00:32

จังหวัดอุดรธานี

" น้ำตกจากสันภูพาน อุทยานแห่งธรรมะ อารยธรรมห้าพันปี ธานีผ้าหมี่-ขิด
แดนเนรมิตรหนองประจักษ์ เลิศลักษณ์กล้วยไม้หอม อุดรซันไชน์ "

http://www.udonthani.com/images/tng1.JPG
จังหวัดอุดรธานี

ข้อมูลทั่วไป

อุดรธานี เป็นจังหวัดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคมและการท่องเที่ยวทางภาคตะวันออก เฉียงเหนือของประเทศไทย และยังเป็นดินแดนที่มีอารยธรรมเก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและมีหัตถกรรมผ้าขิตที่มีชื่อ เสียงอีกด้วย

อาณาเขตการปกครอง

จังหวัดอุดรธานีมีเนื้อที่ประมาณ 11,730 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 20 อำเภอ คือ อำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอหนองวัวซอ อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านผือ อำเภอบ้านดุง อำเภอกุมภวาปี อำเภอโนนสะอาด อำเภอเพ็ญ อำเภอน้ำโสม อำเภอกุดจับ อำเภอศรีธาตุ อำเภอวังสามหมอ อำเภอทุ่งฝน อำเภอสร้างคอม อำเภอไชยวาน อำเภอหนองแสง อำเภอนายูง อำเภอพิบูลย์รักษ์ อำเภอกู่แก้ว และอำเภอประจักษ์ศิลปาคม

ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดหนองคาย
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดขอนแก่นและกาฬสินธุ์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดสกลนคร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดเลย และหนองบัวลำภู

การเดินทาง

ทางรถยนต์

จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงสระบุรี บริเวณกิโลเมตรที่ 107 แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านนครราชสีมา ขอนแก่น ถึงอุดรธานี รวมระยะทางประมาณ 564 กิโลเมตร

ทางรถไฟ

การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดบริการรถไฟวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-อุดรธานี ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2220 4334, 0 2 223 7010, 0 2223 7020 www.railway.co.th

ทางรถโดยสารประจำทาง

มีบริการรถโดยสารทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-อุดรธานีทุกวัน รถออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร (หมอชิต 2) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 0 2936-2852–66 และที่สถานี ขนส่งอุดรธานี โทร. 0 4222 1489 www.transport.co.th

ทางเครื่องบิน

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ให้บริการเครื่องบินระหว่าง กรุงเทพฯ-อุดรธานีทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1566,0 2628 2000 www.thaiairways.com และ สายการบินนกแอร์ เปิดบริการเที่ยวบินไปจังหวัดอุดรธานีทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 1318 www.nokair.co.th และสายการบินแอร์ เอเชีย โทร. 0 2515 9999 www.airasia.com นอกจากนี้ยังมีสายการบินไทเกอร์ แอร์เวย์ที่เดินจากสิงคโปร์มายังจังหวัดอุดรธานี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0 2351 8333 www.tigerairways.com

การเดินทางจากอุดรธานีไปยังจังหวัดใกล้เคียง

หนองบัวลำภู 46 กิโลเมตร
หนองคาย 51 กิโลเมตร
ขอนแก่น 115 กิโลเมตร
เลย 152 กิโลเมตร
สกลนคร 159 กิโลเมตร
กาฬสินธุ์ 192 กิโลเมตร

นอกจากนี้ ยังมีรถโดยสารประจำทางเดินทางไปจังหวัดใกล้เคียงคือ จังหวัดหนองคาย เลย ขอนแก่น หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม อุบลราชธานี พิษณุโลก เชียงใหม่ เชียงราย ระยอง เป็นต้น ซึ่งจะออกทุก ๆ 30-40 นาที

การเดินทางจากอำเภอเมืองอุดรธานีไปยังอำเภอต่าง ๆ

อำเภอเมือง - กิโลเมตร
อำเภอกุดจับ 24 กิโลเมตร
อำเภอหนองหาน 35 กิโลเมตร
อำเภอหนองแสง 35 กิโลเมตร
อำเภอประจักษ์ศิลปาคม 36 กิโลเมตร
อำเภอหนองวัวซอ 39 กิโลเมตร
อำเภอกุมภวาปี 43 กิโลเมตร
อำเภอเพ็ญ 43 กิโลเมตร
อำเภอพิบูลย์รักษ์ 50 กิโลเมตร
อำเภอโนนสะอาด 53 กิโลเมตร
อำเภอบ้านผือ 55 กิโลเมตร
กิ่งอำเภอกู่แก้ว 61 กิโลเมตร
อำเภอไชยวาน 62 กิโลเมตร
อำเภอทุ่งฝน 65 กิโลเมตร
อำเภอสร้างคอม 68 กิโลเมตร
อำเภอศรีธาตุ 72 กิโลเมตร
อำเภอบ้านดุง 84 กิโลเมตร
อำเภอวังสามหมอ 96 กิโลเมตร
อำเภอน้ำโสม 110 กิโลเมตร
อำเภอนายูง 129 กิโลเมตร

แผนที่จังหวัดอุดรธานี

แผนที่ตัวเมืองอุดรธานี


ข้อมูลท่องเที่ยว อำเภอเมือ

หนองประจักษ์ศิลปาคม
อยู่ในเขตเทศบาลเมืองอุดรธานี หนองประจักษ์เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีมาตั้งแต่ก่อนตั้งเมืองอุดรธานี เดิมเรียกว่า “หนองนาเกลือ” ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมือง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “หนองประจักษ์” เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่ พล.ต. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ทรงก่อตั้งเมืองอุดรธานี ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 เทศบาลเมืองอุดรธานี ได้ทำการปรับปรุงหนองประจักษ์ขึ้นใหม่ เพื่อถวายเป็นราชสักการะแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ โดยบริเวณตัวเกาะกลางน้ำได้จัดทำสวนหย่อมปลูกไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิด และทำสะพานเชื่อมระหว่างเกาะมีน้ำพุ หอนาฬิกา และสวนเด็กเล่น แต่ละวันจะมีประชาชนเข้าไปพักผ่อนและออกกำลังกายกันเป็นจำนวนมาก ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จะมีพระตำหนักหนองประจักษ์ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวรัชกาลปัจจุบัน

วัดโพธิสมภรณ์
ตั้งอยู่ที่ตำบลหมากแข้ง เป็นวัดที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ ปลายรัชกาลที่ 5 โดยมหาอำมาตย์ตรีพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ เนติโพธิ) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร ได้ชักชวนราษฎรในหมู่บ้านหมากแข้งสร้างวัด ซึ่งชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดใหม่ ต่อมา พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ได้ทรงประทานนามว่า “วัดโพธิสมภรณ์” ให้เป็นอนุสรณ์แก่พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตรผู้สร้างวัดนี้

วัดมัชฌิมาวาส
ตั้งอยู่ที่ตำบลหมากแข้ง เดิมเคยเป็นวัดร้างมาก่อน ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดเดิมหรือวัดเก่า ในวิหารเล็กๆ ภายในวัดมีพระพุทธรูปหินสีขาวปางนาคปรกประดิษฐานอยู่ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อนาค” เป็นที่เคารพสักการะของชาวอุดรธานีมาก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมได้โปรดให้สร้างวัดขึ้น ที่วัดร้างโนนหมากแข้ง และให้ชื่อว่า “วัดมัชฌิมาวาส”

ศาลเจ้าปู่-ย่า
ตั้งอยู่หลังสถานีรถไฟใกล้ตลาดหนองบัว เป็นศาลเจ้าของชาวจีนที่ใหญ่โตและสวยงาม มีสวนหย่อมริมหนองบัว บรรยากาศร่มรื่นเหมาะแก่การท่องเที่ยวและพักผ่อน และในศาลเจ้าปู่-ย่าแห่งนี้ ยังมีมังกรทองยาวถึง 99 เมตร ซึ่งใช้แสดงโชว์ในงานทุ่งศรีเมืองในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี

สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์
ตั้งอยู่ที่ซอยกมลวัฒนา ถนนรอบอุดร-หนองสำโรง จากตัวเมืองใช้เส้นทางหมายเลข 2 (อุดรธานี-หนองคาย) ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร เลยแยกถนนเลี่ยงเมืองไปเล็กน้อย ทางซ้ายมือจะมีทางแยกเข้าหนองสำโรง และเห็นป้ายบอกทางเข้าสวนกล้วยไม้ทางด้านซ้ายมือ สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ เป็นสวนกล้วยไม้ที่ผลิตกล้วยไม้กลิ่นหอมพันธุ์ใหม่ของไทย ซึ่งใช้เวลาในการค้นคว้าและผสมพันธุ์ถึง 10 ปีเศษ ชื่อพันธุ์ Udon Sunshine หรือพันธุ์นางสาวอุดรซันไฌน์ ซึ่งมีการนำไปสกัดทำน้ำหอมในชื่อเดียวกัน ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. (042) 242475

วัดบ้านตาด
ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านตาด เดินทางออกจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 2 อุดรธานี-ขอนแก่น ถึงบริเวณสี่แยกบ้านคงเค็ง แล้วแยกขวาเข้าไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณวัดที่อยู่เลยจากชุมชนบ้านตาดไม่ไกลเท่าใดนัก สภาพโดยทั่วไปของวัดนี้มีลักษณะเป็นพื้นที่ป่าบนโคกเนินที่ล้อมรอบด้วยกำแพง คอนกรีต มีพื้นที่ทั้งหมดราว 163 ไร่ มีประตูเข้าออกเป็นประตูใหญ่อยู่บริเวณด้านหน้าของวัด การจะเข้าไปในวัดต้องขออนุญาตท่านเจ้าอาวาสเสียก่อน กำแพงล้อมรอบบริเวณวัดนอกจากมีจุดประสงค์ที่จะให้แสดงเขตแน่นอนของวัดแล้ว ยังป้องกันอันตรายให้กับสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าของวัดอีกด้วย เพราะในบริเวณวัดมีสัตว์ป่าชุกชุมมาก ทั้งไก่ฟ้า ไก่ป่า นก กระรอก กระแต หมูป่า วัดบ้านตาดเป็นที่พำนักของพระอาจารย์มหาบัวญาณสัมปันโน พระอาจารย์วิปัสสนาสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพระที่มีปฏิปทา เป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป ภายในวัดนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการไปปฏิบัติธรรมเท่านั้น

หมู่บ้านนาข่า
อยู่ในเขตอำเภอเมือง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 16 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายอุดรธานี-หนองคาย (ทางหลวงหมายเลข 2) หมู่บ้านอยู่ทางขวามือ ตรงข้ามโรงเรียนชุมชนนาข่า เป็นหมู่บ้านที่มีการทอผ้าขิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าขิตในราคาย่อมเยา

บ้านถ่อน
เป็นหมู่บ้านที่มีการทอผ้าขิตและผ้าฝ้ายยกดอกลวดลายสวยงาม การเดินทางไปหมู่บ้านถ่อน ใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (อุดรธานี-หนองคาย) ไป 16 กิโลเมตร จะมีทางแยกขวามือเป็นทางลูกรังเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร

อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง
อยู่บนเส้นทางหลวงแผ่นดินสายอุดรธานี-เลย ตรงกิโลเมตรที่ 15 แล้วแยกเข้าไปอีก 10 กิโลเมตร เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ อยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พื้นที่อ่างเก็บน้ำประมาณ 20,000 ไร่ สามารถกักเก็บน้ำได้ 113 ล้านลูกบาศก์เมตร และส่งน้ำเพื่อการเกษตรได้จำนวน 86,000 ไร่ เป็นอ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตร การประมง การจ่ายน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีภูมิประเทศที่สวยงาม เหมาะสำหรับการล่องแพ ตกปลา และนั่งเรือเล่น ปัจจุบันทางราชการได้สร้างพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราช ชนนี ซึ่งเสด็จฯ มาประทับเกือบทุกปี

อ.อื่นๆ

อำเภอบ้านผือ
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้ง อยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3,430 ไร่ ในเขตบ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดระยะทางประมาณ 67 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 2 (อุดรธานี-หนองคาย) บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 13 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2021 ไปทางอำเภอบ้านผือ ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตรแยกขวาประมาณ 500 เมตร และตรงไปตามเส้นทางหมายเลข 2348 อีกประมาณ 12 กิโลเมตร มีแยกขวาเป็นทางเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร ภายในบริเวณอุทยานฯทางด้านขวามือเป็นที่ตั้งของศูนย์บริการนักท่องเที่ยว สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดและข้อมูลของอุทยานฯ รวมทั้งแผนที่และเส้นทางเพื่อความสะดวกในการเที่ยวชมอุทยานประวัติศาสตร์ภู พระบาท เปิดบริการเวลา 08.00-16.30 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทนี้เป็นที่ตั้งของสถานที่ซึ่งแสดงถึง อารยธรรมของมนุษย์ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศ ซึ่งมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นหินทรายที่ถูกขัดเกลาจากขบวนการกัดกร่อนทาง ธรรมชาติทำให้เกิดเป็นโขดหินน้อยใหญ่รูปร่างต่างๆกัน ปรากฏเป็นหลักฐานเกี่ยวกับชีวิตผู้คนในอดีตที่น่าสนใจหลายแห่ง อาทิ
พระพุทธบาทบัวบก ตั้งอยู่บริเวณทางแยกซ้ายมือก่อนถึงที่ทำการอุทยานฯ สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2463-2477 คำว่า "บัวบก" เป็นชื่อของพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามป่า มีหัวและใบคล้ายใบบัว ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ผักหนอก บัวบกนี้คงจะมีอยู่มากในบริเวณที่พบรอยพระพุทธบาท จึงเรียกรอยพระพุทธบาทนี้ว่า "พระพุทธบาทบัวบก" หรือคำว่าบัวบกอาจจะมาจากคำว่า บ่บก ซึ่งหมายถึง ไม่แห้งแล้ง รอยพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ 60 เซนติเมตร ลงไปในพื้นหินยาว 1.93 เมตร กว้าง 90 เซนติเมตร เดิมมีการก่อมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2465 พระอาจารย์ศรีทัตย์ สุวรรณมาโจ ได้รื้อมณฑปเก่าออกแล้วสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นใหม่ และยังสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองวางทับรอยพระพุทธบาทเดิมไว้ ภายในพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตัวองค์เจดีย์เป็นทรงบัวเหลี่ยมคล้ายองค์พระธาตุพนม มีงานนมัสการพระพุทธบาทบัวบกในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
พระพุทธบาทหลังเต่า ตั้ง อยู่ทางทิศใต้ของพระพุทธบาทบัวบก มีลักษณะเป็นรอยพระบาทสลักลึกลงไปในพื้นหิน ลึกประมาณ 25 เซนติเมตร ใจกลางพระบาทสลักเป็นรูปดอกบัว กลีบแหลมนูนขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัดและเนื่องจากพระพุทธบาทแห่งนี้อยู่ใกล้กับ เพิงหินธรรมชาติรูปร่างคล้ายเต่า จึงได้ชื่อว่า “พระพุทธบาทหลังเต่า”

ถ้ำ และเพิงหินต่าง ๆ ตั้งกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณอุทยานฯ แห่งนี้ นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมได้ในระยะทางไม่ไกลนัก ได้แก่ ถ้ำลายมือ ถ้ำโนนสาวเอ้ ถ้ำคน ถ้ำวัวแดง (ซึ่งถ้ำเหล่านี้สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นที่พำนักของมนุษย์สมัยหินและมนุษย์ เหล่านั้นได้เขียนรูปต่างๆ ไว้ เช่น รูปคน รูปมือ รูปสัตว์ และรูปรายเรขาคณิต) นอกจากนั้นยังมีลานหินที่สวยงาม คือ ลานหินโนนสาวเอ้ ธรรมชาติได้สร้างเพิงหินต่างๆ ไว้ ทำให้มนุษย์รุ่นหลังๆ ได้จินตนาการผูกเป็นเรื่องตำนานพื้นบ้าน คือ เรื่อง “นางอุสา-ท้าวบารส” เพิงหินที่สวยงามเหล่านี้ ได้แก่ คอกม้าท้าวบารส หอนางอุสา บ่อน้ำนางอุสา นอกจากนั้นยังพบชิ้นส่วนหลักเสมาและหินทรายจำหลัก พระพุทธรูปศิลปะสมัยทวาราวดี ที่เพิงหินวัดพ่อตาและเพิงหินวัดลูกเขย
พระพุทธบาทบัวบาน ตั้ง อยู่บนเนินเขาในเขตตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองอันเก่าแก่และมีการขุดค้นพบใบเสมาที่ทำด้วย หินเป็นจำนวนมากใบเสมาเหล่านี้สลักเป็นรูปบุคคล ศิลปะทวาราวดี

อำเภอน้ำโสม
วนอุทยานนายูงน้ำโสม มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจคือ น้ำตกยูงทอง ตั้งอยู่บ้านสว่าง หมู่ที่ 2 ตำบลนายูง อำเภอน้ำโสม เป็นน้ำตกตั้งอยู่บนสันเขาภูพานและภูย่าอูมีลำน้ำไหลผ่านโขดหินสลับซับซ้อน สวยงามท่ามกลางความเขียวขจีของแมกไม้นานาพรรณ น้ำตกยูงทองเป็นน้ำตกขนาดเล็ก มี 3 ชั้น อยู่ห่างจากตัวเมืองอุดรธานีประมาณ 103 กิโลเมตร การเดินทางจากตัวเมืองอุดรธานี ผ่านเข้าอำเภอบ้านผือและอำเภอน้ำโสม เมื่อถึงอำเภอน้ำโสมจะมีทางแยกจากหมู่บ้านน้ำซึมต่อไปอีกประมาณ 17 กิโลเมตร ก็จะถึงทางแยกไปวนอุทยานฯ ซึ่งเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางของ รพช. ตลอดสายและมีสภาพดี

อำเภอหนองหาน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง ตั้งอยู่ที่บ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ตั้งอยู่ทางด้านขวาของทางเข้า อยู่ในบริเวณวัดโพธิ์ศรีใน เป็นพิพิธภัณฑ์เปิดที่เป็นแหล่งโบราณคดีแห่งแรกในประเทศไทย เป็นนิทรรศการถาวร ซึ่งแสดงขั้นตอนการขุดค้นทางโบราณคดีที่ยังคงลักษณะของศิลปวัตถุที่พบตามชั้นดิน เพื่อให้ผู้เข้าชมได้ศึกษาถึงการขุดค้นทางโบราณคดีและโบราณวัตถุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาชนะเผาที่ฝังรวมกับศพ

ส่วน ที่ 2 ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของทางเข้า เป็นอาคารที่จัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องราวและวัฒนธรรมของบ้านเชียงในอดีตตลอดจน เครื่องมือเครื่องใช้ที่แสดงถึงเทคโนโลยีในสมัยโบราณ รวมทั้งโบราณวัตถุและนิทรรศการบ้านเชียงที่เคยจัดแสดง ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนั้น ภายในบริเวณอาคารส่วนที่ 2 ยังมีห้องนิทรรศการ ห้องบรรยาย ฉายภาพยนตร์ ภาพนิ่ง และการให้บริการการศึกษาต่างๆ การเดินทางไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียงนั้นสะดวกมาก เนื่องจากอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 55 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 22 (อุดรธานี-สกลนคร) ตรงกิโลเมตรที่ 50 ก็จะถึงปากทางเข้าบ้านปูลู จะเห็นป้ายบอกทางไปพิพิธภัณฑ์ทางด้านซ้ายมือ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2225 อีกประมาณ 6 กิโลเมตร ก็จะถึงพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.30 น. ค่าเข้าชมชาวไทยคนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศ คนละ 30 บาท

อำเภอหนองแสง
อุทยานธารงาม ตั้งอยู่ในเขตบ้านทับกุง ตำบลทับกุง ตามเส้นทางหมายเลข 2 (อุดรธานี-ขอนแก่น) ระยะทางประมาณ 55 กิโลเมตร จะมีด้านขวามือไปสู่อำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร ก็จะเข้าสู่เขตอุทยานธารงาม บริเวณอุทยานธารงามมีเนื้อที่ประมาณ 130 ตารางกิโลเมตร ประกอบไปด้วยธรรมชาติอันสวยงาม มีลานหินที่กว้างใหญ่ ถ้ำและน้ำตกหลายแห่ง เช่น น้ำตกตาดมะค่า น้ำตกวังตาดแพ ถ้ำมักเกิ้น ถ้ำมักควน แหลสะอาด (ลานหิน) แหลตากผ้า ฯลฯ ซึ่งแต่ละแห่งมีความสวยงามแตกต่างกันออกไป

อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม จังหวัดอุดรธานี

ในปี 2518 นายสุรชาติ ชำนาญศิลป์ กำนันตำบลนายูง อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ได้มีหนังสือเสนอกรมป่าไม้ว่า ได้ร่วมกับหัวหน้าหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ อด.2 สำรวจพื้นที่ป่าในท้องที่ตำบลนายูง ในเขตเทือกเขาภูพานแล้วปรากฏว่า มีสภาพทั่วไปคล้ายคลึงกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชลบุรี ผิดแผกก็เฉพาะบนสันเขาของตำบลนายูงนี้มีความสวยงาม และน้ำตกสวยงามกว่ามาก เหมาะที่จะปรับปรุงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ กรมป่าไม้จึงให้กองบำรุงส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจหาข้อมูลดังกล่าว ปรากฏว่า ป่าตำบลนายูงแห่งนี้อยู่ในเขต ป่าโครงการไม้กระยาเลยนายูง (อด.25) ตอนที่ 10 อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ยังไม่เคยมีการทำไม้มาก่อน มีความสวยงามพอสมควร เห็นควรจัดเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในรูปของวนอุทยาน กรมป่าไม้จึงได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2518 โดยอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานป่าไม้จังหวัดอุดรธานี
เนื่องจากบริเวณป่าที่ดำเนินการจัดตั้งเป็นวนอุทยานยังไม่ได้มีการสำรวจ พื้นที่โดยละเอียด กรมป่าไม้จึงได้ให้สำนักงานป่าไม้เขตอุดรธานีไปดำเนินการ ปรากฏว่า วนอุทยานนายูง-น้ำโสมอยู่ในเขตป่าโครงการไม้กระยาเลยกลางใหญ่ (อด.26) ตอนที่ 7 และตอนที่ 8 เขตอำเภอผือ จังหวัดอุดรธานี และป่าโครงการไม้กระยาเลยนายูง (อด.25) ตอนที่ 10 ตำบลนายูง อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาตินายูง-น้ำโสม มีเนื้อที่ประมาณ 20.98 ตารางกิโลเมตร จนถึงปี พ.ศ. 2528 ได้โอนงานวนอุทยานนายูง-น้ำโสมให้สำนักงานป่าไม้เขตอุดรธานีเป็นผู้ดูแล ถึงปี พ.ศ. 2532 จึงโอนงานให้อยู่ในความดูแลของกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้
ต่อมากรมป่าไม้ได้รับรายงานจากสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติว่า วนอุทยานนายูง-น้ำโสม และบริเวณพื้นที่ป่าใกล้เคียง ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์บางส่วนของป่าสงวนแห่งชาติป่าพรานพร้าว-แก้งไก้ ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูเขาแก้ว-ดงปากชม และป่าสงวนแห่งชาติป่านายูง-น้ำโสม จังหวัดอุดรธานี เนื้อที่รวมประมาณ 215,000 ไร่ มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีสภาพธรรมชาติที่สวยงาม เหมาะแก่การศึกษาท่องเที่ยวของประชาชนทั่วไป สมควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่งให้หัวหน้าวนอุทยานนายูง-น้ำโสม ไปดำเนินการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสมต่อไป

ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม เป็นพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี เลย และหนองคาย มีสภาพภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงชันสลับซับซ้อนที่ความสูงจากระดับน้ำ ทะเลประมาณ 200-500 เมตร ภูเขาที่สูงที่สุดคือ ภูย่าอู่ สูงประมาณ 588 เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่ยังอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ เช่น ห้วยน้ำโสม ห้วยตาดโตน ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทรายตามป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณและดิน ลูกรังตามป่าเต็งรัง หินที่พบในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินทราย

ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม ฤดูร้อนอากาศร้อนมาก อุณหภูมิประมาณ 40 oC ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ฤดูฝนระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม และฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อากาศหนาวเย็น อุณหภูมิประมาณ 10-20 oC ปริมาณน้ำฝนตลอดปีประมาณ 1,000-1,500 มิลลิเมตร

พรรณไม้และสัตว์ป่า
สภาพป่าเป็นป่าเต็งรังกระจายตามเชิงเขาและสันเขา พันธุ์ไม้สำคัญคือ เต็ง รัง เหียง พลวง ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นหญ้าเพ็ก กระเจียว ตามหุบเขาเป็นป่าเบญจพรรณ มีชิงชัน แดง ประดู่ มะค่าแต้ และไผ่หลายชนิด เช่น ไผ่ซาง ไผ่ข้าวหลาม ไผ่ไร่ ไผ่ป่า ตามริมห้วยเป็นป่าดิบแล้ง พบยาง กระบาก ตะเคียน ตะแบก มะค่าโมง ฯลฯ พืชอิงอาศัยจะมีกล้วยไม้ต่างๆ และเฟินกระเช้าสีดา ขึ้นเกาะอยู่ตามคาคบไม้อยู่มากมาย พืชพื้นล่างเป็นพวกหวาย ปาล์ม สมุนไพรต่างๆ
สัตว์ป่าที่พบเห็นได้แก่ หมูป่า เก้ง กระจง ลิง ค่าง กระรอก ตะกวด งู และนกชนิดต่างๆ ส่วนสัตว์ป่าขนาดใหญ่ เช่น กวางป่า เสือ ช้างป่า หมีควาย ถูกล่าหมดไปแล้ว สัตว์ป่าที่เหลือก็อยู่ในสถานภาพถูกคุกคาม เนื่องจากราษฎรรอบพื้นที่ยังมีการล่าสัตว์อยู่เป็นประจำ

แหล่งท่องเที่ยว
น้ำตกยูงทอง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 500 เมตร มีความสวยงามมากในช่วงน้ำหลากในฤดูฝน ลักษณะเป็นน้ำตกที่ไหลลงมาจาหน้าผาชันสูงราว 25 เมตร มีแอ่งน้ำกว้างลงเล่นน้ำได้ ในอดีตเป็นแหล่งอาศัยและหากินของนกยูง จนเป็นที่มาของชื่อ ยูงทอง
จุดชมทิวทัศน์ผาแดง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 1,500 เมตร ตามเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกยูงทอง เป็นหน้าผาหินทรายที่สูงชัน มองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามเบื้องล่างได้กว้างไกล ใกล้กับผาแดงมีหลืบถ้ำเล็กๆ ที่เคยเป็นที่วิปัสสนากรรมฐานของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกยูงทอง เป็นทางเดินเท้าเพื่อศึกษาธรรมชาติที่อุทยานแห่งชาติจัดทำขึ้นเพื่อสื่อความหมายธรรมชาติแก่ผู้มาเยือน โดยได้จัดทำสื่อบรรยายลักษณะทางธรรมชาติตามเส้นทางเป็นระยะ ผ่านน้ำตกยูงทอง น้ำตกตาดน้อย จุดชมทิวทัศน์ผาแดง สภาพป่าเต็งรังที่สวยงาม และกลับถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทาง 2,000 เมตร
น้ำตกธารทิพย์ หรือ น้ำตกตาดหมอก เป็นน้ำตกที่อยู่ในเขตจังหวัดหนองคาย อยู่ติดกับแม่น้ำโขง

บ้านพักและสิ่งอำนวยความสะดวก
อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม ไม่มีบ้านพักให้บริการ หากมีความประสงค์จะไปพักแรมเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ หรือศึกษาหาความรู้ทางธรรมชาติ โปรดนำเต็นท์ไปกางเอง สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

การเดินทาง
รถยนต์ จากจังหวัดอุดรธานีไปตามทางหลวงสายอุดรธานี-หนองคาย 15 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายผ่านอำเภอบ้านผือ ไปทางอำเภอน้ำโสม ก่อนถึงอำเภอน้ำโสม 12 กิโลเมตร เลี้ยวขวาที่บ้านสามเหลี่ยมไปทางอำเภอนายูง ประมาณ 15 กิโลเมตร ถึงบ้านสว่างเลี้ยวขวาตรงป้ายอุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม 2 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทางจากอุดรธานี 110 กิโลเมตร

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม หมู่ 2 บ้านสว่าง ตำบลนายูง อ.นายูง จ.อุดรธานี 41380 อีเมล : nayung_np@dnp.go.th

วนอุทยานน้ำตกธารงาม จังหวัดอุดรธานี

วนอุทยานน้ำตกธารงาม อยู่ในเขตป่าขุนห้วยสามพาด-ขุนห้วยกองสี อยู่ในท้องที่ตำบลหนองแสง กิ่งอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี มีเนื้อที่ประมาณ 78,125 ไร่ โดยกรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2527

ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นภูเขาสูงชันและเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน โดยแยกตัวเป็นพืดยาวติดต่อกันออกไปทางทิศเหนือ พื้นที่มีความลาดชันสูงและค่อนข้างราบบนสันเขา มีลำธารหลายสายไหลลงสู่ห้วยสามพาด ห้วยน้ำฆ้องและห้วยกองสี เฉพาะที่ห้วยวังกุ่มเป็นป่าทึบและรกชัฏ ทิศใต้ของพื้นที่เป็นพะลานหินชื่อ “แหลสะอาด”

ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของวนอุทยานน้ำตกธารงามแบ่งได้ 3 ฤดู คือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
เป็นป่าดงดิบและป่าเต็ง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ประดู่ นนทรี มะค่าโมง มะค่าแต้ เต็งดง ยาง เต็ง รัง เป็นต้น และไม้พื้นล่างได้แก่ไผ่ต่างๆ หวาย กล้วยไม้เกาะหิน เฟิร์น และต้นข้าวสาร
สัตว์ป่าที่พบได้แก่ หมูป่า เก้ง กระจง ลิง ชะนี ค่าง บ่าง อีเห็น และนกชนิดต่างๆ

บ้านพักและสิ่งอำนวยความสะดวก
วนอุทยานน้ำตกธารงาม ไม่มีบ้านพักไว้บริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะเดินทางไปพักแรม โปรดนำเต็นท์ไปกางเอง แล้วไปติดต่อขออนุญาตกับหัวหน้าวนอุทยานน้ำตกธารงามโดยตรง หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายจัดการวนอุทยาน สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ 10900

แหล่งท่องเที่ยว
ห้วยวังกุ่ม ที่ห้วยวังกุ่มซึ่งไหลลงห้วยน้ำฆ้องจะมีน้ำตกธารงามมีน้ำไหลเกือบตลอดปี เหนือน้ำตกธารงามตามลำห้วยขึ้นไปจนถึงขุนจะเป็นโขดหิน หน้าผาและถ้ำที่สวยงามและแปลกตา ด้านทิศใต้ของพื้นที่เป็นพะลานหินชาวบ้านเรียกแหลชื่อ”แหลสะอาด” ซึ่งเป็นแหลขนาดใหญ่ ณ จุดนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์เบื้องล่างได้สวยงามและกว้างไกล

การเดินทาง
รถยนต์ การเดินทางไปวนอุทยานน้ำตกธารงาม อยู่ห่างจากตัวกิ่งอำเภอเพียง 6 กิโลเมตรเศษ เท่านั้นและมีถนนไปถึงวนอุทยานน้ำตกธารงาม 3 เส้นทางดังนี้
เส้นทางอุดร-บ้านเหล่า-โคกลาด-กิ่งอำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร
เส้นทางอุดร-คำกลิ้ง-บ้านตาด-กิ่งอำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร
เส้นทางอุดร-ห้วยเกิ้ง-กิ่งอำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร

สถานที่ติดต่อ
วนอุทยานน้ำตกธารงาม สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 (อุดรธานี) อ.หนองแสง จ.อุดรธานี

วนอุทยานนายูง-น้ำโสม จังหวัดอุดรธานี

วนอุทยานนายูง-น้ำโสม อยู่ในเขตป่าโครงการไม้กระยาเลยกลางใหญ่ ตอนที่ 7 และตอนที่ 8 เขตอำเภอผือ จังหวัดอุดรธานี และป่าโครงการไม้กระยาเลยนายูง ตอนที่ 10 ตำบลนายูง อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาตินายูง-น้ำโสม มีเนื้อที่ประมาณ 13,112 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2518
ลักษณะภูมิประเทศ
บริเวณป่านายูง-น้ำโสมตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน ทางตอนเหนือเป็นหน้าผาสูงชัน มีโขดหินสลับซับซ้อนห่างจากหน้าผาเข้าไปประมาณ 700 เมตร มีน้ำตกยูงทองตั้งอยู่ ทางตอนกลางของพื้นที่ เป็นยอดเขาสูงชัน มีน้ำซับไหลตลอดปี สามารถมองเห็นทิวทัศน์เบื้องล่างได้สวยงาม

ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม ฤดูร้อนอากาศร้อนมาก อุณหภูมิประมาณ 40 องศา-เซลเซียส เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงตุลาคม และฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ อากาศหนาวเย็น อุณหภูมิประมาณ 10-20 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนตลอดปีประมาณ 1,000-1,500 เมตร

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
สภาพป่าโดยทั่วไป เป็นป่าเต็งรังกระจายตามเชิงเขาและสันเขา พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง มีไม้พื้นล่างได้แก่ หญ้าเพ็ก กระเจียว ตามหุบเขาเป็นป่าเบญจพรรณ พันธ์ไม้ที่พบได้แก่ ชิงชัน ประดู่ แดง มะค่าแต้ และไผ่ชนิดต่างๆ
สัตว์ป่าที่พบได้แก่ เลียงผา เก้ง อีเห็น ชะมด ชะนี ลิง ค่าง หมูป่า กระจง กระรอก ตะกวด งู และนกชนิดต่างๆ ส่วนสัตว์ป่าขนาดใหญ่ เช่น กวาง เสือ ช้าง หมีควาย ถูกล่าหมดไปแล้ว

บ้านพักและสิ่งอำนวยความสะดวก
วนอุทยานนายูง-น้ำโสม ไม่มีบ้านพักบริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะไปพักแรม โปรดนำเต็นท์ไปกางเอง แล้วไปติดต่อขออนุญาตใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่วนอุทยานนายูง-น้ำโสมโดยตรง หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายจัดการวนอุทยาน สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ 10900

แหล่งท่องเที่ยว
จุดชมวิวผาแดง อยู่ห่างจากที่ทำการวนอุทยานนายูง-น้ำโสม ประมาณ 1,500 เมตร ตามเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกยูงทอง เป็นหน้าผาหินทรายที่สูงชัน มองเห็น ทิวทัศน์ที่สวยงามเบื้องล่างได้กว้างไกล ใกล้กับผาแดงมีหลืบถ้ำเล็กๆที่เคยเป็นที่ วิปัสสนากรรมฐานของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกยูงทอง เป็นเส้นทางเดินเพื่อศึกษาธรรมชาติที่วนอุทยานนายูง-น้ำโสม จัดทำขึ้นเพื่อสื่อความหมายธรรมชาติแก่นักท่องเที่ยวตามเส้นทางเป็นระยะผ่าน น้ำตกยูงทอง น้ำตกตาดน้อย จุดชมวิวผาแดงและกลับถึงที่ทำการรวมระยะทาง 2 กิโลเมตร
น้ำตกยูงทอง อยู่ห่างจากที่ทำการวนอุทยานนายูง-น้ำโสม 500 เมตร มีความสวยงามมากในช่วงน้ำหลากในฤดูฝน มีแอ่งน้ำกว้างลงเล่นน้ำได้ ในอดีตเป็นแหล่งอาศัยและหากินของนกยูงจนเป็นที่มาของชื่อยูงทอง

การเดินทาง
รถยนต์ จากจังหวัดอุดรธานีไปตามทางหลวงสายอุดรธานี-หนองคาย 15 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายผ่านอำเภอบ้านผือไปทางอำเภอน้ำโสม ก่อนถึงอำเภอน้ำโสม 12 กิโลเมตร เลี้ยวขวาที่บ้านสามเหลี่ยมไปทางอำเภอนายูง 15 กิโลเมตร ถึงบ้านสว่างแล้วเลี้ยวขวาตรงป้ายวนอุทยานนายูง-น้ำโสม 2 กิโลเมตร ก็จะถึงวนอุทยานนายูง-น้ำโสม

สถานที่ติดต่อ
วนอุทยานนายูง-น้ำโสม สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 (อุดรธานี) ต.นายูง อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี 41000

วนอุทยานภูพระบาทบัวบก จังหวัดอุดรธานี

วนอุทยานภูพระบาทบัวบก อยู่ในท้องที่ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขือน้ำ มีเนื้อที่ประมาณ 8,125 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2539

ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นเทือกเขาขนาดเล็กขนานกับเทือกเขาภูพาน ด้านทิศตะวันตกเป็นหน้าผาสูงชัน มองเห็นทิวทัศน์ได้สวยงาม บางส่วนเป็นลานหินและโขดหินน้อยใหญ่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300 - 400 เมตร

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
พบป่า 3 ชนิด คือ ป่าเต็งรัง พบบริเวณเชิงเขา แต่ค่อนข้างสมบูรณ์ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง มะขามป้อม
ป่าเบญจพรรณ ปกคลุมพื้นที่บริเวณส่วนใหญ่ที่เป็นที่ราบ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ประดู่ แดง เหียง เต็ง รัง ตะแบก ส้าน ซ้อ มะม่วงป่า กะบาก ยอป่า
ป่าดิบแล้ง อยู่ในบริเวณรอยต่อตามร่องเขาและรอยต่อพื้นที่กับเทือกเขาภูพาน พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ มะค่าโมง ประดู่ ตะเคียนหิน ไทร เป็นต้น
สัตว์ป่าที่พบได้แก่ ลิง บ่าง นางอาย ไก่ป่า ตุ่น ตะกวด กระรอก และชาวบ้านเคยพบหมูป่าในบริเวณที่มีป่าหนาทึบ และนกชนิดต่าง ๆ ที่พอพบเห็นได้ในปัจจุบัน

บ้านพักและสิ่งอำนวยความสะดวก
วนอุทยานภูพระบาทบัวบกไม่มีบ้านพักบริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะเดินทางไปพักแรม โปรดนำเต็นท์ไปกางเองทางวนอุทยานได้จัดสถานที่ไว้ให้พร้อมกับห้องสุขา โปรดเตรียมอาหารไปเองแล้วไปติดต่อขออนุญาตกับเจ้าหน้าที่วนอุทยานภูพระบาทบัวบกโดยตรง หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 5614292 ต่อ 719 ฝ่ายจัดการวนอุทยาน สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช จตุจักร กรุงเทพ ฯ 10900 หรือสำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 จังหวัดอุดรธานี โทร. (042)- 221725 ในวันและเวลาราชการ

แหล่งท่องเที่ยว
โบราณสถานประกอบไปด้วยเจดีย์ ถ้ำฝ่ามือแดง เนินหินหีบศพ ซึ่งบริเวณโบราณสถานแห่งนี้ กรมศิลปากรได้ขอใช้พื้นที่เพื่อควบคุมดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขือน้ำ เป็นเนื้อที่ประมาณ 3,430 ไร่ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 ตอนที่ 63 วันที่ 28 เมษายน 2524

การเดินทาง
รถยนต์ เดินทางจากจังหวัดอุดรธานีถึงอำเภอบ้านผือประมาณ 42 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางและแยกไปภูพระบาทบัวบกอีก 11 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางเช่นเดียวกัน

สถานที่ติดต่อ
วนอุทยานภูพระบาทบัวบก สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 (อุดรธานี) อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

วนอุทยานวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี

วนอุทยานวังสามหมอ อยู่ในท้องที่ตำบลหนองกุงทับม้า อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่ามะยาว-ป่าหัวนาคำ-ป่าหนองกุงทับม้า-ป่านายูงและ ป่าหนองหญ้าไซ มีเนื้อที่ประมาณ 18,750 ไร่ โดยกรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2527

ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบ มีห้วยลำพันชาติซึ่งเป็นลำห้วยขนาดใหญ่มีน้ำไหลตลอดปี มีเกาะแก่งและโขดหิน วังน้ำหลายแห่งเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ด้วยปลานานาชนิด บางตอนเป็นหน้าผาสูงเลียบขนานกับห้วยลำพันชาติ

ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพอากาศของวนอุทยานวังสามหมอแบ่งได้ 3 ฤดู คือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
พบป่าเต็งรังเป็นส่วนใหญ่ มีป่าเบญจพรรณขึ้นปะปนบ้าง มีพันธุ์ไม้ขึ้นพอสมควร เป็นต้นไม้ขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง แดง ประดู่ มะค่าโมง ชิงชัน ตีนนก ส้าน รกฟ้า ตะแบก ยอป่า กะบาก ยาง ตะเคียนหิน ตะเคียนทอง ไม้พื้นล่าง ได้แก่ หวาย ข่าป่า ปรง สาบเสือ หญ้าเพ็ก ไผ่โจด ไผ่ไร่ ดอกไม้ป่า เป็นต้น
สัตว์ป่า ปัจจุบันเหลือแต่สัตว์ขนาดเล็ก ได้แก่ ชะมด อีเห็น กระรอก กระแต บ่าง หมูป่า ตะกวด นกชนิดต่างๆ

บ้านพักและสิ่งอำนวยความสะดวก
วนอุทยานวังสามหมอ ไม่มีบ้านพักบริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะเดินทางไปพักแรม โปรดนำเต็นท์ไปกางเอง แล้วไปติดต่อขออนุญาตกับหัวหน้าวนอุทยานวังสามหมอโดยตรงหรือติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายจัดการวนอุทยาน สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ 10900

แหล่งท่องเที่ยว
วังใหญ่
เป็นวังน้ำขนาดใหญ่ มีห้วยลำพันชาติไหลผ่าน กว้างประมาณ 40 เมตร ยาวประมาณ 300 เมตร มีโขดหิน แก่งหิน ร่มรื่น มีทิวทัศน์สวยงาม
แก่งมนน้อย อยู่ห่างจากวังใหญ่ประมาณ 800 เมตร จะพบเกาะแก่งโขดหินซึ่งเกิดจากการกัดเซาะของน้ำกลายเป็นแก่ง
แก่งหินฮอม จากแก่งมนน้อยไปอีกประมาณ 100 เมตร จะเป็นแก่งหินขนาดใหญ่ต่างระดับเป็นวงล้อม ทำให้เกิดเป็นตาดน้ำตกขึ้น ช่วงฤดูฝนถ้ามีน้ำไหลหลากมากจะเกิดเสียงดังก้องไปไกล

การเดินทาง
รถยนต์ การเดินทางไปวนอุทยานวังสามหมอ มีทางดินลูกรังแยกจากถนนลาดยาง สายอำเภอกุมภวาปี-อำเภอศรีธาตุ อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ระหว่างอำเภอวังสามหมอไปอำเภอนิคมน้ำอูน-อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ระหว่างตำบลหนองกุงทับม้าจะมีทางแยกขวามือไปวนอุทยานวังสามหมอ 9 กิโลเมตร

วนอุทยานวังสามหมอ
สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 (อุดรธานี) อ.วังสามหมอ จ.อุดรธานี

ข้อมูลงานประเพณี : ของฝาก ของที่ระลึก จังหวัดอุดรธานี

งานนมัสการพระพุทธบาทบัวบก จัดในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ภายในงานจะมีการออกร้านจำหน่ายสินค้า และผลิตภัณฑ์พื้นเมือง ประชาชนจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดใกล้เคียงต่างมาร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก
งานทุ่งศรีเมืองอุดรธานี ประมาณเดือนธันวาคมของทุกปี ภายในงานจะมีการออกร้านจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์พื้นเมือง เช่น ผ้าไหม ผ้าทอลายขิด ผ้าทอมือ ผ้าหมี่ขิด และยังมีการแสดงโชว์มังกรทองจากศาลาเจ้าปู่-ย่าด้วย
ของฝากเมืองอุดร ผ้าพื้นเมืองลายขิด ผ้าไหม เครื่องปั้นดินเผา กุนเชียง หมูหยอง หมูยอ แหนม และมะพร้าวแก้ว

ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก (รหัสทางไกล 042)
บุญมาไหมไทย 89 สี่แยกบิ๊กซี โทร.342221
ใบหม่อน 146 ซ.มหามิตร ถ.ทหาร โทร. 244011
พระธรรมขันต์ 183 ถ.หมากแข้ง โทร.221154
มะพร้าวแก้วจันทร์เพ็ญ ถ.ประจักษ์ โทร.246516
มะพร้าวแก้วเรวดี 123/1 ถ.ประจักษ์ โทร.242498
เลดี้อาเขต 201 ถ.โพศรี โทร.222839
หมูยอนายเติม 324/5-6 ถ.โพศรี โทร.223835
หมูยอพรทิพย์ 331 ถ.หมากแข้ง โทร.223407
หมูยอแม่อ้วน 11/12 ถ.สร้างหลวง โทร.246305
แหนมปริญญา 287/2 ถ.โพศรี โทร. 221262
ไหมไทย ถ.ศรีสุข โทร.245700

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 0 4222 2845
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 4222 3708
โรงพยาบาลจังหวัด โทร. 0 4224 4252–3
โรงพยาบาลปัญญาเวช โทร. 0 4234 3111
โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ โทร. 0 4234 1710
โรงพยาบาลเอกอุดร โทร. 0 4234 2555
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองอุดรธานี โทร. 0 4222 2285
สถานีรถไฟอุดรธานี โทร. 0 4222 2061
สถานีขนส่ง โทร. 0 4222 1489
สำนักงานจังหวัดอุดรธานี โทร. 0 4222 3304

0 ความคิดเห็น: