโลเมตร การเดินทางจากตัวเมืองอุดรธานี ผ่านเข้าอำเภอบ้านผือและอำเภอน้ำโสม เมื่อถึงอำเภอน้ำโสมจะมีทางแยกจากหมู่บ้านน้ำซึมต่อไปอีกประมาณ 17 กิโลเมตร ก็จะถึงทางแยกไปวนอุทยานฯ ซึ่งเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางของ รพช. ตลอดสายและมีสภาพดี

อำเภอหนองหาน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง ตั้งอยู่ที่บ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ตั้งอยู่ทางด้านขวาของทางเข้า อยู่ในบริเวณวัดโพธิ์ศรีใน เป็นพิพิธภัณฑ์เปิดที่เป็นแหล่งโบราณคดีแห่งแรกในประเทศไทย เป็นนิทรรศการถาวร ซึ่งแสดงขั้นตอนการขุดค้นทางโบราณคดีที่ยังคงลักษณะของศิลปวัตถุที่พบตามชั้นดิน เพื่อให้ผู้เข้าชมได้ศึกษาถึงการขุดค้นทางโบราณคดีและโบราณวัตถุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาชนะเผาที่ฝังรวมกับศพ

ส่วน ที่ 2 ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของทางเข้า เป็นอาคารที่จัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องราวและวัฒนธรรมของบ้านเชียงในอดีตตลอดจน เครื่องมือเครื่องใช้ที่แสดงถึงเทคโนโลยีในสมัยโบราณ รวมทั้งโบราณวัตถุและนิทรรศการบ้านเชียงที่เคยจัดแสดง ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนั้น ภายในบริเวณอาคารส่วนที่ 2 ยังมีห้องนิทรรศการ ห้องบรรยาย ฉายภาพยนตร์ ภาพนิ่ง และการให้บริการการศึกษาต่างๆ การเดินทางไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียงนั้นสะดวกมาก เนื่องจากอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 55 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 22 (อุดรธานี-สกลนคร) ตรงกิโลเมตรที่ 50 ก็จะถึงปากทางเข้าบ้านปูลู จะเห็นป้ายบอกทางไปพิพิธภัณฑ์ทางด้านซ้ายมือ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2225 อีกประมาณ 6 กิโลเมตร ก็จะถึงพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.30 น. ค่าเข้าชมชาวไทยคนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศ คนละ 30 บาท

อำเภอหนองแสง
อุทยานธารงาม ตั้งอยู่ในเขตบ้านทับกุง ตำบลทับกุง ตามเส้นทางหมายเลข 2 (อุดรธานี-ขอนแก่น) ระยะทางประมาณ 55 กิโลเมตร จะมีด้านขวามือไปสู่อำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร ก็จะเข้าสู่เขตอุทยานธารงาม บริเวณอุทยานธารงามมีเนื้อที่ประมาณ 130 ตารางกิโลเมตร ประกอบไปด้วยธรรมชาติอันสวยงาม มีลานหินที่กว้างใหญ่ ถ้ำและน้ำตกหลายแห่ง เช่น น้ำตกตาดมะค่า น้ำตกวังตาดแพ ถ้ำมักเกิ้น ถ้ำมักควน แหลสะอาด (ลานหิน) แหลตากผ้า ฯลฯ ซึ่งแต่ละแห่งมีความสวยงามแตกต่างกันออกไป

อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม จังหวัดอุดรธานี

ในปี 2518 นายสุรชาติ ชำนาญศิลป์ กำนันตำบลนายูง อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ได้มีหนังสือเสนอกรมป่าไม้ว่า ได้ร่วมกับหัวหน้าหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ อด.2 สำรวจพื้นที่ป่าในท้องที่ตำบลนายูง ในเขตเทือกเขาภูพานแล้วปรากฏว่า มีสภาพทั่วไปคล้ายคลึงกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชลบุรี ผิดแผกก็เฉพาะบนสันเขาของตำบลนายูงนี้มีความสวยงาม และน้ำตกสวยงามกว่ามาก เหมาะที่จะปรับปรุงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ กรมป่าไม้จึงให้กองบำรุงส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจหาข้อมูลดังกล่าว ปรากฏว่า ป่าตำบลนายูงแห่งนี้อยู่ในเขต ป่าโครงการไม้กระยาเลยนายูง (อด.25) ตอนที่ 10 อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ยังไม่เคยมีการทำไม้มาก่อน มีความสวยงามพอสมควร เห็นควรจัดเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในรูปของวนอุทยาน กรมป่าไม้จึงได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2518 โดยอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานป่าไม้จังหวัดอุดรธานี
เนื่องจากบริเวณป่าที่ดำเนินการจัดตั้งเป็นวนอุทยานยังไม่ได้มีการสำรวจ พื้นที่โดยละเอียด กรมป่าไม้จึงได้ให้สำนักงานป่าไม้เขตอุดรธานีไปดำเนินการ ปรากฏว่า วนอุทยานนายูง-น้ำโสมอยู่ในเขตป่าโครงการไม้กระยาเลยกลางใหญ่ (อด.26) ตอนที่ 7 และตอนที่ 8 เขตอำเภอผือ จังหวัดอุดรธานี และป่าโครงการไม้กระยาเลยนายูง (อด.25) ตอนที่ 10 ตำบลนายูง อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาตินายูง-น้ำโสม มีเนื้อที่ประมาณ 20.98 ตารางกิโลเมตร จนถึงปี พ.ศ. 2528 ได้โอนงานวนอุทยานนายูง-น้ำโสมให้สำนักงานป่าไม้เขตอุดรธานีเป็นผู้ดูแล ถึงปี พ.ศ. 2532 จึงโอนงานให้อยู่ในความดูแลของกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้
ต่อมากรมป่าไม้ได้รับรายงานจากสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติว่า วนอุทยานนายูง-น้ำโสม และบริเวณพื้นที่ป่าใกล้เคียง ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์บางส่วนของป่าสงวนแห่งชาติป่าพรานพร้าว-แก้งไก้ ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูเขาแก้ว-ดงปากชม และป่าสงวนแห่งชาติป่านายูง-น้ำโสม จังหวัดอุดรธานี เนื้อที่รวมประมาณ 215,000 ไร่ มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีสภาพธรรมชาติที่สวยงาม เหมาะแก่การศึกษาท่องเที่ยวของประชาชนทั่วไป สมควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่งให้หัวหน้าวนอุทยานนายูง-น้ำโสม ไปดำเนินการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสมต่อไป

ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม เป็นพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี เลย และหนองคาย มีสภาพภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงชันสลับซับซ้อนที่ความสูงจากระดับน้ำ ทะเลประมาณ 200-500 เมตร ภูเขาที่สูงที่สุดคือ ภูย่าอู่ สูงประมาณ 588 เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่ยังอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ เช่น ห้วยน้ำโสม ห้วยตาดโตน ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทรายตามป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณและดิน ลูกรังตามป่าเต็งรัง หินที่พบในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินทราย

ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม ฤดูร้อนอากาศร้อนมาก อุณหภูมิประมาณ 40 oC ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ฤดูฝนระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม และฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อากาศหนาวเย็น อุณหภูมิประมาณ 10-20 oC ปริมาณน้ำฝนตลอดปีประมาณ 1,000-1,500 มิลลิเมตร

พรรณไม้และสัตว์ป่า
สภาพป่าเป็นป่าเต็งรังกระจายตามเชิงเขาและสันเขา พันธุ์ไม้สำคัญคือ เต็ง รัง เหียง พลวง ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นหญ้าเพ็ก กระเจียว ตามหุบเขาเป็นป่าเบญจพรรณ มีชิงชัน แดง ประดู่ มะค่าแต้ และไผ่หลายชนิด เช่น ไผ่ซาง ไผ่ข้าวหลาม ไผ่ไร่ ไผ่ป่า ตามริมห้วยเป็นป่าดิบแล้ง พบยาง กระบาก ตะเคียน ตะแบก มะค่าโมง ฯลฯ พืชอิงอาศัยจะมีกล้วยไม้ต่างๆ และเฟินกระเช้าสีดา ขึ้นเกาะอยู่ตามคาคบไม้อยู่มากมาย พืชพื้นล่างเป็นพวกหวาย ปาล์ม สมุนไพรต่างๆ
สัตว์ป่าที่พบเห็นได้แก่ หมูป่า เก้ง กระจง ลิง ค่าง กระรอก ตะกวด งู และนกชนิดต่างๆ ส่วนสัตว์ป่าขนาดใหญ่ เช่น กวางป่า เสือ ช้างป่า หมีควาย ถูกล่าหมดไปแล้ว สัตว์ป่าที่เหลือก็อยู่ในสถานภาพถูกคุกคาม เนื่องจากราษฎรรอบพื้นที่ยังมีการล่าสัตว์อยู่เป็นประจำ

แหล่งท่องเที่ยว
น้ำตกยูงทอง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 500 เมตร มีความสวยงามมากในช่วงน้ำหลากในฤดูฝน ลักษณะเป็นน้ำตกที่ไหลลงมาจาหน้าผาชันสูงราว 25 เมตร มีแอ่งน้ำกว้างลงเล่นน้ำได้ ในอดีตเป็นแหล่งอาศัยและหากินของนกยูง จนเป็นที่มาของชื่อ ยูงทอง
จุดชมทิวทัศน์ผาแดง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 1,500 เมตร ตามเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกยูงทอง เป็นหน้าผาหินทรายที่สูงชัน มองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามเบื้องล่างได้กว้างไกล ใกล้กับผาแดงมีหลืบถ้ำเล็กๆ ที่เคยเป็นที่วิปัสสนากรรมฐานของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกยูงทอง เป็นทางเดินเท้าเพื่อศึกษาธรรมชาติที่อุทยานแห่งชาติจัดทำขึ้นเพื่อสื่อความหมายธรรมชาติแก่ผู้มาเยือน โดยได้จัดทำสื่อบรรยายลักษณะทางธรรมชาติตามเส้นทางเป็นระยะ ผ่านน้ำตกยูงทอง น้ำตกตาดน้อย จุดชมทิวทัศน์ผาแดง สภาพป่าเต็งรังที่สวยงาม และกลับถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทาง 2,000 เมตร
น้ำตกธารทิพย์ หรือ น้ำตกตาดหมอก เป็นน้ำตกที่อยู่ในเขตจังหวัดหนองคาย อยู่ติดกับแม่น้ำโขง

บ้านพักและสิ่งอำนวยความสะดวก
อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม ไม่มีบ้านพักให้บริการ หากมีความประสงค์จะไปพักแรมเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ หรือศึกษาหาความรู้ทางธรรมชาติ โปรดนำเต็นท์ไปกางเอง สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

การเดินทาง
รถยนต์ จากจังหวัดอุดรธานีไปตามทางหลวงสายอุดรธานี-หนองคาย 15 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายผ่านอำเภอบ้านผือ ไปทางอำเภอน้ำโสม ก่อนถึงอำเภอน้ำโสม 12 กิโลเมตร เลี้ยวขวาที่บ้านสามเหลี่ยมไปทางอำเภอนายูง ประมาณ 15 กิโลเมตร ถึงบ้านสว่างเลี้ยวขวาตรงป้ายอุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม 2 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทางจากอุดรธานี 110 กิโลเมตร

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม หมู่ 2 บ้านสว่าง ตำบลนายูง อ.นายูง จ.อุดรธานี 41380 อีเมล : nayung_np@dnp.go.th

วนอุทยานน้ำตกธารงาม จังหวัดอุดรธานี

วนอุทยานน้ำตกธารงาม อยู่ในเขตป่าขุนห้วยสามพาด-ขุนห้วยกองสี อยู่ในท้องที่ตำบลหนองแสง กิ่งอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี มีเนื้อที่ประมาณ 78,125 ไร่ โดยกรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2527

ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นภูเขาสูงชันและเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน โดยแยกตัวเป็นพืดยาวติดต่อกันออกไปทางทิศเหนือ พื้นที่มีความลาดชันสูงและค่อนข้างราบบนสันเขา มีลำธารหลายสายไหลลงสู่ห้วยสามพาด ห้วยน้ำฆ้องและห้วยกองสี เฉพาะที่ห้วยวังกุ่มเป็นป่าทึบและรกชัฏ ทิศใต้ของพื้นที่เป็นพะลานหินชื่อ “แหลสะอาด”

ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของวนอุทยานน้ำตกธารงามแบ่งได้ 3 ฤดู คือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
เป็นป่าดงดิบและป่าเต็ง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ประดู่ นนทรี มะค่าโมง มะค่าแต้ เต็งดง ยาง เต็ง รัง เป็นต้น และไม้พื้นล่างได้แก่ไผ่ต่างๆ หวาย กล้วยไม้เกาะหิน เฟิร์น และต้นข้าวสาร
สัตว์ป่าที่พบได้แก่ หมูป่า เก้ง กระจง ลิง ชะนี ค่าง บ่าง อีเห็น และนกชนิดต่างๆ

บ้านพักและสิ่งอำนวยความสะดวก
วนอุทยานน้ำตกธารงาม ไม่มีบ้านพักไว้บริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะเดินทางไปพักแรม โปรดนำเต็นท์ไปกางเอง แล้วไปติดต่อขออนุญาตกับหัวหน้าวนอุทยานน้ำตกธารงามโดยตรง หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายจัดการวนอุทยาน สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ 10900

แหล่งท่องเที่ยว
ห้วยวังกุ่ม ที่ห้วยวังกุ่มซึ่งไหลลงห้วยน้ำฆ้องจะมีน้ำตกธารงามมีน้ำไหลเกือบตลอดปี เหนือน้ำตกธารงามตามลำห้วยขึ้นไปจนถึงขุนจะเป็นโขดหิน หน้าผาและถ้ำที่สวยงามและแปลกตา ด้านทิศใต้ของพื้นที่เป็นพะลานหินชาวบ้านเรียกแหลชื่อ”แหลสะอาด” ซึ่งเป็นแหลขนาดใหญ่ ณ จุดนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์เบื้องล่างได้สวยงามและกว้างไกล

การเดินทาง
รถยนต์ การเดินทางไปวนอุทยานน้ำตกธารงาม อยู่ห่างจากตัวกิ่งอำเภอเพียง 6 กิโลเมตรเศษ เท่านั้นและมีถนนไปถึงวนอุทยานน้ำตกธารงาม 3 เส้นทางดังนี้
เส้นทางอุดร-บ้านเหล่า-โคกลาด-กิ่งอำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร
เส้นทางอุดร-คำกลิ้ง-บ้านตาด-กิ่งอำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร
เส้นทางอุดร-ห้วยเกิ้ง-กิ่งอำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร

สถานที่ติดต่อ
วนอุทยานน้ำตกธารงาม สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 (อุดรธานี) อ.หนองแสง จ.อุดรธานี

วนอุทยานนายูง-น้ำโสม จังหวัดอุดรธานี

วนอุทยานนายูง-น้ำโสม อยู่ในเขตป่าโครงการไม้กระยาเลยกลางใหญ่ ตอนที่ 7 และตอนที่ 8 เขตอำเภอผือ จังหวัดอุดรธานี และป่าโครงการไม้กระยาเลยนายูง ตอนที่ 10 ตำบลนายูง อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาตินายูง-น้ำโสม มีเนื้อที่ประมาณ 13,112 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2518
ลักษณะภูมิประเทศ
บริเวณป่านายูง-น้ำโสมตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน ทางตอนเหนือเป็นหน้าผาสูงชัน มีโขดหินสลับซับซ้อนห่างจากหน้าผาเข้าไปประมาณ 700 เมตร มีน้ำตกยูงทองตั้งอยู่ ทางตอนกลางของพื้นที่ เป็นยอดเขาสูงชัน มีน้ำซับไหลตลอดปี สามารถมองเห็นทิวทัศน์เบื้องล่างได้สวยงาม

ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม ฤดูร้อนอากาศร้อนมาก อุณหภูมิประมาณ 40 องศา-เซลเซียส เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงตุลาคม และฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ อากาศหนาวเย็น อุณหภูมิประมาณ 10-20 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนตลอดปีประมาณ 1,000-1,500 เมตร

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
สภาพป่าโดยทั่วไป เป็นป่าเต็งรังกระจายตามเชิงเขาและสันเขา พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง มีไม้พื้นล่างได้แก่ หญ้าเพ็ก กระเจียว ตามหุบเขาเป็นป่าเบญจพรรณ พันธ์ไม้ที่พบได้แก่ ชิงชัน ประดู่ แดง มะค่าแต้ และไผ่ชนิดต่างๆ
สัตว์ป่าที่พบได้แก่ เลียงผา เก้ง อีเห็น ชะมด ชะนี ลิง ค่าง หมูป่า กระจง กระรอก ตะกวด งู และนกชนิดต่างๆ ส่วนสัตว์ป่าขนาดใหญ่ เช่น กวาง เสือ ช้าง หมีควาย ถูกล่าหมดไปแล้ว

บ้านพักและสิ่งอำนวยความสะดวก
วนอุทยานนายูง-น้ำโสม ไม่มีบ้านพักบริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะไปพักแรม โปรดนำเต็นท์ไปกางเอง แล้วไปติดต่อขออนุญาตใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่วนอุทยานนายูง-น้ำโสมโดยตรง หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายจัดการวนอุทยาน สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ 10900

แหล่งท่องเที่ยว
จุดชมวิวผาแดง อยู่ห่างจากที่ทำการวนอุทยานนายูง-น้ำโสม ประมาณ 1,500 เมตร ตามเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกยูงทอง เป็นหน้าผาหินทรายที่สูงชัน มองเห็น ทิวทัศน์ที่สวยงามเบื้องล่างได้กว้างไกล ใกล้กับผาแดงมีหลืบถ้ำเล็กๆที่เคยเป็นที่ วิปัสสนากรรมฐานของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกยูงทอง เป็นเส้นทางเดินเพื่อศึกษาธรรมชาติที่วนอุทยานนายูง-น้ำโสม จัดทำขึ้นเพื่อสื่อความหมายธรรมชาติแก่นักท่องเที่ยวตามเส้นทางเป็นระยะผ่าน น้ำตกยูงทอง น้ำตกตาดน้อย จุดชมวิวผาแดงและกลับถึงที่ทำการรวมระยะทาง 2 กิโลเมตร
น้ำตกยูงทอง อยู่ห่างจากที่ทำการวนอุทยานนายูง-น้ำโสม 500 เมตร มีความสวยงามมากในช่วงน้ำหลากในฤดูฝน มีแอ่งน้ำกว้างลงเล่นน้ำได้ ในอดีตเป็นแหล่งอาศัยและหากินของนกยูงจนเป็นที่มาของชื่อยูงทอง

การเดินทาง
รถยนต์ จากจังหวัดอุดรธานีไปตามทางหลวงสายอุดรธานี-หนองคาย 15 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายผ่านอำเภอบ้านผือไปทางอำเภอน้ำโสม ก่อนถึงอำเภอน้ำโสม 12 กิโลเมตร เลี้ยวขวาที่บ้านสามเหลี่ยมไปทางอำเภอนายูง 15 กิโลเมตร ถึงบ้านสว่างแล้วเลี้ยวขวาตรงป้ายวนอุทยานนายูง-น้ำโสม 2 กิโลเมตร ก็จะถึงวนอุทยานนายูง-น้ำโสม

สถานที่ติดต่อ
วนอุทยานนายูง-น้ำโสม สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 (อุดรธานี) ต.นายูง อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี 41000

วนอุทยานภูพระบาทบัวบก จังหวัดอุดรธานี

วนอุทยานภูพระบาทบัวบก อยู่ในท้องที่ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขือน้ำ มีเนื้อที่ประมาณ 8,125 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2539

ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นเทือกเขาขนาดเล็กขนานกับเทือกเขาภูพาน ด้านทิศตะวันตกเป็นหน้าผาสูงชัน มองเห็นทิวทัศน์ได้สวยงาม บางส่วนเป็นลานหินและโขดหินน้อยใหญ่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300 - 400 เมตร

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
พบป่า 3 ชนิด คือ ป่าเต็งรัง พบบริเวณเชิงเขา แต่ค่อนข้างสมบูรณ์ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง มะขามป้อม
ป่าเบญจพรรณ ปกคลุมพื้นที่บริเวณส่วนใหญ่ที่เป็นที่ราบ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ประดู่ แดง เหียง เต็ง รัง ตะแบก ส้าน ซ้อ มะม่วงป่า กะบาก ยอป่า
ป่าดิบแล้ง อยู่ในบริเวณรอยต่อตามร่องเขาและรอยต่อพื้นที่กับเทือกเขาภูพาน พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ มะค่าโมง ประดู่ ตะเคียนหิน ไทร เป็นต้น
สัตว์ป่าที่พบได้แก่ ลิง บ่าง นางอาย ไก่ป่า ตุ่น ตะกวด กระรอก และชาวบ้านเคยพบหมูป่าในบริเวณที่มีป่าหนาทึบ และนกชนิดต่าง ๆ ที่พอพบเห็นได้ในปัจจุบัน

บ้านพักและสิ่งอำนวยความสะดวก
วนอุทยานภูพระบาทบัวบกไม่มีบ้านพักบริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะเดินทางไปพักแรม โปรดนำเต็นท์ไปกางเองทางวนอุทยานได้จัดสถานที่ไว้ให้พร้อมกับห้องสุขา โปรดเตรียมอาหารไปเองแล้วไปติดต่อขออนุญาตกับเจ้าหน้าที่วนอุทยานภูพระบาทบัวบกโดยตรง หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 5614292 ต่อ 719 ฝ่ายจัดการวนอุทยาน สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช จตุจักร กรุงเทพ ฯ 10900 หรือสำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 จังหวัดอุดรธานี โทร. (042)- 221725 ในวันและเวลาราชการ

แหล่งท่องเที่ยว
โบราณสถานประกอบไปด้วยเจดีย์ ถ้ำฝ่ามือแดง เนินหินหีบศพ ซึ่งบริเวณโบราณสถานแห่งนี้ กรมศิลปากรได้ขอใช้พื้นที่เพื่อควบคุมดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขือน้ำ เป็นเนื้อที่ประมาณ 3,430 ไร่ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 ตอนที่ 63 วันที่ 28 เมษายน 2524

การเดินทาง
รถยนต์ เดินทางจากจังหวัดอุดรธานีถึงอำเภอบ้านผือประมาณ 42 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางและแยกไปภูพระบาทบัวบกอีก 11 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางเช่นเดียวกัน

สถานที่ติดต่อ
วนอุทยานภูพระบาทบัวบก สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 (อุดรธานี) อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

วนอุทยานวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี

วนอุทยานวังสามหมอ อยู่ในท้องที่ตำบลหนองกุงทับม้า อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่ามะยาว-ป่าหัวนาคำ-ป่าหนองกุงทับม้า-ป่านายูงและ ป่าหนองหญ้าไซ มีเนื้อที่ประมาณ 18,750 ไร่ โดยกรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2527

ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบ มีห้วยลำพันชาติซึ่งเป็นลำห้วยขนาดใหญ่มีน้ำไหลตลอดปี มีเกาะแก่งและโขดหิน วังน้ำหลายแห่งเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ด้วยปลานานาชนิด บางตอนเป็นหน้าผาสูงเลียบขนานกับห้วยลำพันชาติ

ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพอากาศของวนอุทยานวังสามหมอแบ่งได้ 3 ฤดู คือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
พบป่าเต็งรังเป็นส่วนใหญ่ มีป่าเบญจพรรณขึ้นปะปนบ้าง มีพันธุ์ไม้ขึ้นพอสมควร เป็นต้นไม้ขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง แดง ประดู่ มะค่าโมง ชิงชัน ตีนนก ส้าน รกฟ้า ตะแบก ยอป่า กะบาก ยาง ตะเคียนหิน ตะเคียนทอง ไม้พื้นล่าง ได้แก่ หวาย ข่าป่า ปรง สาบเสือ หญ้าเพ็ก ไผ่โจด ไผ่ไร่ ดอกไม้ป่า เป็นต้น
สัตว์ป่า ปัจจุบันเหลือแต่สัตว์ขนาดเล็ก ได้แก่ ชะมด อีเห็น กระรอก กระแต บ่าง หมูป่า ตะกวด นกชนิดต่างๆ

บ้านพักและสิ่งอำนวยความสะดวก
วนอุทยานวังสามหมอ ไม่มีบ้านพักบริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะเดินทางไปพักแรม โปรดนำเต็นท์ไปกางเอง แล้วไปติดต่อขออนุญาตกับหัวหน้าวนอุทยานวังสามหมอโดยตรงหรือติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายจัดการวนอุทยาน สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ 10900

แหล่งท่องเที่ยว
วังใหญ่
เป็นวังน้ำขนาดใหญ่ มีห้วยลำพันชาติไหลผ่าน กว้างประมาณ 40 เมตร ยาวประมาณ 300 เมตร มีโขดหิน แก่งหิน ร่มรื่น มีทิวทัศน์สวยงาม
แก่งมนน้อย อยู่ห่างจากวังใหญ่ประมาณ 800 เมตร จะพบเกาะแก่งโขดหินซึ่งเกิดจากการกัดเซาะของน้ำกลายเป็นแก่ง
แก่งหินฮอม จากแก่งมนน้อยไปอีกประมาณ 100 เมตร จะเป็นแก่งหินขนาดใหญ่ต่างระดับเป็นวงล้อม ทำให้เกิดเป็นตาดน้ำตกขึ้น ช่วงฤดูฝนถ้ามีน้ำไหลหลากมากจะเกิดเสียงดังก้องไปไกล

การเดินทาง
รถยนต์ การเดินทางไปวนอุทยานวังสามหมอ มีทางดินลูกรังแยกจากถนนลาดยาง สายอำเภอกุมภวาปี-อำเภอศรีธาตุ อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ระหว่างอำเภอวังสามหมอไปอำเภอนิคมน้ำอูน-อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ระหว่างตำบลหนองกุงทับม้าจะมีทางแยกขวามือไปวนอุทยานวังสามหมอ 9 กิโลเมตร

วนอุทยานวังสามหมอ
สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 (อุดรธานี) อ.วังสามหมอ จ.อุดรธานี

ข้อมูลงานประเพณี : ของฝาก ของที่ระลึก จังหวัดอุดรธานี

งานนมัสการพระพุทธบาทบัวบก จัดในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ภายในงานจะมีการออกร้านจำหน่ายสินค้า และผลิตภัณฑ์พื้นเมือง ประชาชนจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดใกล้เคียงต่างมาร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก
งานทุ่งศรีเมืองอุดรธานี ประมาณเดือนธันวาคมของทุกปี ภายในงานจะมีการออกร้านจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์พื้นเมือง เช่น ผ้าไหม ผ้าทอลายขิด ผ้าทอมือ ผ้าหมี่ขิด และยังมีการแสดงโชว์มังกรทองจากศาลาเจ้าปู่-ย่าด้วย
ของฝากเมืองอุดร ผ้าพื้นเมืองลายขิด ผ้าไหม เครื่องปั้นดินเผา กุนเชียง หมูหยอง หมูยอ แหนม และมะพร้าวแก้ว

ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก (รหัสทางไกล 042)
บุญมาไหมไทย 89 สี่แยกบิ๊กซี โทร.342221
ใบหม่อน 146 ซ.มหามิตร ถ.ทหาร โทร. 244011
พระธรรมขันต์ 183 ถ.หมากแข้ง โทร.221154
มะพร้าวแก้วจันทร์เพ็ญ ถ.ประจักษ์ โทร.246516
มะพร้าวแก้วเรวดี 123/1 ถ.ประจักษ์ โทร.242498
เลดี้อาเขต 201 ถ.โพศรี โทร.222839
หมูยอนายเติม 324/5-6 ถ.โพศรี โทร.223835
หมูยอพรทิพย์ 331 ถ.หมากแข้ง โทร.223407
หมูยอแม่อ้วน 11/12 ถ.สร้างหลวง โทร.246305
แหนมปริญญา 287/2 ถ.โพศรี โทร. 221262
ไหมไทย ถ.ศรีสุข โทร.245700

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 0 4222 2845
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 4222 3708
โรงพยาบาลจังหวัด โทร. 0 4224 4252–3
โรงพยาบาลปัญญาเวช โทร. 0 4234 3111
โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ โทร. 0 4234 1710
โรงพยาบาลเอกอุดร โทร. 0 4234 2555
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองอุดรธานี โทร. 0 4222 2285
สถานีรถไฟอุดรธานี โทร. 0 4222 2061
สถานีขนส่ง โทร. 0 4222 1489
สำนักงานจังหวัดอุดรธานี โทร. 0 4222 3304

00:30

จังหวัดอุบลราชธานี

" เมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน
ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์ "
http://iguidebangkok.com/db/news/000589_6.jpg

ข้อมูลทั่วไป :

อุบลราชธานี เป็นจังหวัดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ เป็นระยะทาง 629 กิโลเมตร สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำมูลไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่ ด้านทิศตะวันออกเป็นที่ราบสูงและภูเขา มีหน้าผาหินทรายบริเวณชายฝั่งแม่น้ำโขงอันเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างประเทศ ไทยและลาว

ประวัติเมืองอุบลราชธานี :

อุบลราชธานี เป็นเมืองใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำมูล ที่มีประวัติความเป็นมากว่า 200 ปี เล่ากันว่า ท้าวคำผง ท้าวทิศพรหม และท้าวคำบุตร พระวอ พระตา หนีภัยสงครามจากพระเจ้าสิริบุญสาร เจ้าแห่งนคร เวียงจันทน์เจ้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระเจ้าตากสินมหาราชและต่อมาได้ สร้างเมืองขึ้นที่บริเวณดงอู่ผึ้ง ใกล้กับแม่น้ำมูล ครั้นพ.ศ. 2323 พระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาราชสุภาวดี เชิญตราพระราชสีห์มาพระราชทานนามเมืองว่า “อุบลราชธานี” ทรงให้ท้าวคำผงเป็นเจ้าเมืองคนแรกซึ่งต่อมาได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระปทุมวงศา” เมืองอุบลราชธานีมีเจ้าเมืองสืบกันมาถึง 4 คน ตราบจนถึงปีพ.ศ. 2425 จึงได้มีการแต่งตั้งข้าหลวงและผู้ว่าราชการจังหวัดมาปกครองดูแลจนถึงทุก วันนี้

ดินแดนแถบนี้ มีชนชาติ ข่า ส่วย อพยพมาจากกรุงศรีสัตนาคนหุตเข้ามาอาศัยอยู่ ตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ทรงคิดจะรวบรวมผู้คนที่แตกกระจัดกระจายจากภัยสงครามให้มาอยู่เป็น กลุ่มก้อน ดังนั้นถ้าใครสามารถรวบรวมผู้คนได้มากและอยู่กันอย่างมั่นคงก็จะได้รับแต่ง ตั้งเป็นเจ้าเมือง ด้วยเหตุนี้ในปี พ.ศ. 2329 ท้าวคำผง ซึ่งได้รวบรวมผู้คนอพยพมาตั้งหลักแหล่งทำกินอยู่ ณ บริเวณห้วยแจระแม อันเป็นที่ราบริมแม่น้ำมูล และต่อมาภายหลังมีความชอบจากการนำกำลังเข้าช่วยกองทัพไทยตีเมืองนครจำปา ศักดิ์ จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านแจระแมเป็นเมืองอุบลราชธานี และแต่งตั้งให้ท้าวคำผงเป็นพระปทุมวรราชสุริยวงศ์เจ้าเมือง ภายหลังได้ย้ายเมืองมาตั้งใหม่ที่ "ดงอู่ผึ้ง" อันเป็นที่ตั้งจังหวัดในปัจจุบัน โดยมีเมืองเทียบเท่าชั้นจัตวาขึ้นอยู่รวม 7 เมือง

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนจัดการปกครองแบบเทศาภิบาล เมืองอุบลราชธานีถูกรวมอยู่ในบริเวณหัวเมืองลาวกาว ต่อมาในปี พ.ศ. 2442 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีเมืองอุบลราชธานีเป็นที่ตั้งมณฑล และเปลี่ยนชื่อใหม่อีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2443 เป็นมณฑลอีสาน

ในปี พ.ศ. 2468 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ จึงลดฐานะมณฑลอุบลราชธานีลงเป็นเพียงจังหวัดหนึ่งของมณฑลนครราชสีมา จนกระทั่งยุบเลิกมณฑลในปี พ.ศ. 2476 จึงกลายเป็นจังหวัดอุบลราชธานีตั้งแต่นั้นมา

การเดินทาง :

ทางรถยนต์
ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ไปสระบุรี เลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 24 (สายโชคชัย-เดชอุดม) ไปจนถึงอุบลราชธานี หรือใช้เส้น ทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา แล้วต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 226 ผ่านบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ถึงอุบลราชธานี

ทางรถโดยสารประจำทาง
มีทั้งรถ ธรรมดาและรถปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ ทุกวันสอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. 0 2936 2852-66 ที่อุบลราชธานี โทร. 0 4524 1831 www.transport.co.th นอกจากนี้ยังมีบริษัทเอกชนที่เปิดบริการเดินรถได้แก่ เชิดชัยทัวร์ โทร. 0 2936 0611 มงคลทัวร์ โทร.0 2936 3638-9 นครชัยแอร์ โทร. 0 2936 3900 และศิริรัตนพล โทร. 0 2936 0278นอกจากนี้ บริษัทขนส่งยังมีบริการรถโดยสารระหว่างอุบลราชธานีและเมืองปากเซ สปป.ลาวทุกวัน

นอกจากนี้มีรถปรับอากาศ และรถธรรมดาจากกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี และจากอุบลราชธานีไปยังจังหวัดอื่นๆ ได้แก่

นครชัยแอร์
กรุงเทพฯ โทร. 272-5271 ที่อุบลราชธานี โทร. (045) 269385-6
มงคลทัวร์
กรุงเทพฯ โทร. 2725239 ที่อุบลราชธานี โทร. (045) 255116
เชิดชัยทัวร์
กรุงเทพฯ โทร. 272-5264 ที่อุบลราชธานี โทร. (045) 254885, 255907
ทัวร์สหมิตร
กรุงเทพฯ โทร. 272-5252 ที่อุบลราชธานี โทร. (045) 255043
สายัณห์ทัวร์
อุบลราชธานี โทร. (045) 254885 (ปรับอากาศ) และ โทร. 242163 (ธรรมดา)
บริษัทศิริรัตนพล จำกัด
อุบลราชธานี โทร. (045) 245847, 441848

ทางรถไฟ
จากสถานีกรุงเทพ(หัวลำโพง) และสถานีบางซื่อ มีรถด่วน และรถเร็ว สายกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี ทุกวัน และยังมีรถธรรมดาจากนครราชสีมา-อุบลราชธานี และสุรินทร์-อุบลราชธานี อีกด้วย รายละเอียดสอบถามได้ที่หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 www.railway.co.th

ทางเครื่องบิน
บมจ.การบินไทย มีเครื่องบินรับส่งผู้โดยสารระหว่างกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.1566, 0 2628 2000 หรือที่ท่าอากาศยานอุบลราชธานี โทร. 0 4531 3340-3 www.thaiairways.com และสายการบินแอร์ เอเชีย โทร. 0 2515 9999 www.airasia.com

การเดินทางระหว่างอำเภอ
มีรถโดยสารวิ่งระหว่างอำเภอเมืองไปยังอำเภอ และกิ่งอำเภอต่างๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี ระยะทางเป็นดังนี้
อำเภอเมือง - กิโลเมตร
อำเภอวารินชำราบ 2 กิโลเมตร
อำเภอสว่างวีระวงศ์ 23 กิโลเมตร
อำเภอเหล่าเสือโก๊ก 27 กิโลเมตร
อำเภอสำโรง 28 กิโลเมตร
อำเภอตาลสุม 32 กิโลเมตร
อำเภอม่วงสามสิบ 34 กิโลเมตร
อำเภอดอนมดแดง 35 กิโลเมตร
อำเภอนาเยีย 35 กิโลเมตร
อำเภอเขื่องใน 38 กิโลเมตร
อำเภอเดชอุดม 45 กิโลเมตร
อำเภอพิบูลมังสาหาร 45 กิโลเมตร
อำเภอตระการพืชผล 50 กิโลเมตร
อำเภอทุ่งศรีอุดม 74 กิโลเมตร
อำเภอกุดข้าวปุ้น 76 กิโลเมตร
อำเภอสิรินธร 80 กิโลเมตร
อำเภอศรีเมืองใหม่ 83 กิโลเมตร
อำเภอบุณฑริก 87 กิโลเมตร
อำเภอนาตาล 93 กิโลเมตร
อำเภอน้ำขุ่น 97 กิโลเมตร
อำเภอโพธิ์ไทร 99 กิโลเมตร
อำเภอนาจะหลวย 100 กิโลเมตร
อำเภอเขมราฐ 108 กิโลเมตร
อำเภอโขงเจียม 110 กิโลเมตร
อำเภอน้ำยืน 110 กิโลเมตร

อาณาเขตและการปกครอง :

จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่ประมาณ 15,744 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ เดชอุดม บุณฑริก นาจะหลวย น้ำยืน พิบูลมังสาหาร โขงเจียม ศรีเมืองใหม่ ตระการพืชผล เขมราฐ ม่วงสามสิบ เขื่องใน กุดข้าวปุ้น ตาลสุม โพธิ์ไทร สำโรง สิรินธร ดอนมดแดง ทุ่งศรีอุดม อำเภอนาเยีย อำเภอนาตาล อำเภอเหล่าเสือโก้ก อำเภอสว่างวีระวงศ์และอำเภอน้ำขุ่น

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดอำนาจเจริญ
ทิศใต้ ติดต่อกับประเทศกัมพูชา ตามแนวเทือกเขาบรรทัด
ทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศลาว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดยโสธรและศรีสะเกษ

แผนที่จังหวัดอุบลราชธานี


แผนที่ตัวเมืองอุบลราชธานี


ที่เที่ยว
อ.เมือง

ทุ่งศรีเมือง
เป็นทุ่งกว้างกลางเมือง คล้ายสนามหลวงของกรุงเทพฯ เดิมเป็นที่ทำนาของเจ้าเมือง ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้งดการทำนาที่ทุ่งศรีเมือง เพื่อรักษาไว้ให้เป็นที่พักผ่อนของชาวเมือง และเป็นที่จัดเทศกาลงานบุญต่างๆ ทางทิศใต้ของทุ่งศรีเมืองเป็นที่ประดิษฐานของศาลหลักเมือง

วัดป่าใหญ่ พระเจ้าใหญ่อินแปลง วัดมหาวนาราม อุบลราชธานี วัดพระเจ้าใหญ่อินแปลง


วัดป่าใหญ่ พระเจ้าใหญอินแปลง หรือชื่อเป็นทางการ ว่า วัดมหาวนาราม หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกอย่างคุ้นเคยว่า " วัดป่าใหญ่ "
ตั้งอยู่บนถนนสรรพสิทธิ์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี เป็น วัดเก่าแก่ คู่บ้าน คู่เมือง มากับการก่อตั้ง จังหวัดอุบลราชธานี
ภาย ในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปองค์ประธานชื่อ "พระเจ้าใหญ่อินแปลง" เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ก่ออิฐถือปูน พร้อมกับลงรักปิดทองลักษณะองค์พระเป็นพระพุทธรูปศิลปะแบบลาว หน้าตักกว้างประมาณ 3 เมตร สูงจากเรือนแท่นถึงเปลวพระโมลี 5 เมตร .

วัดทุ่งศรีเมือง

http://www.pathumrathotel.com/images/wat_thungsrimuang.jpg
ตั้งอยู่ที่ถนนหลวงในเขตเทศบาลเมือง มีพระอุโบสถสวยงาม เป็นสถาปัตยกรรมอีสานที่ได้รับอิทธิพลจากกรุงเทพฯ สร้างประมาณต้นสมัยรัชกาลที่ 3 ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังที่บ่งบอกถึงอารยธรรมและวัฒนธรรมของคนอุบลในสมัยโบราณ เมื่อ 200 กว่าปีมาแล้วนอกจากนี้ยังมีหอไตรกลางน้ำ สร้างด้วยไม้ มีลักษณะผสมระหว่างไทย พม่า และลาว ลักษณะอาคารเป็นแบบไทย เป็นเรือนฝาปะกน ขนาด 4 ห้อง เก็บตู้พระธรรมลงรักปิดทอง หลังคามีลักษณะเป็นศิลปะไทยผสมพม่า มีช่อฟ้าใบระกา แต่หลังคาซ้อนกันหลายชั้น ส่วนลวดลายแกะสลักบนหน้าบันทั้งสองด้าน เป็นลักษณะศิลปะแบบลาว เป็นสถาปัตยกรรมของอีสานที่สวยงามและสมบูรณ์ที่สุด

วัดศรีอุบลรัตนาราม (วัดศรีทอง)

http://www.thai-tour.com/thai-tour/Northeast/ubon/images/wat-sriubonratanaram/large-pic/temple.jpg
เป็นอารามหลวงตั้งอยู่บนถนนอุปราชข้างศาลากลางจังหวัดในตัวเมืองอุบลราชธานี พระอุโบสถสร้างตามแบบวัดเบญจมบพิตร เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วบุษราคัม พระคู่บ้านคู่เมือง ซึ่งอัญเชิญมาจากกรุงศรีสัตนาคนหุต ประเทศลาว ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปีจะมีการอัญเชิญพระแก้วบุษราคัมเข้าขบวนแห่ไป รอบเมืองอุบลราชธานี เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้นมัสการและสรงน้ำ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี
ตั้งอยู่ที่ถนนเขื่อนธานีตัดกับถนนอุปราช เป็นอาคารปั้นหยาชั้นเดียว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2461 เดิมใช้เป็นศาลากลางจังหวัด ต่อมาทางจังหวัดได้มอบอาคารหลังนี้ให้กรมศิลปากร เพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี ภายในมีการจัดแสดงเรื่องราวท้องถิ่น ได้แก่ สภาพภูมิศาสตร์ ประวัติการตั้งเมือง โบราณวัตถุซึ่งเป็นหลักฐานทางด้านศิลปโบราณคดี หัตถกรรมพื้นบ้าน การละเล่นพื้นเมือง และเครื่องใช้ของเจ้าเมืองอุบล เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00-16.00 น. ราคาค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 10 บาท เด็ก 5 บาท

วัดแจ้ง



ตั้งอยู่ที่ถนนสรรพสิทธิ์ เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง เดิมชื่อวัดหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์ แล้วเปลี่ยนเป็นวัดป่าใหญ่และเป็นวัดมหาวนารามในปัจุบัน วัดนี้มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพสักการะบูชาของประชาชนในจังหวัด อุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียง คือ "พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง" เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีแผ่นศิลาจารึกฝังอยู่เบื้องหลังแท่นขององค์พระ ระบุปีที่สร้างวัดนี้ตรงกับ พ.ศ. 2350 ในวันเพ็ญเดือน 5 (ประมาณเดือนเมษายน) จะมีการทำบุญตักบาตร เทศก์มหาชาติชาดก และสรงน้ำปิดทองพระเจ้าอินแปลงเป็นประจำทุกปี

วัดบูรพาราม


อยู่ในตัวเมืองอุบลราชธานี เป็นวัดที่เคยเป็นที่จำพรรษาของอาจารย์ชื่อดังทางวิปัสนากรรมฐาน ได้แก่ อาจารย์สีทาชยเสโน อาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ อาจารย์ลี ธัมมธโร อาจารย์เสาว์กันตสีโล และอาจารย์สิงห์ ขันตยคโม ปัจจุบันคงมีแต่รูปเหมือนทำจากหินบริสุทธิ์จากลำน้ำต่างๆเป็นที่เคารพ สักการะของชาวเมือง

วัดสุปัฏนารามวรวิหาร


ตั้งอยู่ที่ถนนสมเด็จ เป็นพระอารามหลวงในจังหวัดอุบลราชธานี และเป็นวัดธรรมยุติกนิกายวัดแรกของอีสาน สร้างใน พ.ศ. 2396 โดยพระพรหมราชวงศา (พระอุปราชกุทอง) เป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานี (สมัยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี) ตัววัดตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูล เป็นพระอารามหลวงที่อยู่ในภูมิทัศน์ที่ร่มรื่นสวยงาม พระอุโบสถเป็นศิลปะไทย-จีน-ยุโรป หน้าโบสถ์มีรูปสิงโตคล้ายของจริงสองตัว ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระสัพพัญญูเจ้า เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดเงาไม่ปิดทองที่สง่างามมาก มีหอศิลปวัฒนธรรม เก็บรักษาโบราณวัตถุ เช่น เสมาหิน ศิลาจารึก และทับหลัง

หาดวัดใต้


เป็นเกาะหาดทรายอยู่กลางลำน้ำมูลช่วงท้ายเมืองใกล้ ที่ตั้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดอุบลราชธานี ในฤดูแล้งมีบริเวณกว้างขวาง มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมเขียวชอุ่มให้ความร่มรื่นอยู่ตลอดเวลา เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมือง โดยเฉพาะในตอนเย็นๆ จะมีคนนำอาหารไปรับประทานร่วมกันแล้วลงเล่นน้ำเป็นที่สนุกสนาน และยังมีร้านอาหารเรือนแพบริการขายอาหารด้วย

วัดบ้านนาเมือง


ตั้งอยู่ที่บ้านนาเมือง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร ด้านทิศเหนือของสนามบิน เป็นวัดที่มีพระอุโบสถแปลกตา สร้างเป็นรูปเรือสุพรรณหงส์ซึ่งทำด้วยเซรามิค โดยมีอาจารย์บุญมีเป็นเจ้าอาวาส เป็นที่เคารพนับถือของชาวอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง

วัดหนองบัว


อยู่ชานเมืองอุบลราชธานี บนทางหลวงหมายเลข 212 สายอุบล-อำนาจเจริญ ประมาณ 3 กิโลเมตร จะมีทางแยกจากถนนใหญ่เข้าไปประมาณ 800 เมตร ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ คือ พระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ครบรอบ 25 ศตวรรษ ของพุทธศาสนาในปี พ.ศ. 2500 และได้จำลองแบบมาจากเจดีย์ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย นับเป็นวัดเดียวในภาคอีสานที่มีเจดีย์แบบนี้ สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปเป็นป่าโปร่ง ร่มรื่น

วัดหลวง พระเจ้าใหญ่องค์หลวง พระแก้วไพฑูรย์ วัด ใน อุบลราชธานี แหล่งท่องเที่ยว


วัด หลวง ตั้งอยู่ถนนพรหมเทพ ริมแม่น้ำมูล เมื่อสร้างเมืองอุบลฯ เสร็จแล้ว พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) ก็ได้สร้าง วัดหลวง เป็นวัดแรก ซึ่งอยู่ใกล้คุ้มหรือ "โฮงหลวง" จึงเป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง เมื่อสร้างวัดหลวงเสร็จ ก็ได้นำชาวบ้านชาวเมือง สร้างพระพุทธรูปพระประธานในวิหาร ได้ชื่อว่า "พระเจ้าใหญ่องค์หลวง" ตามนามของท่านผู้นำสร้างพระองค์นี้ ที่ชาวบ้านเรียกท่านว่า "ญาหลวง" "พระเจ้าใหญ่องค์หลวง" เป็นพระพุทธรูปที่สง่างาม ต้องด้วยพุทธลักษณะเป็น "เบ็ญจลักษณะ" ห้าคืบพระสุคตทุกประการ

พิพิธภัณฑ์เปิดบ้านก้านเหลือง
ตั้งอยู่ในบริเวณวัดบ้านก้านเหลืองจากตัวเมืองไปตามทางหลวง 212 ประมาณ 3 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าทางหลวง 2050 ไปอีก 2 กิโลเมตร กรมศิลปากรได้ทำการขุดค้นเมื่อปี 2535 พบโบราณวัตถุต่างๆ มากมาย เช่น ลูกปัด เครื่องปั้นดินเผา กระพรวนสำริด ขวานเหล็ก และแกลบข้าวจำนวนมาก แต่ไม่พบโครงกระดูกมนุษย์ สันนิษฐานว่าชุมชนโบราณแห่งนี้เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยกสิกรรมยุคหลัง หรืออยู่ในช่วงยุคโลหะตอนปลาย มีอายุไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี

วัดบ้านตำแย, สิมวัดบ้านตำแย สิมโบราณ อุบลราชธานี จารึกโบราณ แหล่งท่องเที่ยว วัด อุบลราชธานี


วัด บ้านตำแย, สิมวัดบ้านตำแย วัดบ้านตำแย สิมวัดบ้านตำแย หรือ โบสถ์ เป็นสิมแบบอีสานแท้ ตั้งอยู่ที่ บ้านตำแย หมู่ 01 ตำบล ไร่น้อย อำเภอ เมืองอุบลราชธานี จังหวัด อุบลราชธานี วัดบ้านตำแย ไกล้ กับ วัดสระประสานสุข หลวงปุ่ บุญมี บ้านนาเมือง ซึ่งเป็นพื้นที่ ไกล้ชิด ติด กับ กองบิน 21 อุบลราชธานี เส้นทาง รอบเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สิมวัดบ้านตำแย ถือว่า เป็น ศาสนสถาน ที่ เกี่ยวข้อง กับ เมืองอุบลราชธานี และประวัติศาสตร์ ศิลาจารึก โบราณ สิม วัดบ้านตำแย อายุประมาณ 200 ปี ตั้งแต่ เริ่มตั้งเมือง อุบลราชธานี มีขนาดกระทัดรัด เรียบง่าย ตัวอาคาร ของ

วัดศรีอุบลรัตนาราม พระแก้วบุษราคัม อุบลราชธานี แหล่งท่องเที่ยว วัดศรีอุบลรัตนาราม

วัด ศรีอุบลรัตนาราม เดิมชื่อวัดศรีทอง , วัดศรีอุบลรัตนาราม ตั้งอยู่ที่ 129 ถนนอุปราช ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี (อยู่ข้างศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานีทางด้านทิศใต้ ตรงข้ามศาลหลักเมือง) วัดศรีอุบลรัตนาราม เป็น วัดธรรมยุติกนิกาย อีก วัดหนึ่ง ใน อุบลราชธานี วัดศรีอุบลรัตนาราม สร้างเมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๘ ปีเถาะ จุลศักราช ๑๒๑๗ ร.ศ. 78 เป็นปีที่ 5
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

หาดคูเดื่อ

http://www.rpst-digital.org/forum/attachment.php?attachmentid=121839&stc=1 http://ubonratchathani.cad.go.th/images/picture/Hadkoodai/%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD1.jpg
เป็นหาดทรายกว้างใหญ่ริมแม่น้ำมูลที่ปรากฏในช่วงหน้าแล้ง ห่างจากตัวเมืองไปตามถนนเลี่ยงเมือง ประมาณ 12 กิโลเมตร ริมหาดมีร้านอาหารจัดเป็นซุ้มบริการนักท่องเที่ยวอยู่หลายร้าน

บ้านปะอาว
http://upload.meemodel.com/UploadedFiles/127/ea5r212453236481190101.jpg
ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองขอน ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 18 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 23 ทางไปยโสธร ถึงหลักกิโลเมตรที่ 273 เลี้ยวขวาไปอีก 3 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่มากแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี ตามประวัติศาสตร์นั้น ได้อพยพมาจากนครเวียงจันทน์ ประเทศลาว ตั้งแต่สมัยของพระเจ้าสิริบุญสาร มายังหนองบัวลำภู นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน จนกระทั่งถึงบ้านปะอาวแห่งนี้ ฉะนั้น หมู่บ้านปะอาว จึงมีอายุประมาณ 200 กว่าปี และเป็นหมู่บ้านที่มีอาชีพที่เป็นเอกลักษณ์ประจำหมู่บ้านซึ่งได้รับการสืบ ทอดมาจากบรรพบุรุษ คือการทำเครื่องทองเหลือง กรรมวิธีการผลิตยังเป็นแบบโบราณดั้งเดิม นอกจากนี้แล้วในหมู่บ้านยังมีศูนย์สาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทองเหลือง และทอผ้าไหมที่สวยงาม เปิดทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ

อ.อื่นๆ

สถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอวารินชำราบ

วัดหนองป่าพง


เป็นวัดที่มีบรรยากาศร่มรื่นเงียบสงบ เหมาะแก่การเล่าเรียนพระธรรมวินัยและปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน สภาพทั่วไปเป็นหนองน้ำมีต้นพงขึ้นอยู่ทั่วไป อยู่ในอำเภอวารินชำราบ บนทางหลวงหมายเลข 2178 ห่างจากตัวอำเภอไปประมาณ 6 กิโลเมตร ตัวโบสถ์เป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์สีขาวทั้งหลัง นอกจากนี้ยังมีหุ่นขี้ผึ้งของพระอาจารย์หลวงปู่ชา พระชื่อดังสายวิปัสสนา ผู้เริ่มก่อสร้างวัดนี้ขึ้นมา และเป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วไป

วัดป่านานาชาติ


ตั้งอยู่ที่บ้านบุ่งหวาย ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานีในเส้นทางศรีสะเกษ ประมาณ 14 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 226 วัดป่านานาชาติเป็นอีกสาขาหนึ่งของวัดหนองป่าพง ในวัดจะมีชาวต่างประเทศบวชจำพรรษาเป็นจำนวนมาก เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และปฏิบัติทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน ปัจจุบันมีเจ้าอาวาสเป็นชาวต่างประเทศ พระภิกษุในวัดเกือบทุกรูปจะสามารถพูดภาษาไทย สวดภาษาบาลีได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ทำให้เป็นที่เคารพศรัทธาแก่พระพุทธศาสนิกชนทั่วไป

บ้านท่าข้องเหล็ก
ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 226 สายอุบล-ศรีสะเกษ ประมาณ 3 กิโลเมตร (ข้างโรงเรียนวารินชำราบ) เป็นหมู่บ้านซึ่งทำหม้อดินกันทั้งหมู่บ้าน โดยใช้ดินเหนียวในลุ่มแม่น้ำมูล นำมานวดให้เข้าเนื้อ แล้วผสมกับแกลบและอื่นๆ ซึ่งเป็นวิธีที่น่าสนใจมาก วิธีนี้ไม่มีเครื่องจักรมาเกี่ยวข้องเลย

สถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอพิบูลมังสาหาร

วัดภูเขาแก้ว


อยู่บนเนินเขาในเขตอำเภอพิบูลมังสาหาร ตามทางหลวงหมายเลข 217 ห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานี 44 กิโลเมตร ก่อนถึงอำเภอพิบูลมังสาหารประมาณ 1 กิโลเมตร ภายในวัดมีพระอุโบสถสวยงาม ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบทั้งหลัง ภายในพระอุโบสถจะตกแต่งด้วยภาพนูน สูงอยู่เหนือบานประตูและหน้าต่างขึ้นไป เป็นเรื่องราวและภาพจำลองเกี่ยวกับพระธาตุที่สำคัญของประเทศไทย

แก่งสะพือ
เป็นแก่งที่สวยงามในแม่น้ำมูล ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิบูลมังสาหาร ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานี ตามทางหลวงหมายเลข 217 ประมาณ 45 กิโลเมตร คำว่า “สะพือ” เพี้ยนมาจากคำว่า “ซำฟืด” หรือ “ซำปึ้ด” ซึ่งเป็นภาษาส่วยแปลว่า งูใหญ่ หรืองูเหลือม แก่งสะพือเป็นแก่งที่มีหินน้อยใหญ่สลับซับซ้อน เมื่อกระแสน้ำไหลผ่านกระทบหิน แล้วเกิดเป็นฟองขาวมีเสียงดังตลอดเวลา ช่วงที่เหมาะสำหรับเที่ยวชมแก่งสะพือคือช่วงหน้าแล้ง ราวเดือนมกราคม-พฤษภาคม เพราะน้ำจะลดเห็นแก่งหินชัดเจนสวยงาม ส่วนหน้าฝนน้ำจะท่วมมองไม่เห็นแก่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เคยเสด็จพระราชดำเนินมาชมแก่งนี้ด้วย 2 ครั้ง ริมฝั่งแม่น้ำมีศาลาพักร้อน และร้านขายสินค้าพื้นเมือง ในวันหยุดมีประชาชนมาเที่ยวพักผ่อนกันเป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้แล้วในเดือนเมษายนของทุกปี ช่วงเทศกาลสงกรานต์ เทศกาลตำบลพิบูลมังสาหารได้จัดงานประเพณีสงกรานต์แก่งสะพือ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและประเพณีอันดีงามด้วย

สถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอสิรินธร

เขื่อนสิรินธร

บ่อน้ำบุ้น
ตั้งอยู่ในวัดป่าน้ำบุ้น ถัดจากเขื่อนสิรินธรไปอีก 700 เมตร ตามทางหลวงหมายเลข 217 เป็นบ่อน้ำเย็นที่มีลักษณะคล้ายบ่อน้ำร้อน ค้นพบโดยพระธุดงค์ มีน้ำเย็นผุดขึ้นมาจากใต้ดินตลอดเวลาและทุกฤดูกาล

ชายแดนช่องเม็ก
คือ อาณาเขตติดต่อระหว่างไทยกับลาว เป็นที่สิ้นสุดของทางหลวงหมายเลข 217 ด้วยระยะทาง 89 กิโลเมตร จากอุบลราชธานี ถนนสายนี้จะเชื่อมกับถนนในเขตลาวเข้าไปสู่เมืองปากเซในอีก 38 กิโลเมตร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงสายเอเซีย บริเวณช่องเม็กมีด่านตรวจคนเข้าเมือง และร้านขายสินค้าที่นำเข้ามาจากประเทศลาว

สถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอโขงเจียม

อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ มีพื้นที่ประมาณ 50,000 ไร่ ในเขตอำเภอสิรินธรและอำเภอโขงเจียม ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงและเนินเขาเตี้ยๆ สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าแพะหรือป่าแดง ต้นไม้ในป่ามีลักษณะแคระแกรน บางส่วนเป็นทุ่งหญ้า ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2524 ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูลบริเวณแก่งตะนะ การเดินทางสามารถไปได้สองเส้นทางคือ หมายเลข 217 สายอุบลราชธานี-พิบูลมังสาหาร-ช่องเม็ก ประมาณ 75 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายไปตามเส้นทาง 2173 อีก 13 กิโลเมตร ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งคือเส้นทาง หมายเลข 2222 ซึ่งสามารถชมแก่งตะนะได้อย่างสวยงาม โดยหินจะโผล่ด้านนี้มากกว่า มองเห็นแก่งตะนะได้ชัดเจน ในเขตอุทยานฯ มีสถานที่ท่องเที่ยวดังนี้
ดอนตะนะ เป็นดอนหรือเกาะที่เกิดขวางแม่น้ำมูล มีความกว้างประมาณ 450 เมตร ยาวประมาณ 700 เมตร มีสะพานแขวนทอดข้ามทั้ง 2 ด้านของเกาะทางตอนเหนือของดอนตะนะมีหาดทรายเหมาะแก่การพักผ่อน บนดอนตะนะยังมีป่าอยู่ทั่วไปเป็นสภาพป่าดงดิบแล้งมีต้นไม้ใหญ่ให้ความร่ม รื่นในช่วงเช้าและช่วงเย็นจะมีการทำประมงของชาวบ้านรอบๆเกาะ
แก่งตะนะ เป็นแก่งกลางลำน้ำมูลที่ใหญ่ที่สุด กลางแก่งตะนะมีโขดหินมหึมาเป็นเกาะกลางลำน้ำมูลที่เกิดจากลำน้ำมูลทั้งสอง สายที่เชี่ยวกรากและจะกัดเซาะลงในแนวหินสูงประมาณ 1 เมตร ถ้าสังเกตเกาะกลางแก่งตะนะจะเห็นสิ่งก่อสร้างรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยฝรั่งเศสยังล่าอาณานิคม เพื่อใช้เป็นเครื่องชี้ร่องน้ำในการเดินเรือ นอกจากนี้ยังมีโพรงถ้ำใต้น้ำหลายแห่งจึงทำให้มีปลามาอาศัยบริเวณแก่งตะนะชุก ชุม ช่วงที่เหมาะในการไปเที่ยวคือเดือนมกราคม-พฤษภาคม
เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกรากไทร อยู่บริเวณหน้าผาริมแม่น้ำมูล ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวประมาณ 500 เมตร มีเส้นทางเดินเลียบผาระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ผ่านจุดชมพืชพันธุ์ ไลเคนส์ มอส เฟิร์น ถ้ำพระและน้ำตกรากไทร เหมาะสำหรับการเดินป่าชมธรรมชาติในช่วงเวลาสั้นๆ
แก่งคันเหว่ ประกอบไปด้วยแนวหินยาวประมาณ 1 กิโลเมตร กว้างประมาณ 300 เมตร และยังมีหาดทรายตามแก่งหิน ประกอบด้วยโขดหินใหญ่น้อย มีหลุมยุบและรอยแหว่งเว้าปรากฏอยู่ทั่วไป ในเดือนธันวาคมสายน้ำจะสูงเอ่อไหลตามแก่งหินอย่างเชี่ยวกราก ทำให้เกิดทัศนียภาพอันสวยงาม
น้ำตกตาดโตน ตั้ง อยู่บนทางหลวงหมายเลข 2173 ซึ่งแยกจากทางหลวงหมายเลข 217 เข้าไปประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมากแห่งหนึ่ง เกิดจากลำห้วยตาดโตน ไหลผ่านลานหินแล้วตกลงสู่ที่ลุ่ม เกิดเป็นแอ่งน้ำสามารถลงเล่นน้ำได้ มีน้ำเย็นใสสะอาด บริเวณโดยรอบเป็นป่าไม้และดอกไม้นานาพรรณ บริเวณที่ทำการอุทยานฯมีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยวรายละเอียดติดต่อกอง อุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 579-7223, 579-5734
ถ้ำเหวสินธุ์ชัย ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2222 ก่อนถึงโขงเจียมประมาณ 7 กิโลเมตร เลี้ยวเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร ทางเดียวกับแก่งตะนะ บริเวณถ้ำมีพระพุทธไสยาสน์ลักษณะงดงาม เหมาะสำหรับเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม รอบๆวัดมีก้อนหินขนาดใหญ่เรียงรายอยู่มากมาย มีต้นไม้และดอกไม้ตามฤดูกาลสวยงาม นอกจากนี้ยังมีน้ำตกไหลจากหน้าผาด้านบนผ่านลงมาบริเวณด้านหน้าพระนอนเป็น ก่อนที่จะตกลงสู่หุบเหวเบื้องล่างสร้างบรรยากาศให้ร่มเย็น จะมีน้ำมากในช่วงปลายฤดูฝน
วัดถ้ำคูหาสวรรค์ ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2222 ก่อนถึงอำเภอโขงเจียมประมาณ 6 กิโลเมตร วัดนี้ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2521 โดย "หลวงปู่คำคนิง จุลมณี" ซึ่งใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรมจำพรรษา ปัจจุบันหลวงปู่ท่านได้มรณภาพแล้ว แต่ร่างกายของท่านไม่เน่าเปื่อย บรรดาลูกศิษย์ได้เก็บร่างของท่านไว้ในโลงแก้วเพื่อบูชา บริเวณวัดมีจุดชมวิวสามารถมองเห็นทัศนียภาพของลำน้ำโขงและฝั่งลาวได้อย่างชัดเจน
แม่น้ำสองสี หรือดอนด่านปากแม่น้ำมูล อยู่ในเขตบ้านเวินบึก นั่งเรือจากตัวอำเภอโขงเจียมไปประมาณ 5 นาที เป็นบริเวณที่แม่น้ำมูลไหลลงสู่แม่น้ำโขงเกิดเป็นสีของแม่น้ำที่ต่างกันจึง เรียกกันอย่างคล้องจองว่าโขงสีปูน มูลสีคราม จุดที่สามารถมองเห็นแม่น้ำสองสีได้อย่างชัดเจน คือ บริเวณลาดริมตลิ่งแม่น้ำมูล แม่น้ำโขงหน้าวัดโขงเจียม และบริเวณบางส่วนของหมู่บ้านห้วยหมาก ในเดือนเมษายนจะเป็นเดือนที่เห็นความแตกต่างของสีน้ำได้ชัดเจนที่สุด นอกจากนี้แล้วบริเวณใกล้เคียงยังมีบริการเรือพาล่องชมทัศนียภาพสองฝั่งแม่ น้ำ หรือซื้อของที่ระลึกที่ตลาดหมู่บ้านในฝั่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาวอีกด้วย
เขื่อนปากมูล เป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียวสร้างกั้นแม่น้ำมูลที่บ้านหัวเหว่ อำเภอโขงเจียม มีความสูง 17 เมตร ยาว 300 เมตร อำนวยประโยชน์ในด้านการเกษตรและผลิตกระแสไฟฟ้า เขื่อนปากมูลอยู่ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานีประมาณ 75 กิโลเมตร ห่างจากจุดบรรจบของแม่น้ำมูลและแม่น้ำโขงประมาณ 6 กิโลเมตร สันของเขื่อนปากมูลสามารถใช้เป็นเส้นทางลัดจากอำเภอโขงเจียมไปอำเภอสิรินธร ได้โดยไม่ต้องย้อนไปอำเภอพิบูลมังสาหาร นอกจากนี้บริเวณท้ายเขื่อนยังสามารถล่องเรือชมทิวทัศน์ลำน้ำมูลที่งดงามโดย ตลอดไปบรรจบกับแม่น้ำโขงคือ บริเวณที่เรียกว่า แม่น้ำสองสี

อุทยานแห่งชาติผาแต้ม มีพื้นที่ประมาณ 140 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทร ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2534 สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงและเนินเขา มีหน้าผาสูงชันซึ่งเกิดจากการแยกตัวของผิวโลก สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเต็งรัง มีหินทรายลักษณะแปลกตากระจายอยู่ทั่วบริเวณ มีพันธุ์ไม้ดอกที่สวยงามขึ้นอยู่ตามลานหิน การเดินทางจากอำเภอโขงเจียมใช้เส้นทาง 2134 ต่อด้วยเส้นทาง 2112 แล้วแยกขวาไปผาแต้มอีกราว 5 กิโลเมตร รวมระยะทางจากโขงเจียมประมาณ 18 กิโลเมตร สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ ได้แก่
เสาเฉลียง อยู่ก่อนถึงผาแต้มประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นหินตั้งซ้อนกันโดยธรรมชาติ มีลักษณะคล้ายดอกเห็ดเรียงรายกันอยู่มากมาย ซึ่งหินดังกล่าวจะปรากฏเห็นซากเปลือกหอย กรวด ทราย อยู่ในแผ่นดินขนาดใหญ่ ซึ่งนักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่า เมื่อประมาณล้านกว่าปีมาแล้ว บริเวณนี้คงจะเป็นทะเลมาก่อน
ผาแต้มและผาขาม เป็นหน้าผาสูงที่สวยงามตามธรรมชาติ บริเวณด้านล่างของหน้าผามีภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ปรากฏเรียงรายอยู่ เป็นระยะ มีอายุไม่ต่ำกว่าสามพันถึงสี่พันปี ทางอุทยานฯ ได้ทำทางเดินจากหน้าผาด้านบนลงไปชมภาพเขียนสีเหล่านี้ที่หน้าผาด้านล่าง ระยะทางประมาณ 500 เมตร ภาพเขียนจะอยู่บนผนังหน้าผายาวติดต่อกันประมาณ 170 เมตร ซึ่งเป็นมุมต่ำกว่า 90 องศา มีภาพทั้งหมดประมาณ 300 ภาพ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ สัตว์ เครื่องมือเครื่องใช้ สัญลักษณ์ และคน ด้านตรงข้ามผาแต้มคือ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นจุดชมวิวที่สวยงามโดยเฉพาะอย่างยิ่งเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจจะชมพระ อาทิตย์ขึ้นก่อนที่แห่งใดในประเทศไทย เช่นเดียวกันกับที่หมู่บ้านเวินบึกที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงไม่ไกล จากบริเวณแม่น้ำสองสีมากนัก ซึ่งทุกวันนี้จะมีนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก
ถ้ำมืด
ตั้งอยู่ที่บ้านซะซอม ตามทางหลวงหมายเลข 2112 เลี้ยวซ้ายไปทางบ้านทุ่งนาเมือง ประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นถ้ำขนาดกว้าง 4 เมตร สูง 6 เมตร ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปไม้แกะสลักเรียงรายกันมากมาย แสดงว่าคงจะเคยใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนามาก่อน
น้ำตกสร้อยสวรรค์ ตั้ง อยู่บนทางหลวงหมายเลข 2112 ห่างจากตัวอำเภอโขงเจียมประมาณ 30 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ไหลจากหน้าผาสูงชันสองด้านสูงประมาณ 20 เมตร มองดูคล้ายสร้อยที่แขวนคอ มีน้ำไหลตลอดปี บริเวณน้ำตกเต็มไปด้วยต้นไม้และดอกไม้นานาพรรณมีมากในช่วงปลายฝนต้นหนาว
น้ำตกทุ่งนาเมือง ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2112 ห่างจากน้ำตกสร้อยสวรรค์ ประมาณ 13 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดกลางที่มีความสวยงาม และอยู่ใกล้เส้นทางน้ำไหลลดหลั่นลงมาตามโขดหิน ชั้นบนสูงสุดประมาณ 25 เมตร บริเวณโดยรอบมีดอกไม้ต่างๆ มากมาย
น้ำตกแสงจันทร์ (น้ำตกรู)
อยู่ห่างจากน้ำตกทุ่งนาเมืองเพียง 1 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2112 เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามและมีลักษณะพิเศษ คือ น้ำจะตกลงผ่านปล่องหินสู่เบื้องล่าง มองดูคล้ายแสงจันทร์ซึ่งเต็มดวงลาดส่องมายังพื้นโลก บริเวณโดยรอบมีโขดหินน้อยใหญ่เรียงรายกันอยู่ และมีต้นไม้นานาพรรณ
ป่าดงนาทาม อยู่ในบริเวณภูนาทาม ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 36 กิโลเมตร การท่องเที่ยวที่ป่าดงนาทามเป็นลักษณะการเดินป่าชมธรรมชาติป่าไม้ ภูผาและแม่น้ำโขง ซึ่งจุดที่น่าสนใจได้แก่ ลานหิน พลานถ้ำไฮ เสาเฉลียงคู่ สนสองใบ น้ำตกห้วยพอก ผาชนะได ผากำปั่น ผาหินแตก น้ำตกกวางโตน หินโยก ภูจ้อมก้อม เป็นต้น ในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน จะเหมาะในการชมดอกไม้ดิน น้ำตกและทะเลหมอกริมโขง ส่วนในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม จะเหมาะในการชมป่าไม้เปลี่ยนสี ดอกไม้หน้าแล้ง และล่องเรือตามลำน้ำโขงระหว่างบ้านปากลา-คันท่าเกวียน นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ อบต.นาโพธิ์กลาง โทร.(045) 249002 ,01-977-4621
วัดภูอานนท์
อยู่ทางทิศเหนือของบ้านซะซอม ห่างจากถนนหมายเลข 2112 ที่บ้านนาโพธิ์กลาง ประมาณ 10 กิโลเมตร รถยนต์ เข้าถึงสะดวก ภายในบริเวณวัดมีสภาพธรรมชาติที่น่าสนใจ เช่น ลานหิน รอยเท้าใหญ่ ตุ่มหินธรรมชาติ ภาพเขียนสีศิลปะถ้ำ เป็นต้น เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวชมธรรมชาติในช่วงสั้นๆ
อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ยังไม่มีบริการบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว ผู้ประสงค์จะค้างแรมในเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้มต้องเตรียมอุปกรณ์การพักแรมมาเองและต้องกางเต็นท์ในที่ซึ่งอุทยานฯ จัดเตรียมไว้ให้

สถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอศรีเมืองใหม่

ภูหล่น


ตั้งอยู่ที่ตำบลสงยาง ห่างจากตัวอำเภอศรีเมืองใหม่ไปทางทิศเหนือประมาณ 20 กิโลเมตร เป็นภูเขาขนาดย่อมมีต้นไม้ปกคลุมเป็นระยะสลับกับโขดหินน้อยใหญ่ บริเวณนั้นมีถ้ำซึ่งสร้างเป็นสำนักสงฆ์โดยพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ เพื่อใช้เป็นที่วิปัสสนาธรรม บริเวณโดยรอบเย็นสบาย เงียบสงบเหมาะแก่การพักผ่อนและปฏิบัติธรรม

สถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอบุณฑริก

น้ำตกห้วยทรายใหญ่ (แก่งอีเขียว) เป็นน้ำตกที่สวยงามแห่งหนึ่งของอีสาน ห่างจากอำเภอบุณฑริกไปทางทิศเหนือตามเส้นทาง รพช. ไปบ้านห้วยทราย เป็นระยะทาง 19 กิโลเมตร
อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย
มีพื้นที่ประมาณ 686 ตารางกิโลเมตร ในเขตอำเภอบุณฑริก อำเภอนาจะหลวย และอำเภอน้ำยืน มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาหรือที่เรียกว่า สามเหลี่ยมมรกต พื้นที่เป็นภูเขาในเทือกเขาพนมดงรัก สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์ ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2530 สถานที่น่าสนใจในอุทยานได้แก่
น้ำตกถ้ำบักเตวหรือน้ำตกห้วยหลวง อยู่เลยที่ทำการอุทยานฯไปทางใต้ 3.5 กิโลเมตร รถยนต์เข้าถึงได้ เป็นน้ำตกสูงประมาณ 30 กิโลเมตร ตกลงสู่หุบเขาที่มีลักษณะเป็นอ่างน้ำขนาดเล็ก มีหาดทรายขาวและน้ำเป็นสีมรกตงดงามมาก ช่วงที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวคือระหว่างเดือนกันยายน-กุมภาพันธ์
สวนหินพลานยาว เป็นกลุ่มหินรูปร่างแปลกตา ตั้งกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปเป็นบริเวณกว้าง
น้ำตกเกิ้งแม่พอง อยู่ห่างจากน้ำตกห้วยหลวงไปทางใต้ประมาณ 9 กิโลเมตร ตามทางเดินป่า เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำโดมน้อย
แก่งศิลาทิพย์ อยู่ในเส้นทางจะเข้าสู่ที่ทำการอุทยานฯ เป็นจุดชมพืชพันธุ์ที่มีทางเดินป่าในระยะเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง
แก่งสามพันปีและแก่งกะเลา อยู่เลยที่ทำการอุทยานฯ ไปทางทิศใต้ 4 กิโลเมตร รถยนต์เข้าถึง เป็นจุดชมพืชพันธุ์ ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง
ภูหินด่าง เป็นจุดชมวิวบนหน้าผาสูงมองเห็นทัศนียภาพป่าในเขตประเทศลาวและกัมพูชาซึ่งอยู่เบื้องล่าง ตามลานหินมีลักษณะทางธรณีวิทยาที่แปลกจากแหล่งอื่นๆคือบนผนังหน้าผาที่เว้าเข้ามานั้นมีปื้นสีชมพูบ้าง แดงบ้างคล้ายใครเอาสีไปป้ายทาไว้ เป็นภาพจิตรกรรมโดยธรรมชาติที่สวยงาม ซึ่งนักธรณีวิทยาอธิบายว่าเป็นหลักฐานบ่งบอกถึงสภาพอากาศที่แห้งแล้วเมื่อประมาณหลายร้อยล้านปี จึงส่งผลให้มีการตกตะกอนของแร่ธาตุบางอย่างในน้ำทะเลก่อให้เกิดลักษณะทางธรณีวิทยาเช่นนี้ นอกจากนี้ยังมีทะเลหมอกในช่วงฤดูหนาว การเดินทางใช้เส้นทางหมายเลข 2248 จากอำเภอบุณฑริกประมาณ 15 กิโลเมตร ผ่านบ้านหนองเม็กไปจนถึงแซลำดวน ซึ่งเป็นจุดจอดรถแล้วเดินเท้าไปอีก 2 กิโลเมตร
การเดินทางไปยังอุทยานฯ ใช้เส้นทางสายอุบลราชธานี-เดชอุดม-น้ำยืน-นาจะหลวย ประมาณ 140 กิโลเมตร ก่อนถึงอำเภอนาจะหลวยประมาณ 10 กิโลเมตร มีทางแยกขึ้นเขาไปอีกประมาณ 8 กิโลเมตร
อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย มีบริการบ้านพักและจุดกางเต็นท์สำหรับนักท่องเที่ยว แต่นักท่องเที่ยวต้องนำเต็นท์ไปเอง รายละเอียดสอบถามที่กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ กรุงเทพฯโทร. 579-7223, 579-5734

สถานที่ท่องเที่ยวในกิ่งอำเภอทุ่งศรีอุดม

ปราสาทบ้านเบ็ญ
ตั้งอยู่ที่บ้านหนองอ้ม ตำบลหนองอ้ม กิ่งอำเภอทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากตัวจังหวัดเป็นระยะทางประมาณ 63 กิโลเมตร ปราสาทบ้านเบ็ญเป็นศาสนสถานขอมขนาดย่อมประกอบด้วยปรางค์อิฐ 3 หลัง ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงที่สร้างแยกกัน กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งในปี พ.ศ. 2533 ได้พบทับหลังรูปเทพนพเคราะห์ หรือเทวดาประจำทิศทั้ง 9 องค์ และรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ จากลักษณะแผนผังทางสถาปัตยกรรมและภาพสลักบนทับหลังที่พบ อาจกำหนดอายุปราสาทหลังนี้ได้ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 16


สถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอเขื่องใน
ธรรมาสน์สิงห ศิลปะญวนที่บ้านชีทวน ตั้งอยู่ที่ศาลาการเปรียญวัดศรีนวลแสงสว่างอารมณ์ บ้านชีทวน ตำบลชีทวน อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 26 กิโลเมตร การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 23 (อุบลราชธานี-ยโสธร) ประมาณ 21 กิโลเมตร จะถึงบ้านท่าวารี มีทางแยกเลี้ยวซ้ายเข้าหมู่บ้านอีก 5 กิโลเมตร เป็นธรรมาสน์ที่แตกต่างจากธรรมาสน์โดยทั่วไปกล่าวคือ มีลักษณะเป็นรูปสิงห์ยืนเทินปราสาท (ตัวธรรมาสน์) สร้างด้วยอิฐถือปูน ยอดปราสาทเป็นเครื่องไม้ทำเป็นชั้นซ้อนลดหลั่นประดับตกแต่งลายปูนปั้น และลายเขียนสีแบบศิลปะญวนทั้งหลัง ธรรมาสน์นี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2468 โดยช่างชาวญวน และถือเป็นประติมากรรมที่มีคุณค่ายิ่งทางด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง



อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ

ข้อมูลทั่วไป :

อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง เป็นเขาเตี้ยๆ มีแม่น้ำมูลและแม่น้ำโขงไหลผ่าน ตามแนวเขตทางด้านทิศเหนือไปออกประเทศสาธารณรัฐประชาชนลาว บริเวณแก่งตะนะจะมีสายน้ำที่เชี่ยวและลึก ทั้งยังมีถ้ำใต้น้ำหลายแห่ง จึงทำให้มีปลาอาศัยอยู่อย่างชุกชุม ตรงกลางมีโขดหินใหญ่เป็นเกาะกลาง

อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ มีเนื้อที่ประมาณ 80 ตารางกิโลเมตร หรือ 50,000 ไร่

คำว่า"ตะนะ" จากการเล่าขานตามความเชื่อของชาวบ้านว่า เดิมมาจากคำว่า "มรณะ" เนื่องจากบริเวณแก่งตะนะมีกระแสน้ำไหลเชี่ยวกราก และมีโขดหินน้อยใหญ่อยู่ทั่วไป ตลอดจนมีถ้ำใต้น้ำอยู่หลายแห่ง ชาวบ้านที่สัญจรทางน้ำหรือออกจับปลามักประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตอยู่เป็น ประจำ ชาวบ้านจึงเรียกแก่งนี้ว่า "แก่งมรณะ" ตามแรงบันดาลจากสภาพของสายน้ำที่ไหลผ่านแก่งนี้ ซึ่งต่อมากลายเป็นเรียกว่า "แก่งตะนะ"

การเดินทาง :

อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะอยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ 90 กิโลเมตร และสามารถเดินทางมาได้ 2 เส้นทาง คือ

ทางแรก ไปแก่งตะนะฝั่งขวา ไปทางอำเภอวารินชำราบ ใช้ทางหลวงหมายเลข 217 ผ่านอำเภอวารินชำราบถึงอำเภอพิบูลมังสาหาร แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2173 ไปสู่ช่องเม็ก ถึงหลักกิโลเมตรที่ 73 บ้านคำเขื่อนแก้ว เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2296 สุดทางจะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะหรือแก่งตะนะฝั่งขวา ระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร

ทางที่สอง ไปแก่งตะนะฝั่งซ้าย เส้นทางเดียวกับเส้นทางแรก เมื่อถึงอำเภอพิบูลมังสาหารให้เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานพิบูลมังสาหาร 200 ปี ไปตามเส้นทางโขงเจียม ก่อนถึงโขงเจียม 4 กิโลเมตร จะมีทางแยกเลี้ยวขวาเข้าไปยังแก่งตะนะฝั่งซ้าย ระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร

สิ่งอำนวยความสะดวก :

อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ มีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว จำนวน 3 หลัง พักได้หลังละ 12-14 คน ค่าธรรมเนียมที่พัก 700-800 บาท/คืน

รายละเอียดติดต่อกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 579-7223, 579-5734

ลักษณะภูมิประเทศ :

สภาพพื้นที่ ทั่วไปเป็นที่ราบ เป็นเขาเตี้ยๆมีแม่น้ำมูลแม่น้ำโขงไหลผ่าน ความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาบรรทัด สูงประมาณ 543 เมตร สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าแพะหรือป่าแดง จะมีป่าดิบเฉพาะบริเวณริมห้วยใหญ่เท่านั้น สภาพพื้นที่ส่วนมากเป็นหินทราย และพื้นที่ศิลา ส่วนดินเป็นดินลูกรัง ดินตะกอน

ลักษณะภูมิอากาศ :

สภาพภูมิอากาศ จัดอยู่ในเขตมรสุม แต่เนื่องจากอยู่ใกล้แม่น้ำสำคัญสายใหญ่ 2 สายคือ แม่น้ำมูลและแม่น้ำโขง อากาศจึงต่างไปจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั่วไป คือฤดูร้อนอากาศจะไม่ร้อนจนเกินไป อยู่ในราว 25-29 องศาเซลเซียส ฤดูหนาวไม่หนาวจัด ส่วนฤดูฝน ฝนจะตกค่อนข้างชุก

นักท่องเที่ยวสามารถไปเที่ยวในทุกฤดู โดยในฤดูฝนและฤดูหนาวจะมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมแม่น้ำมูล แม่น้ำโขงและน้ำตกต่างๆ ส่วนในช่วงปลายฤดูหนาวและฤดูร้อน นักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวชมแก่งต่างๆ

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :

สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าแพะและป่าแดง มีไม้เต็ง รัง เหียง พลวง ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะแคระแกร็น นอกจากนี้ยังมีป่าดิบแล้งบ้างตามบริเวณริมห้วยใหญ่ๆ และบนดอย พันธุ์ไม้ที่ขึ้นได้แก่ ไม้ประดู่ แดง หว้า สัก ยาง แล้วยังมีทุ่งหญ้าอยู่บ้างเป็นหย่อมๆ ไม้พื้นล่างมีพวกไม้ไผ่ และไม้เถาอื่นๆขึ้นอยู่ทั่วไป

สัตว์ป่า ประกอบไปด้วย หมูป่า เก้ง อีเห็น ชะมด ลิง ชะนี และนกชนิดต่างๆ

จุดเด่นที่น่าสนใจ :

แก่งคันเหว่
ประกอบด้วยแนวหินยาวประมาณ 1 กิโลเมตร กว้างราว 300 เมตร และยังมีหาดทรายตามแก่งหิน ประกอบด้วยโขดหินใหญ่น้อยเกลี้ยงเกลา มีหลุมยุบและรอยแหว่งเว้าปรากฏอยู่ทั่วไป ในเดือนธันวาคม สายน้ำมูลจะเอ่อไหลตามแก่งหินอย่างเชี่ยวกราก ทำให้เกิดทัศนียภาพที่สวยงาม

ดอนตะนะ
เป็นดอนดินที่เกิดขึ้นขวางแม่น้ำมูล และแบ่งแม่น้ำมูลออกเป็นสองสาย มีความกว้างประมาณ 450 เมตร ยาวประมาณ 700 เมตร ทางตอนเหนือของดอนตะนะมีหาดทราย เหมาะแก่การพักผ่อนเป็นอย่างยิ่ง บนดอนตะนะยังมีป่าอยู่ทั่วไป สภาพเป็นป่าดิบแล้ง มีไม้ใหญ่ให้ความร่มรื่นและมีป่าสักตามธรรมชาติ

แก่งตะนะ
ลำน้ำมูลเมื่อไหลผ่านดอนตะนะทั้งสองด้านแล้ว จะไหลลงมาทางแก่งตะนะ กลางแก่งตะนะมีโขดหินใหญ่เป็นเกาะกลางแม่น้ำมูล จากทั้งสองสายที่เชี่ยวกรากจะกัดเซาะลงในแนวโขดหินสูงราว 1 เมตร บ้างก็ไหลซอกซอนไปตามร่องหินและลานหินริมฝั่ง ถ้าสังเกตเกาะกลางแก่งตะนะ จะเห็นสิ่งก่อสร้างรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยฝรั่งเศสยังล่าอาณานิคมเป็นผู้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็น เครื่องชี้ร่องน้ำในการเดินเรือ บริเวณแก่งตะนะ จะมีสายน้ำเชี่ยวและลึก ทั้งยังมีถ้ำใต้น้ำอีกหลายแห่ง จึงทำให้ปลาบริเวณแก่งตะนะชุกชุม

น้ำตกตาดโตน
เป็นน้ำตกที่ตกจากชั้นที่มีแนวโค้งคล้ายจอภาพยนต์ อยู่บริเวณห้วยตาดโตน

น้ำตกและบึงห้วยหมาก
อยู่บริเวณเหนือบ้านห้วยหมากไป เป็นบึงใหญ่น้ำนิ่งและไหลตกเป็นทางยาวลงมาบนชั้นหินที่ซ้อนเหลื่อมล้ำเป็นแนวทอดต่ำลงมา

น้ำตกห้วยกว้าง
อยู่ใกล้เขตสุขาภิบาลอำเภอโขงเจียม มีน้ำตกลงไปตามซอกหินเป็นชั้นลดหลั่นลงมา


อุทยานแห่งชาติผาแต้ม

ข้อมูลทั่วไป :

อุทยานแห่งชาติผาแต้ม มีเนื้อที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วยสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่านานาชนิด มีจุดเด่นที่สวยงามตามธรรมชาติมากมาย เช่น ผาชัน น้ำตกสร้อยสวรรค์ เสาเฉลียง ถ้ำปาฏิหารย์ ภูนาทาม เป็นต้น อีกทั้งยังได้มีการค้นพบภาพเขียนสีโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 3,000-4,000 ปี ที่บริเวณผาขาม ผาแต้ม ผาเจ็ก ผาเมย และถือได้ว่าเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรก ในประเทศไทยที่มีแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทย และประเทศลาวเป็นแนวเขตอุทยานแห่งชาติที่ยาวที่สุด ทำให้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ป่าเขาทางฝั่งประเทศลาวได้เป็นอย่างดี

อุทยานแห่งชาติผาแต้มมีเนื้อที่ประมาณ 340 ตารางกิโลเมตร หรือ 212,500 ไร่

การเดินทาง :

จากจังหวัดอุบลราชธานีไปยังอำเภอโขงเจียม ระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร แล้วเดินทางไปตามเส้นทางยุทธศาสตร์สายโขงเจียม-เขมราฐ 15 กิโลเมตร เลี้ยวขวาต่อไปอีก 5 กิโลเมตร จะถึงภูผาขาม ท้องที่บ้านหนองผือน้อย ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติผาแต้ม ปัจจุบันเส้นทางนี้เป็นถนนลาดยางไปสิ้นสุดอยู่บนลานภูผาขาม

สิ่งอำนวยความสะดวก :

ปัจจุบันยังไม่มีบ้านพักสำหรับบริการนักท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะค้างแรมต้องเตรียมอุปกรณ์ไปเอง

สำหรับรายละเอียดอื่นๆติดต่อสอบถามได้ที่ อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ตู้ ปณ.6 ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี 34220 หรือที่ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ลักษณะภูมิประเทศ :

สภาพภูมิประเทศทั่วไปเป็นที่ราบสูงและเนินเขาสูงชัน ลักษณะสูงๆต่ำๆสลับกันไปทั่วพื้นที่ ลักษณะทางธรณีวิทยาเกิดจากการแยกตัวของผิวโลก เป็นเทือกเขาเดียวกับเขาพนมดงรักหรือดงเร็กซึ่งเขาพระวิหารตั้งอยู่ ตามแผนที่ทางธรณีวิทยาใช้ชื่อหน่วยภูพานและพระวิหาร เป็นภูเขาหินทราย มีที่ราบอยู่บ้างแถบริมห้วยและตามแนวแม่น้ำโขง ในส่วนของที่ราบสูงแต่ละแห่งมีเนื้อที่ประมาณ 800-1,300 ไร่ ห่างจากลำน้ำประมาณ 1-2 กิโลเมตรจะเป็นหน้าผาสูงชัน พื้นที่ทั่วไปจะมีหินทรายโผล่เป็นลานหินกระจัดกระจายทั่วพื้นที่ ดินที่พบในแถบที่ราบลุ่มเป็นดินร่วนปนทรายและดินเหนียว แถบริมแม่น้ำมีตะกอนและฮิวมัสมาก ส่วนบริเวณที่ราบสูงเป็นพวกดินทราย ดินลูกรัง มีลำห้วยน้อยใหญ่เป็นจำนวนมาก ที่สำคัญเช่น ห้วยใหญ่ ห้วยสร้อย ห้วยหละหลอย ห้วยพอก ฯลฯ ห้วยต่างๆเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะไหลลงสู่แม่น้ำโขง

ลักษณะภูมิอากาศ :

สภาพภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดู
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน มิถุนายน-กันยายน
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือน ตุลาคม-กุมภาพันธ์
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤษภาคม

อุณหภูมิในแต่ละฤดูจะแตกต่างกันอย่างมาก ในฤดูฝนจะมีพายุฝนฟ้าคะนองอยู่บ่อยๆ ในฤดูหนาวอากาศจะหนาวเย็นอย่างแห้งแล้ง ความชื้นในบรรยากาศมีน้อย ในฤดูร้อนอากาศจะร้อนจัด ต้นไม้ใบหญ้าแห้งแล้ง

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :

สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเต็งรังเสียส่วนใหญ่ ตามพื้นที่ที่มีหินโผล่ลักษณะเป็นป่าโปร่ง ต้นไม้แคระแกรน แต่มีความสวยงามตามธรรมชาติ พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง ประดู่ และเหมือดต่างๆ ไม้พื้นล่างเป็นพวกไผ่ป่า หญ้าต่างๆ ข่อยหิน และยังมีดอกไม้ที่สวยงามขึ้นอยู่ตามซอกลานหินทั่วไป เช่น หยาดน้ำค้าง แดงอุบล เอนอ้า เหลืองพิสมร ตลอดจนมีทุ่งดอกไม้จำพวกดุสิตา สร้อยสุวรรณ ทิพยเกษร กระดุมเงิน ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ สภาพป่าจะเปลี่ยนเป็นป่าดิบแล้งในบริเวณที่ราบลุ่มแถบริมห้วยหรือริมแม่น้ำ เนื่องจากมีความชุ่มชื้นพอประมาณตลอดปี พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ยาง กระบาก รกฟ้า ตะแบกเลือด เขล็ง แดง ไม้พื้นล่างเป็นพวกไม้เถา ไม้เลื้อยต่างๆ นอกจากนี้ยังพบป่าสนสองใบที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ กระจัดกระจายในส่วนที่เป็นพื้นที่ราบบนภูต่างๆทั่วพื้นที่

สัตว์ป่าประเภทเลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ยังไม่พบ แต่ขนาดเล็กลงมาที่พบได้ทั่วไปได้แก่ อีเห็น สุนัขจิ้งจอก กระต่าวป่า อีเก้ง ชะมด บ่าง ในฤดูแล้งเมื่อระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดลงมาก จะพบเห็นสัตว์ประเภท หมูป่า เลียงผา ว่ายน้ำข้ามมาจากฝั่งประเทศลาวอยู่เสมอๆ เนื่องจากอาณาเขตบางส่วนอยู่ในลำน้ำโขงมีปลาน้ำจืดชนิดต่างๆมากมาย นกนานาชนิดที่พบเห็นได้แก่ นกขุนทอง นกยูง เหยี่ยว อีกา นกขุนแผน นกกระเต็น เป็นต้น

จุดเด่นที่น่าสนใจ :

ผาแต้ม
เมื่อดูจากแม่น้ำโขงจะเห็นเป็นหน้าผาสูงที่สวยงามตามธรรมชาติ ในบริเวณที่เป็นหน้าผาจะปรากฏภาพเขียนสีโบราณโดยฝีมือมนุษย์สมัยก่อนประวัติ ศาสตร์ เรียงรายตามความยาวของหน้าผาติดต่อกันยาวประมาณ 180 เมตร มีไม่ต่ำกว่า 300 ภาพ ซึ่งเป็นจำนวนภาพเขียนสีโบราณที่มากที่สุดเท่าที่เคยค้นพบในประเทศไทยและใน ต่างประเทศ

ผาเจ็ก-ผาเมย
ลักษณะเหมือนบริเวณผาแต้ม และปรากฏภาพเขียนสีโบราณเช่นเดียวกัน ถึงแม้ภาพเขียนจะมีจำนวนน้อยกว่าก็ตาม แต่ลักษณะภาพเขียนที่พบแตกต่างกัน

ภูผาขาม
เป็นภูเขาหินทราย ข้างบนเป็นลานหินเรียบ ด้านล่างเป็นบริเวณที่ปรากฏภาพเขียนสีโบราณ เมื่อยืนดูอยู่ด้านบนจะเห็นทิวทัศน์ตามริมแม่น้ำโขงสุดสายตา เป็นทิวทัศน์ของป่าเขาและลำน้ำที่สวยงามมาก

เสาเฉลียง
เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำ สายลมและแสงแดด มีลักษณะเป็นแท่งหินตั้งขึ้น มีส่วนบนเป็นแผ่นหินวางอยู่โดยไม่ติดกัน มองดูคล้ายดอกเห็ด

ภูกระบอ
เป็นภูผาหินทราย ที่มีเสาเฉลียงเป็นจำนวนมากตั้งเรียงรายกระจัดกระจายทั่วพื้นที่ ดูลักษณะคล้ายสวนหิน

ภูโลง
ได้มีการค้นพบโลงศพของมนุษย์อยู่ภายในซอกหิน ซึ่งไม่ถูกแดดถูกฝนอยู่บนภูโลง เข้าใจว่าเป็นโลงศพของมนุษย์สมัยก่อน ส่วนของกระดูกและสิ่งของภายในโลงหายไปก่อนที่จะค้นพบ ลักษณะของโลงใหญ่มาก ไม้ที่ใช้ทำโลงบางส่วนผุพังไปตามธรรมชาติ แต่ยังคงสภาพส่วนใหญ่อยู่

ถ้ำปาฏิหารย์
โดยปกติภูเขาหินทรายจะไม่ปรากฏถ้ำที่แบ่งเป็นหลืบเป็นห้อง แต่ปรากฏว่าถ้ำปาฏิหารย์แบ่งเป็นหลืบเป็นห้องและมีความยาวมาก

ภูนาทาม
เป็นป่าสนสองใบตามธรรมชาติที่ขึ้นอยู่บริเวณหน้าผา เมื่อมองทะลุป่าสนสองใบนี้ไปจะเห็นภูเขาหมึนสลับซับซ้อนของประเทศลาวเป็นฉาก อยู่ข้างหลัง ตัดกับท้องฟ้าที่อยู่ด้านบน และลำน้ำโขงที่อยู่ด้านข้าง

น้ำตกสร้อยสวรรค์
เป็นน้ำตกที่สวยงาม เกิดจากลำธาร 2 สาย คือ แซสร้อย และแซไผ่ ไหลตกลงมาบรรจบกัน ดูลักษณะคล้ายสายสร้อยคอ

นอกจากนี้ยังมีน้ำตกที่สวยงามอีกหลายแห่ง เช่น น้ำตกลงรู น้ำตกทุ่งนาเมือง และการนั่งเรือท่องไปตามแม่น้ำโขงจะทำให้เห็นทัศนียภาพที่แตกต่างกันไปของ สภาพภูมิประเทศและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่ยังทิ้งร่องรอยไว้ให้เห็นทั้งสองฝั่งของลำน้ำ

อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย

ข้อมูลทั่วไป :

อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอบุณฑริก อำเภอนาจะหลวย และอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐประชาธิปไตยกัมพูชา พื้นที่ป่าอยู่ในส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงรัก ประกอบด้วย ภูเขาภูเล็กภูน้อยมากมาย เช่น ภูจองนายอย ภูจองน้ำซับ ภูจอง ภูจันทร์แดง ภูพลานสูง ภูพลานยาว เป็นต้น มีสภาพป่าสมบูรณ์ สภาพธรรมชาติที่สวยงามและมีสัตว์ป่าชุกชุม

อุทยานแห่งชาติภูจองนายอยมีเนื้อที่ประมาณ 686 ตารางกิโลเมตร หรือ 428,750 ไร่

การเดินทาง :

การเดินทาง สามารถเริ่มเดินทางจากกรุงเทพฯ ได้ทั้งทางรถไฟ รถยนต์ ทั้งสายเก่า- สายใหม่ เมื่อถึงจังหวัดอุบล-ราชธานีแล้ว เดินทางโดยรถยนต์ประจำทาง จังหวัดอุบลราชธานี อำเภอนาจะหลวย ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร ค่าโดยสารประมาณ 25 บาท

ถ้านักท่องเที่ยวจะเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว ขอแนะนำให้ใช้เส้นทาง อุบล-อำเภอวารินชำราบ อำเภอเดชอุดม อำเภอน้ำยืน อำเภอนาจะหลวย ระยะทางรวม 140 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยางใช้ได้ดีตลอด

สิ่งอำนวยความสะดวก :

อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย เป็นอุทยานแห่งชาติที่เพิ่งเริ่มดำเนินการใหม่ ซึ่งทางอุทยานแห่งชาติ ได้จัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์ไว้ นักท่องเที่ยวต้องนำเต็นท์ไปกางเอง

ติดต่อรายละเอียดได้ที่ ส่วนอำนวยการ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ กรุงเทพฯ โทร. 579-7223, 579-5734 หรือ 561-4292-4 ต่อ 724, 725 หรือติดต่อได้ที่อุทยานแห่งชาติโดยตรง

ลักษณะภูมิประเทศ :

ส่วนใหญ่บริเวณป่าภูจองนายอย จะเป็นเทือกเขาแหล่งต้นน้ำของลำน้ำ ลำห้วยที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง มีพันธุ์ไม้ขึ้นอยู่หนาแน่นและอุดมสมบูรณ์ ส่วนมากดินจะเป็นดินลูกรังปะปนหินปูน ตามบริเวณที่ราบบนเนินเขา และ ประกอบด้วยลานหินลักษณะต่างๆ ตลอดจนหน้าผา เช่น ผาผึ้ง

ลักษณะภูมิอากาศ :

สภาพภูมิอากาศของอุทยานแห่งาติภูจองนายอย จัดเป็น 3 ฤดู
ฤดูฝน เริ่มราวเดือนมิถุนายน - พฤศจิกายน
ฤดูหนาว เริ่มราวเดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์
ฤดูร้อน เริ่มราวเดือนมีนาคม - พฤษภาคม

ซึ่งอากาศโดยทั่วไปไม่ร้อนจัดเย็นสบายตลอดทั้งปี โดยช่วงฤดูหนาวมีอากาศที่เย็นมาก

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :

ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ชนิดป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ซึ่งอยู่เป็นส่วน ๆไป มีพันธุ์ไม้ขึ้นหนาแน่นประมาณ 75% โดยเฉลี่ยประกอบด้วย ไม้พื้นล่างขึ้นหนาแน่นได้แก่ จำปาป่า และพันธุ์ไม้ดอกต่าง ๆ แซมเป็นไม้พื้นล่างให้กับไม้ยืนต้น จำพวกตะเคียนทอง ประดู่ยาง กระบาก ปู่จ้าว พยุง มะค่าแกแล เป็นต้น ขึ้นแยกในตามแต่สภาพป่า

จุดเด่นที่น่าสนใจ :

น้ำตกบักเดวใหญ่
มีขนาดใหญ่พอสมควร มีผาน้ำกระโจนตกจากแอ่งสู่เวิ้งเบื้องล่างสูงราว 40 เมตร แบ่งเป็น 3 ชั้น มีทางขึ้นลงธรรมชาติ เพื่อชมและเล่นน้ำบริเวณอ่างน้ำด้านล่างได้สะดวก

บ่อน้ำซับ
แทรกอยู่ในความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ถึง 3 บ่อ บนภูกระทุ่งอำเภอนาจะหลวย

จุดชมทิวทัศน์
บริเวณผาผึ้งอยู่ถัดจากพลานยาวไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ สามารถชมทิวทัศน์สวยงามตามแนวชายแดนกัมพูชาประชาธิปไตย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยที่ชะง่อนผามีถ้ำขนาดย่อย ๆ หินสวยงามและรังผึ้งขนาดใหญ่ให้ชมบริเวณผาตาลืม

บริเวณผาตาลืม
อยู่ริมหน้าผาของภูวังยาว ตรงข้างล่างของหน้าผามีตาน้ำซับไหลตลอดปี

สวนหินพลานยาว
มีกลุ่มหินรูปร่างลักษณะน่าพิศวงเป็นกลุ่มขึ้นอยู่งดงาม บริเวณกว้างหลาย ๆ จุดสามารถจัดเป็นแหล่งสันทนาการที่สำคัญของป่าภูจองนายอย อีกแห่งหนึ่ง


เขื่อนสิรินธร

ข้อมูลทั่วไป :

เขื่อนสิรินธร เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ ที่มีความสำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากจะให้ประโยชน์ ทางด้านการผลิต พลังงานไฟฟ้าแล้ว ยังอำนวยประโยชน์ นานัปการ ต่อการพัฒนาชีวิต ความเป็นอยู่ ของประชาชน ในภูมิภาคแถบนี้ ทั้งทางด้านการชลประทาน การป้องกันอุทกภัย การประมง และการท่องเที่ยว นับเป็นการสงวนและใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่ ในประเทศให้เกิดประโยชน์ สูงสุด อย่างสอดคล้อง กับการพัฒนาประเทศ ในยุคปัจจุบัน

เขื่อนสิรินธร เป็นเขื่อนที่มีความสำคัญ ยิ่งแห่งหนึ่งในการพัฒนาประเทศ และความเป็นอยู่ ของประชาชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ภูมิใจที่เขื่อนแห่งนี้ ได้มีส่วนในการยกระดับ มาตรฐาน การครองชีพ ของประชาชนให้ดีขึ้น และผลักดัน ให้ภูมิภาคแถวนี้ ก้าวไปสู่ความเจริญ ก้าวหน้าในทุกๆ ด้าน สมควรเป็นมรดกอันมีค่า ของประชาชน และประเทศชาติสืบไป

ลักษณะเขื่อน :

ตัวเขื่อน
มีความสูง ๔๒ เมตร ยาว ๙๔๐ เมตร สันเขื่อนกว้าง ๗.๕ เมตร

อ่างเก็บน้ำ
มีพื้นที่ประมาณ ๒๘๘ ตารางกิโลเมตร สามารถกักเก็บน้ำได้ ๑,๙๖๖.๕ ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ระดับกักเก็บน้ำสูงสุด ๑๔๒.๒ เมตร (จากระดับน้ำทะเลปานกลาง)

โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร
ติดตั้งเครื่อง กำเนิดไฟฟ้าไว้ ๓ เครื่อง ขนาดกำลังผลิตเครื่องละ ๑๒,๐๐๐ กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น ๓๖,๐๐๐ กิโลวัตต์

การก่อสร้างโครงการ ได้เริ่มในเดือนมิถุนายน ๒๕๑๑ และมีการวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาต ให้เชิญพระนามของสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขนานนามเขื่อนว่า "เขื่อนสิรินธร" การก่อสร้างตัวเขื่อน และระบบส่งไฟฟ้าระยะแรก แล้วเสร็จในปี ๒๕๑๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงเปิดเขื่อนสิรินธร เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ หลังจากนั้นเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๕ สำนักงานคณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้มอบเขื่อนสิรินธร ให้อยู่ในความรับผิดชอบดูแล ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย (กฟผ.) ต่อไป

ประโยชน์ :

เขื่อนสิรินธร เป็นโครงการอเนกปรสงค์ จึงสามารถ อำนวยประโยชน์ อย่างกว้างขวาง ในการพัฒนาประเทศ ในด้านต่างๆ ดังนี้

การผลิตพลังงานไฟฟ้า สามารถใช้พลังน้ำ มาผลิตพลังงาน ได้เฉลี่ยปีละ ๙๐ ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ทำให้ขยายขอบเขต การจ่ายกระแสไฟฟ้า ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ออกไปได้กว้างขวางขึ้น

การชลประทาน สามารถส่งน้ำ ที่เก็บกักไว้ ในอ่างเก็บน้ำ ไปใช้ในระบบชลประทาน ได้เป็นพื้นที่ ๑๕๐,๐๐๐ ไร่ จึงช่วยให้ เกษตรกร ในแถบนี้ทำการเพาะปลูก ได้ตลอดปี

บรรเทาอุทกภัย เขื่อนสิรินธร สามารถกักเก็บน้ำ ที่ไหลบ่ามา ตามแม่น้ำโดมน้อย ไว้ได้เป็นจำนวนมาก จึงช่วยป้องกันปัญหา น้ำท่วมและ ช่วยให้แม่น้ำมูล สามารถระบายน้ำ ลงสู่แม่น้ำโขง ได้สะดวกยิ่งขึ้น

การประมง อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร เป็นแหล่งเพาะพันธ์ปลาน้ำจืด ขนาดใหญ่ โดย กฟผ. ร่วมมือกับกรมประมง นำพันธุ์ปลา มาปล่อย อาทิ ปลายี่สก ปลานิล ปลาใน ฯลฯ และกุ้งก้ามกราม ทำให้ราษฎร มีอาชีพหลักเพิ่มขึ้น

การคมนาคม สามารถใช้อ่างเก็บน้ำ เป็นเส้นทางเดินเรือ ติดต่อค้าขายและคมนาคม ขนส่งผลผลิตออกสู่ตลาดได้สะดวกอีกทางหนึ่ง

การท่องเที่ยว ความสวยงามสงบร่มรื่น ของภายในบริเวณ เขื่อนและอ่างเก็บน้ำ เป็นสิ่งดึงดูดใจ ให้นักท่องเที่ยว เดินทางมาเที่ยวชม และพักผ่อนหย่อนใจ เป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดการขยายตัว ทางด้านธุรกิจท่องเที่ยว อื่นๆ ตามไปด้วย

การเดินทาง :

เขื่อนสิรินธร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๘๐๐ กิโลเมตร การเดินทางโดย รถยนต์ ใช้เส้นทาง ไปตามถนนสายมิตรภาพ ประมาณ ๗๓๗ กิโลเมตร มุ่งสู่จังหวัดอุบลราชธานี แล้วใช้ทางหลวง หมายเลข ๒๑๗ เข้าสู่อำเภอพิบูลมังสาหาร จากนั้นไปตาม เส้นทางพิบูลมังสาหาร-ช่องเม็ก เข้าสู่เขื่อนสิรินธร

นอกจากนี้ สามารถเดินทางได้ โดยรถโดยสารปรับอากาศ หรือรถไฟ แต่ถ้าต้องการความสะดวก สบาย และรวดเร็ว ก็สามารถใช้บริการ สายการบิน ภายในประเทศได้

สิ่งอำนวยความสะดวก :

หากประสงค์จะเยี่ยมชม และพักแรม ภายในเขื่อน สามารถติดต่อสอบถาม เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบได้ ที่หน่วยธุรการ และบริการ เขื่อนสิรินธร โทร. ๒๗๐๗ (สายใน) หรือ โทร. (๐๔๕) ๓๖๖๐๘๑ หากอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถติดต่อสำรองที่พัก ได้ที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บางกรวย นนทบุรี

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง :

เพื่อให้การมาเยี่ยมเขื่อนสิรินธร ได้ทั้งความรู้ และความเพลิดเพลิน อย่างเต็มที่ ท่านสามารถ แวะชมสถานที่ท่องเที่ยว ใกล้เคียง ภายในจังหวัดอุบลราชธานี ได้อีกหลายแห่ง เช่น แก่งสะพือ แก่งตะนะ น้ำตกตาดโตน แม่น้ำสองสี หรือ ดอนด่านปากน้ำมูล น้ำบุ้น และผาแต้ม

สวนสิรินธร
เป็นสวนเฉลิมพระเกียรติที่ กฟผ. จัดสร้างขึ้นเพื่อ เป็นการถวายความจงรักภัคดี และถวายเป็นราชสักการะ ต่อองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาส คล้ายวันพระราชสมภพ ทรงมีพระชนมายุ ๓๖ พรรษา เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๓๔ โดยจัดเป็นสวนสาธารณะอันร่มรื่น งดงามเพื่อให้สาธารณะชน ได้พักผ่อนหย่อนใจ และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

กฟผ. ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างสวนนี้ เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๓๓ แล้วเสร็จ ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๓๔ รวมค่าใช้จ่ายประมาณ ๔.๔๐ ล้านบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนิน เปิดสวนสิรินธร เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๓๔

สวนแห่งนี้ ตั้งอยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำฝั่งซ้าย ของสันเขื่อนสิรินธร มีพื้นที่ประมาณ ๔๐ ไร่ โดยออกแบบก่อสร้าง ให้มีลักษณะเป็นสวนป่า ที่คงสภาพสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ไว้ได้มากที่สุด การใช้วัสดุอุปกรณ์ตกแต่งสถานที่ เน้นให้กลมกลืน กับพื้นที่เดิม

ภายในสวนสิรินธร ประกอบด้วยสวนพฤกษศาสตร์ สวนน้ำพุ ศาลาพักผ่อน และพันธุ์ไม้ดอก โทนสีม่วง ซึ่งเป็สีประจำวันพระราชสมภพ คือวันเสาร์ ประดับไว้โดยรอบ พร้อมกับตัดแต่งต้นไม้ เป็นตัวอักษร สธ อันเป็นพระราชลัญจกร ประจำพระองค์ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นอกจากนี้ ยังมีประติมากรรมรูปหล่อ เป็นช้าง ๓ เชือกเล่นดนตรี ซึ่งเป็นเครื่องดนตรี ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงโปรดปราน อันได้แก่ ระนาด ซอ และ ขลุ่ย

วนอุทยานน้ำตกผาหลวง จังหวัดอุบลราชธานี

วนอุทยานน้ำตกผาหลวงอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดงภูโหล่น ในท้องที่บ้านนาเลิน ตำบลนาเลิน อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี มีเนื้อที่ประมาณ 11,375 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2538

ลักษณะภูมิประเทศ
บริเวณสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาติดต่อกันคือ ภูแผงม้ามีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 399 เมตร ภูพระทรายสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 392 เมตร ภูหมีเยี่ยมสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 362 เมตร ภูผักหวานสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 282 เมตร ซึ่งภูเขาเป็นลักษณะสูงชันและมีที่ราบเป็นลานหินบนเขา

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า

พันธุ์ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่พบได้แก่ ประดู่ แดง ชิงชัน พยูง ยาง เต็ง รัง ไม้พื้นล่างเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก
สัตว์ป่าที่พบเป็นพวก กระรอก กระแต สัตว์เลื้อยคลานและนกชนิดต่าง ๆ ที่พบเห็นปัจจุบัน

บ้านพัก-บริการ

วนอุทยานน้ำตกผาหลวง ไม่มีบ้านพักบริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะเดินทางไปพักแรม โปรดนำเต็นท์ไปกางเองทางวนอุทยานจัดสถานที่ไว้ให้พร้อมกับห้องสุขา โปรดเตรียมอาหารไปเองแล้วไปติดต่อขออนุญาตกับเจ้าหน้าที่วนอุทยานน้ำตกผา-หลวงโดยตรงหรือติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0-25614292 - 3 ต่อ 719 ฝ่ายจัดการวนอุทยาน สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 หรืออุทยานแห่งชาติผาแต้ม สำนักอุทยานแห่งชาติ จังหวัดอุบลราชธานี โทร. (045) 313966

แหล่งท่องเที่ยว
บริเวณยอดเขาแต่ละยอดจะมีถ้ำอยู่หลายแห่ง แต่เป็นถ้ำขนาดเล็กและที่สำคัญ คือ จะมีน้ำตกที่มีความสูงประมาณ 20 เมตร จากหน้าผาลงมาสู่แอ่งน้ำข้างล่างและบริเวณบนเขาจะมีที่ราบลานหินขนาดใหญ่ สวยงามและความสูงชันของหน้าผา

การเดินทาง
รถยนต์ จากจังหวัดอุบลราชธานี - อำเภอศรีเมืองใหม่ ระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางและจากอำเภอศรีเมืองใหม่ถึงบ้านนาเลินประมาณ 19 กิโลเมตร เป็นทางลูกรังอัดแน่นใช้การได้ทุกฤดูกาล บริเวณน้ำตกอยู่ห่างไปประมาณ 1 กิโลเมตร

สถานที่ติดต่อวนอุทยานน้ำตกผาหลวง
ต.นาเลิน อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี โทรศัพท์ 0 4531 3966 โทรสาร 0 4531 1682


เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม จังหวัดอุบลราชธานี

ประวัติความเป็นมา

ป่ายอดโดมเป็นส่วนหนึ่งของป่าบนเทือกเขาพนมดงรักซึ่งเป็นเทือกเขาที่กั้นพรมแดนระหว่างไทย-ลาว และไทย-เขมร กรมป่าไม้ได้กำหนดป่ายอดโดมเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เมื่อปี พ.ศ. 2520 โดยมีอาณาเขตอยู่ในป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งขวาลำโดมใหญ่ ท้องที่ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เนื้อที่ประมาณ 202.55 กม.2 หรือ 126,595 ไร่ ต่อมาได้เพิกถอนพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดมบางส่วนออก เนื่องจากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต 3 ขอใช้พื้นที่เป็นที่ตั้งหมวดตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 314 เนื้อที่ประมาณ 280ไร่ ตามพระราชกฤษฎีกา เพิกถอนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม ในปี พ.ศ. 2523 ต่อมาได้ผนวกพื้นที่เพิ่มเติมในปี พ.ศ.2535 รวมเป็นเนื้อที่ประมาณ 140,845 ไร่ ซึ่งก็ยังมีพื้นที่ที่หมาะสมที่จะควรผนวกเข้าเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอีก โดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2538 รวมเป็นเนื้อที่ประมาณ 153,200 ไร่ อยู่ในท้องที่ตำบลโดมประดิษฐ์ ตำบลสีวิเชียร อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

ลักษณะภูมิประเทศ

ภูมิประเทศประกอบไปด้วยเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน ยอดที่สูงที่สุดคือยอดโดม ความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 180 - 770 เมตร มีที่ราบบนยอดเขาบ้างแต่ไม่กว้างมากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นที่ลาดซึ่งมีป่าดงดิบขึ้นอยู่ทั่วไป สลับกับทุ่งหญ้า มีลักษณะเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารแหล่งหนึ่งของแม่น้ำมูล ลำห้วยสายหลัก คือ ลำโดมใหญ่ หินที่มีส่วนใหญ่เป็นหินทราย

ลักษณะภูมิอากาศ

เนื่องจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดมนี้ ลักษณะส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบและอยู่ใกล้กับชายแดนประเทศลาวและเขมร ซึ่งป่าตามชายแดนของประเทศทั้งสองก็มีลักษณะเป็นป่าดงดิบ เช่นกัน ดังนั้นป่าบริเวณนี้ จึงมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ แม้กระทั่งฤดูแล้งก็ไม่แห้งมากนัก และในฤดูฝนฝนจะตกชุก โดยแบ่งสภาพอากาศออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ระหว่างช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ฤดูฝนระหว่างช่วงเดือนมิถุนายน - ตุลาคม ฤดูหนาว ระหว่างช่วงเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์

ชนิดป่าและพรรณไม้

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดมมีลักษณะป่าประกอบไปด้วยป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และทุ่งหญ้า โดยที่ส่วนของเชิงเขาจะเป็นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง บริเวณยอดเขาสลับไปด้วยป่าดิบเขา ป่าดิบแล้งและทุ่งหญ้าตามบริเวณทุ่งหญ้านั้นมีหญ้าขึ้นอยู่หลายชนิด มีไม้ดอกขึ้นอยู่สวยงามมากพันธุ์ไม้ในป่าที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ชิงชัน กะบาก พยูง เต็ง รัง เหียง พยอม เก็ดแดง เก็ดดำ แดง ประดู่ เคี่ยมคะนอง สมอ หว้า ก่อ มะยมป่า ชมภู่ป่า ตะแบก เหมือด ไทร มะค่า กะโดน ส้าน พลอง เขล็ง เสลา มะกอก ไม้ที่ขึ้นเป็นพื้น ได้แก่ นนทรี คาง ตีนนก ยาง ตะเคียน มะขามป้อม มะม่วงป่า ไม้พื้นล่างได้แก่ ไผ่ต่าง ๆ หวาย ว่านต่าง ๆ กล้วยไม้ หญ้าต่าง ๆ มอส เฟิร์น

สัตว์ป่า

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมี เลียงผา หมี กวาง กระทิง เสือโคร่ง เสือดาว เสือปลา แมวป่า เม่น เก้ง หมูป่า หมาป่า หมูหริ่ง ลิ่น ลิง ค่าง ชะนี ลิงลม กระต่ายป่า ชะมด อีเห็น และคาดว่ายังมีกูปรีอาศัยอยู่ด้วย เพราะเป็นแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติของสัตว์ชนิดนี้
สัตว์ป่าพวกนกต่าง ๆ มีนกหลายชนิด ชนิดที่สำคัญคือ นกเป็ดก่า สัตว์เลื้อยคลานมี เต่า เห่าช้าง และงูประเภทต่าง ๆ

จุดเด่นที่น่าสนใจ

แก้งลำดวน วังเวิน วังฮี โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่วังฮีมีรูปรอยแกะสลักบนก้อนหินเป็นรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ แหล่งโบราณคดีภูอ่างเป็นภาพแกะสลักและภาพเขียนสีบนผนังเพิงผาบริเวณภูอ่าง

การเดินทาง

การเดินทางไปเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม เดินทางทั้งทางรถยนต์และเครื่องบิน
ทางรถยนต์ เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปตามเส้นทางหลวงผ่านสระบุรีจนถึงนครราชสีมา เมื่อถึงนครราชสีมาแล้วจะสามารถเดินทางได้สองทางคือ
1. ตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๒ ผ่านจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ถึงอุบลราชธานี เดินทางต่อผ่านอำเภอวารินชำราบ อำเภอเดชอุดม ถึงอำเภอน้ำยืน จากนั้นไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๒๒๔๘ ระหว่างอำเภอน้ำยืน-อำเภอนาจะหลวย อีกประมาณ ๑๕ กม. ถึงบ้านหนองขอน จากบ้านหนองขอนเข้าไปอีกประมาณ ๒.๕ กม. ถึงสำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม
2. เมื่อถึงนครราชสีมาแล้วเดินทางตามทางหลวงหมายเลข ๒๔ สายโชคชัย-เดชอุดม ผ่านอำเภอหนองกี่ อำเภอนางรอง อำเภอประโดนชัย (จังหวัดบุรีรัมย์) และผ่านท้องที่อำเภอปราสาท อำเภอสังขะ (จังหวัดสุรินทร์) อำเภอขุขันธ์ อำเภอขุนหาญ และอำเภอกันทรลักษณ์ (จังหวัดศรีสะเกษ) แล้วผ่านเข้าไปอำเภอกันทรลักษณ์ ตามทางหลวงหมายเลข ๒๒๑ ถึงอำเภอน้ำยืน (จังหวัดอุบลราชธานี)

การติดต่อ

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม ตู้ ปณ. ๑๐ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี


น้ำตกแสงจันทร์หรือน้ำตกลงรู จังหวัดอุบลราชธานี

น้ำตกลงรู ธารน้ำบนลานหินทรายหลากไหลชั่วนาตาปี มีธรรมชาติเป็น ตัวกำหนดให้ พลังแห่งสายน้ำ ทำงานของมันไปในวัฏจักร แห่งกาลเวลา ความหมายของ สายน้ำบนลานหินทรายนี้ อาจไม่มีเรื่องราวแปลกประหลาด หากไร้ซึ่งก้อน กรวดทราย ที่พลังน้ำพัดเหวี่ยงหมุนวน สร้างหลุมกุมภลักษณ์ขึ้น ที่เหนือเพิงผา ใครจะเชื่อว่า หลุมกุมภลักษณ์ที่ทะลุ เพดานถ้ำจะกลาย เป็นสายน้ำที่ลอดทะลุลงมา เรียกขานว่า น้ำตกลงรู คู่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม

วันเวลาที่แนะนำ น้ำตกลงรูสามารถเที่ยวชมได้ตลอดทั้งปี แต่ฤดูที่มีน้ำสวยงามคือช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน

การเดินทาง จาก อ.โขงเจียม ใช้ทางหลวงหมายเลข 2134 แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2112 ที่มุ่งสู่ อ.เขมราฐ ระหว่างทางจะผ่านน้ำตกแสงจันทร์ หรือน้ำตกลงรูที่ต้องแยกขวาเข้าไปอีกเล็กน้อย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน ททท. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2 โทร. 0-4524-377


กุ้งเดินขบวน : มหัศจรรย์แห่งแก่งลำดวน

กุ้งเดินขบวนอยู่ที่ไหน?

กุ้งเดินขบวนอยู่บริเวณลานพันรู น้ำตกแก่งลำดวน ซึ่งอยู่ในพื้นที่ดูแลรับผิดชอบของสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า อุบลราชธานี ตั้งอยู่ที่ ม.5 บ้านหนองขอน ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

กุ้งมาเดินขบวนทำไม?

เนื่องจากกุ้งเป็นสัตว์น้ำ รับยีนต์(Gene) และแรงผลักดันจากพ่อ/แม่ ให้เดินทางกลับสู่ต้นน้ำอันเป็นบ้านเกิด เพื่อมาสืบพันธุ์และวางไข่
การที่กุ้งเหล่านี้มาเดินบนพลาญหิน ลานพันรู มีสาเหตุมาจากการที่จะเดินทางมายังแหล่งต้นน้ำ ที่เป็นบ้านเกิด บนยอดเขาพนมดงรัก มันต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆมากมาย นี่ก็เป็นบนพิสูจน์อีกอย่างหนึ่งคือ การเดินทางผ่านน้ำตกแก่งลำดวน ซึ่งมีกระแสน้ำไหลเชี่ยว จำเป็นต้องหลบความรุนแรงของกระแสน้ำ โดยการขึ้นมาเดินบนโขดหิน จนกลายเป็นเหตุการณ์ที่เห็นแล้วทึ่งดังกล่าว

กุ้งจะเดินขบวนช่วงเดือนไหน?

ช่วงฤดูน้ำหลากคือกลางเดือนสิงหาคมจนถึงสิ้นเดือนกันยายน ขึ้นอยู่กับระดับน้ำและความเชี่ยวของกระแสน้ำบริเวณน้ำตกแก่งลำดวน โดยจะขึ้นมาเดินบนพลาญหิน ลานพันรู อย่างน่ามหัศจรรย์ ในเวลากลางคืน เวลาประมาณ 09.00 น.-04.00 น.ของอีกวันหนึ่ง

กุ้งอะไร? ที่มาเดินขบวน

กุ้งชนิดที่มาเดินขบวนที่น้ำตกแห่งนี้คือ กุ้งฝอย จัดว่าเป็นกุ้งน้ำจืดขนาดเล็ก มักอยู่รวมกันเป็นฝูง อาศัยตามผิวน้ำริมตลิ่ง แหล่งน้ำต่างๆ ชอบกินจุลินทรีย์และสัตว์น้ำขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 2-7 ซม.

น้ำตกแก่งลำดวน

น้ำตกแก่งลำดวน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผู้นิยมมาเที่ยวมากอีกแห่งหนึ่ง มีความสวยงามของแก่งหิน และรูหิน มีความใสสะอาดของลำน้ำลำโดมใหญ่ สามารถเล่นน้ำตกได้เกือบทั้งปี ยกเว้นช่วงกุ้งเดินขบวน เนื่องจากน้ำมากและกระแสน้ำเชี่ยว จัดได้ว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของอำเภอน้ำ ยืน จังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากน้ำตกแก่งลำดวน เป็นแก่งหินที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากร ธรรมชาติ มีเกาะแก่งที่สวยงามกลางลำโดมใหญ่ ถึง 3 เกาะ

การเดินทาง

จากจังหวัดอุบลราชธานี เดินทางตามทางหลวงแผ่นดินที่ 24 ไปถึงอำเภอเดชอุดม แล้วเดินทางต่อไปทางเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2192 ไปทางอำเภอน้ำยืน ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดิน 2171เลี้ยวซ้ายไปเส้นทางไปอำเภอน้ำยืน ก่อนถึงตัวอำเภอน้ำยืน พบทางแยก ทางหลวงหมายเลข 2248 ให้เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางไปอำเภอนาจะหลวย ประมาณ 16 กม. จะถึงหมู่บ้านหนองขอน ให้ตรงเข้าไปยังสถานีพัฒนาและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าอุบลราชธานี และตรงไปยังน้ำตกแก่งลำดวน ระยะทางประมาณ 2.5 กม. การคมนาคมสะดวกรถยนต์ส่วนบุคลเข้าถึงสถานที่ได้โดยสะดวก

สถานที่ติดต่อ

สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าอุบลราชธานี ตู้ ปณ 10 บ้านหนองขอน อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี โทร 0-1977-9902


ข้อมูลงานประเพณี : แหล่งช้อปปิ้ง - ของฝาก จ.อุบลราชธานี

เทศกาลและงานประเพณี
งานแห่เทียนพรรษา เป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี จัดให้มีขึ้นทุกปีในวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา สถานที่จัดคือบริเวณทุ่งศรีเมืองและศาลาจตุรมุข มีการประกวดต้นเทียน 2 ประเภท คือประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก โดยขบวนแห่จากคุ้มวัดต่างๆ พร้อมนางฟ้าประจำต้นเทียนจะเคลื่อนขบวนจากหน้าวัดศรีอุบลรัตนารามไปตามถนนมาสิ้นสุดขบวนที่ทุ่งศรีเมือง ในตอนกลางคืนจะมีมหรสพและการแสดงสมโภชต้นเทียนและเห็นแสงไฟต้องลำเทียนงามอร่ามไปทั้งงาน
งานประเพณีมหาสงกรานต์แก่งสะพือ ในเดือนเมษายนของทุกปี ทางเทศบาลพิบูลมังสาหาร กำหนดจัดงานประเพณีสงกรานต์แก่งสะพือขึ้นเป็นประจำ ในงานนอกจากจะมีการประกวดธิดาสงกรานต์แล้ว ยังมีการออกร้านจำหน่ายสินค้าของภาคเอกชน มีการละเล่นกีฬาพื้นเมือง และการประกวดการเล่นดนตรีพื้นบ้านอีสานอีกด้วย
งานเทศกาลไม้ดอกไม้ประดับ จัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ บริเวณสนามกีฬาทุ่งคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบ กิจกรรมที่น่าสนใจ คือ ขบวนรถบุปผชาติ การประกวดและจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับ
งานประเพณีไหลเรือไฟ จัดขึ้นในช่วงวันออกพรรษา (ประมาณเดือนตุลาคม) บริเวณเชิงสะพานรัตนโกสินทร์ 200 ปี มีกิจกรรมที่น่าสนใจคือ การไหลเรือไฟของคุ้มวัดต่างๆ
งานแข่งขันเรือยาวประเพณี ตามลำน้ำมูลในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ในช่วงหลังจากเสร็จสิ้นงานบุญประเพณีออกพรรษา (ประมาณเดือนตุลาคม) แล้วมีการจัดแข่งขันเรือยาวประเพณีขึ้นหลายแห่ง และที่จัดขึ้นประจำได้แก่ เทศบาลเมืองอุบลฯ จัดขึ้นบริเวณสะพานรัตนโกสินทร์ 200 ปี เทศบาลตำบลพิบูลมังสาหาร จัดขึ้นบริเวณเชิงสะพานข้ามแม่น้ำมูล วัดโพธิ์ตาก อำเภอพิบูลมังสาหาร จัดขึ้นบริเวณหน้าวัด

ช้อปปิ้ง - สินค้าพื้นเมือง
สินค้าพื้นเมืองประเภทของใช้ ได้แก่ ผ้าฝ้ายทอมือ หมอนขิต ผ้าขาวม้า ผ้าไหม เครื่องทองเหลือง เครื่องจักสานจำพวกกระด้ง กระติ๊บข้าว ข้องใส่ปลา ตะกร้า นักท่องเที่ยวสามารถหาซื้อได้จากร้านขายของที่ระลึก บริเวณถนนเขื่อนธานี ใกล้กับโรงแรมราชธานี หรือจากบริเวณตลาดในตัวเมือง
ประเภทอาหาร ได้แก่ หมูยอ กุนเชียง ไส้กรอกอีสาน และเค็มหมากนัด ซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอุบลราชธานี ทำด้วยเนื้อปลาสวายหรือปลาเทโพ หั่นเป็นชิ้นยาวๆ ดองในน้ำเกลือและเนื้อสับปะรดที่ซอยเป็นชิ้นเล็กๆ บรรจุในขวดแก้ว สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่าง เช่น อาหารประเภทหลน มีจำหน่ายทั่วไปในตัวเมือง

ร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง
เกตุแก้ว ถ.ราชบุตร ข้างโรงแรมราชธานี โทร. 241067
ขอฝาก ถ.พโลชัย เยื้องโรงแรมบดินทร์ โทร. 254698
แค้มป์ ถ.เทพโยธี โทร. 241821
คำปุน ถ.ราชบุตร หน้าตลาดใหญ่ ริมแม่น้ำมูล โทร. 255701
จิตต์สวัสดิ์จิวเวอรี่ ถ.พโลรังฤทธิ์ โทร. 255090
ดาวทองหมูยอ ถ.ศรีณรงค์ โทร. 255131
ไส้กรอกนวลปรางค์ ถ.พโลชัย ข้างโรงพยาบาลเซ็นทรัล โทร. 255356
ฝ้ายเข็น ถ.สรรพสิทธิ์ ใกล้สี่แยกแขวงการทาง โทร. 241686-7
พันชาติ ถ.ราชบุตร โทร. 243433
มิตรหญิง ถ.พโลรังฤทธิ์ โทร. 241585
แม่ฮายหมูยอ ถ.ศรีณรงค์ โทร. 254763
ใยบัว ถ.สรรพสิทธิ์ ข้างวัดแจ้ง โทร. 263999
วัฒนศิลป์เครื่องเงิน ถ.ราชบุตร โทร. 255661
อุบลหมูยอ ถ.เขื่อนธานี โทร. 25495


หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ : ประชาสัมพันธ์จังหวัดอุบลราชธานี โทร. 0 4524 4875
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 0 4524 5505, 1155
ตำรวจทางหลวง โทร. 0 4531 3220
ท่าอากาศยานอุบลราชธานี โทร. 0 4524 4073
สถานีขนส่งแห่งที่ 1 โทร. 0 4524 4450
สถานีขนส่งแห่งที่ 2 โทร. 0 4531 5346
โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ โทร. 0 4524 4470
โรงพยาบาลราชเวช โทร. 0 4528 0048
โรงพยาบาลอุบลรักษ์ โทร. 0 4526 6300
โรงพยาบาลเซ็นทรัลเมโมเรียล โทร. 0 4525 4721
สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานี โทร. 0 4525 5505, 0 4525 4218
สถานีรถไฟอุบลราชธานี โทร. 0 4532 1004