00:16

จังหวัดอำนาจเจริญ

" พระมงคลมิ่งเมือง แหล่งรุ่งเรืองเจ็ดลุ่มน้ำ งามล้ำถ้ำศักดิ์สิทธิ์ เทพนิมิตรพระเหล่า
เกาะแก่งเขาแสนสวย เลอค่าด้วยผ้าไหม ราษฎร์เลื่อมใส ใฝ่พุทธธรรม "


http://www.thailandhub.net/images/article/article2952551152358.jpg

พุทธอุทยานและพระมงคลมิ่งเมือง

ข้อมูลทั่วไป :

จังหวัดอำนาจเจริญ ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ โดยเส้นทางรถยนต์ประมาณ 568 กิโลเมตร มีพื้นที่การปกครองทั้งสิ้น 3,161.248 ตารางกิโลเมตร เริ่มตั้งเป็นเมืองในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยขึ้นอยู่กับนครเขมราฐ ต่อมาจึงได้ย้ายมาขึ้นต่อเมืองอุบลราชธานี จนกระทั่งได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2536

การเดินทาง :

การคมนาคมระหว่างกรุงเทพฯ และจังหวัดอำนาจเจริญสะดวกสบายทั้งทางรถยนต์ รถไฟ หรืออาจใช้ทางอากาศ โดยใช้บริการของสนามบินนานาชาติ ที่จังหวัดอุบลราชธานี

ทางรถยนต์
ใช้ ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) และทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 226 นครราชสีมา-สุรินทร์ และใช้ทางหลวงหมายเลข 214 สุรินทร์-อำเภอสุวรรณภูมิ แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 202 ผ่านจังหวัดยโสธร และอำเภอป่าติ้ว ถึงจังหวัดอำนาจเจริญ รวมระยะทาง 580 กิโลเมตร หรือสามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 1 และหมายเลข 2 จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 226 นครราชสีมา-อุบลราชธานี ถึงจังหวัดอุบลราชธานี แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 212 อุบลราชธานี-อำนาจเจริญ รวมเป็นระยะทาง 704 กิโลเมตร

ทางรถโดยสารประจำทาง
มีทั้งธรรมดาและปรับอากาศ ซึ่งเป็นรถโดยสารที่วิ่งระหว่าง กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี ออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 936-2852-66 จากนั้นใช้รถโดยสารประจำทางที่วิ่งระหว่างอุบลราชธานี-มุกดาหาร-ธาตุพนม ซึ่งจะผ่านจังหวัดอำนาจเจริญ มี 2 บริษัท คือ

- บริษัทสายัณห์เดินรถ จำกัด เป็นรถโดยสารธรรมดา มีเวลารถออกดังนี้คือ 06.00 น. 07.00 น. 09.00 น. 11.00 น. 12.00 น. และเวลา 13.00 น. ซื้อตั๋วและขึ้นรถได้ที่คิวรถตลาดบ้านดอนกลาง รายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ โทร. (045) 242163, 241820

- บริษัทสหมิตรทัวร์ เป็นรถโดยสารปรับอากาศ ซึ่งวิ่งระหว่างอุบลราชธานี-นครพนม มีเวลาออกดังนี้คือ 06.30 น. และเวลา 14.00 น. ซื้อตั๋วและขึ้นรถได้ที่ บริษัทสหมิตรทัวร์ ถนนเขื่อนธานี ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี

ทางรถไฟ
มี รถด่วนและรถเร็วทุกวัน ซึ่งเป็นรถไฟที่วิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี และยังมีรถธรรมดาจากนครราชสีมา-อุบลราชธานี และสุรินทร์-อุบลราชสีมา อีกด้วยจากนั้น ใช้รถโดยสารประจำทางที่วิ่งระหว่างอุบลราช ธานี-มุกดาหาร-ธาตุพนม หรือใช้รถประจำทางที่วิ่งระหวางอุบลราชธานี-นครพนม ก็ได้ รายละเอียดติดต่อสอบถามได้ที่หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 223-7010, 223-7020

ทางเครื่องบิน
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีเครื่องบินรับส่งผู้โดยสาร และพัสดุภัณฑ์ ระหว่างกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี และอุบลราชธานี-กรุงเทพฯ ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท การบินไทย จำกัด ถนนหลานหลวง โทร. 280-0060, 628-2000 อุบลราชธานี ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงานขายตั๋ว โทร. (045) 313340-43 หรือที่ทำการสนามบิน โทร. (045) 243037-38

อาณาเขต :

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดยโสธร ที่อำเภอเลิงนกทา และจังหวัดมุดาหาร ที่อำเภอดอนตาล
ทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาวตามแนวฝั่งแม่น้ำโขงด้าน อำเภอชานุมาน เป็นระยะทาง 38 กิโลเมตร และติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี ที่อำเภอ เขมราฐ อำเภอกุดข้าวปุ้น และอำเภอตระการพืชผล
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดยโสธร ที่อำเภอป่าติ้ว และอำเภอเลิงนกทา
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี ที่อำเภอเมือง อุบลราชธานี และอำเภอม่วงสามสิบ

อำนาจเจริญแบ่งการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ และ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอหัวตะพาน อำเภอพนา อำเภอเสนางคนิคม อำเภอชานุมาน อำเภอปทุมราชวงศา และกิ่งอำเภอลืออำนาจ

แผนที่จังหวัดอำนาจเจริญ

แผนที่ตัวเมืองอำนาจเจริญ

ที่เที่ยว

อ.เมือง

http://www.thailandhub.net/images/article/article2952551152358.jpg

พุทธอุทยานและพระมงคลมิ่งเมือง
ตั้งอยู่ที่เขาดานพระบาท ห่างจากตัวเมืองไปทางด้านเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร บริเวณวัดประกอบด้วย หินดานธรรมชาติร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด ซึ่งได้รับการปรับแต่งให้เป็น "พุทธอุทยาน" ส่วนพระมงคลมิ่งเมือง หรือพระใหญ่ ปางมารวิชัย องค์พระหน้าตักกว้าง 11 เมตร ความสูงจากระดับพื้นดินถึงยอดเปลวรัศมี 20 เมตร เป็นพระพุทธรูปที่ได้รับอิทธิพลสกุลศิลปอินเดียเหนือ (ปาละ) ที่แผ่อิทธิพลมายังภาคอีสานของไทย เมื่อพันปีเศษ ออกแบบโดย จิตร บัวบุศย์ โดยการก่อสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็กครอบ พระองค์เดิมซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นมีฐานกว้าง 8.4 เมตร ยาว 12.6 เมตร สูง 5.2 เมตร แล้วแต่งองค์พระด้านนอกด้วยกระเบื้องโมเสคสีทอง สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2508 เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดอุบลราชธานี พระมงคลมิ่งเมืองเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามประจำภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ทางด้านหลังของพระมงคลมิ่งเมืองมีพระพุทธรูปลักษณะแปลกอีก 2 องค์ ห่มจีวรเหลืองลออตา มีนามว่า "พระละฮาย" หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "พระขี่ล่าย" หมายถึง ไม่สวย ไม่งาม โดยเรียกตามรูปลักษณ์ขององค์พระพุทธรูปโบราณ พบในหนองน้ำเมื่อปี พ.ศ. 2505 ครั้งที่มีการปรับปรุงบริเวณโดยรอบเพื่อทำฝายกั้นน้ำ ถือกันว่าเป็นพระที่ให้โชคลาภ ชาวบ้านมักมาบนบานขอพรอยู่เสมอ

วัดถ้ำแสงเพชร หรือวัดศาลาพันห้อง

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_2_598.jpg http://www.southlaostour.com/images/column_1225107476/1225107784.jpg
ตั้งอยู่บนถนนสายอำนาจเจริญ-เขมราฐ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 18 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นวัดที่มีบริเวณกว้างขวาง ประกอบด้วย วิหารอยู่บนยอดเขาสูง ทางด้านทิศเหนือของวิหารมีถ้ำขนาดใหญ่ ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ "พระเหลาเทพนิมิตร" เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ประดิษฐานในพระอุโบสถ องค์พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ลงรักปิดทองงดงาม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2263 กล่าวกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในภาคอีสาน ซึ่งจัดอยู่ในพระพุทธรูปศิลปะลาวสกุลช่างเวียงจันทน์ ที่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปศิลปะล้านนา ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21-22 สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นหลังจากระยะเวลาดังกล่าวไปเล็กน้อย เนื่องจากมีอิทธิพลของฝีมือช่างท้องถิ่นปรากฏอยู่มากเป็นต้นว่าเค้าพระ พักตร์ เปลวรัศมีที่ยืดสูงขึ้น สัดส่วนของพระเพลา และพระบาทซึ่งคล้ายคลึงกับที่ปรากฏอยู่ในกลุ่มพระพุทธรูปไม้ และสำริด ที่สร้างขึ้นระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ 23 ถึงพุทธศตวรรษที่ 24

วัดไชยาติการาม
ตั้งอยู่ที่บ้านโพนเมือง ตำบลไม้กลอน วัดนี้มีพระพุทธรูปสำริดประทับขัดสมาธิราบปางมารวิชัยสูง 55 เซนติเมตร จัดอยู่ในกลุ่มพระพุทธรูปศิลปะลาวสกุลช่างเวียงจันทน์ เปรียบเทียบได้กับพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ระเบียงหอพระแก้วเมือง เวียงจันทน์ และพระพุทธรูปที่วัดวิชุล เมืองหลวงพระบาง ซึ่งมีอายุอยู่ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 22 ถึงพุทธศตวรรษที่ 23

แหล่งทอผ้าไหม
ตั้งอยู่ที่บ้านสร้อย ตำบลจานลาน เป็นหมู่บ้านที่ชาวบ้านรวมตัวกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์ทอผ้าไหม จัดเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน และเป็นอุตสาหกรรมแบบครบวงจร คือ ปลูกหม่อนเลี้ยงตัวไหมเอง ทอผ้าไหมเอง และจัดจำหน่ายผ้าไหมเองด้วย

อ.อื่นๆ

สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอชานุมาน

ทิวทัศน์ริมฝั่งโขง
เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอยู่บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอชานุมาน ในตอนเย็นทัศนียภาพทั้งสองฝากฝั่งไทย-ลาว สวยงามมาก เหมาะแก่การถ่ายภาพอาทิตย์ยามอัสดงเป็นอย่างยิ่ง

สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอเสนางคนิคม

อุทยานแห่งชาติภูสระบัว
เป็นอุทยานที่มีเนื้อที่อยู่บนแนวรอยต่อ 3 จังหวัด คือ อำเเภอนิคมคำสร้อย อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร อำเภอชานุมาน และอำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ มีเนื้อที่ 252 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 145,000 ไร่ สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ทอดตัวเป็นแนวยาวจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ลงสู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยป่าอันอุดมสมบูรณ์หลายชนิด พื้นที่หลายแห่งมีลานหินขนาดใหญ่ ซึ่งชาวท้องถิ่นเรียกว่า "ดาน" กระจายอยู่ตามป่า ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง กระจายอยู่ตามเทือกเขาต่างๆ บริเวณพื้นที่ป่าเหล่านี้ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่หลายชนิด โดยเฉพาะที่เทือกเขาภูสระบัว ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าขนาดใหญ่ และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแหล่งน้ำ สามารถพบสัตว์ป่าได้หลายชนิด เช่น เก้ง หมูป่า กระต่ายป่า ลิง บ่าง เม่น กระจง และสัตว์ปีกประเภทต่างๆ ได้แก่ ไก่ฟ้า ไก่ป่า เป็นต้น

อุทยานแห่งชาติภูสระบัว
http://www.onlinemoneyusd.ws/images/travel/Chiangrai/Phu-Chi-Fa-Chaing-Rai.jpg http://www.onlinemoneyusd.ws/images/travel/Nakhon-Si-Thammarat/Nakhon-Si-Thammarat-Province.jpg

ข้อมูลทั่วไป :

เป็นอุทยานที่มีเนื้อที่อยู่บนแนวรอยต่อ 3 จังหวัด คือ อำเเภอนิคมคำสร้อย อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร อำเภอชานุมาน และอำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ มีเนื้อที่ 252 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 145,000 ไร่

บริเวณเขตอุทยานฯ ประกอบด้วยทิวทัศน์ที่สวยงาม ความวิจิตรพิสดารของหินผามีความเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ตลอดจนร่องรอยของการต่อสู้อันเกิดจากความขัดแย้งทางการเมือง จึงทำให้พื้นที่แห่งนี้มีศักยภาพทางการท่องเที่ยว

การเดินทาง :

การเดินทางไปอุทยานฯ ภูสระบัว ใช้ทางหลวงหมายเลข 2277 สายอำเภอเลิงนกทา-อำเภอดอนตาล ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 24-26 ประมาณ 1 กิโลเมตร จากทางหลวงแผ่นดิน อยู่ห่างจากจังหวัดอำนาจเจริญประมาณ 60 กิโลเมตร ที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูสระบัว ตั้งอยู่ที่บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยหินข้อ หมู่ที่ 3 บ้านหนองเม็ก อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร

สิ่งอำนวยความสะดวก :

อุทยานแห่งชาติภูสระบัว ยังไม่มีที่พักบริการนักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์ที่จะค้างแรมในอุทยานฯ ขอให้เตรียมเต็นท์ไปเอง โดยติดต่อประสานงานกับอุทยานแห่งชาติฯโดยตรง สอบถามรายละเอียดที่กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 579-0529, 579-4842

ลักษณะภูมิประเทศ :

เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ทอดตัวเป็นแนวจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือลงสู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยป่าอันอุดมสมบูรณ์หลายชนิด พื้นที่หลายแห่งมีลานหินขนาดใหญ่ ชาวท้องถิ่นเรียกว่า "ดาน" กระจายอยู่ตามยอดเขาต่างๆ มียอดภูกระซะเป็นยอดสูงสุด สูงประมาณ 481 เมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนยอดอื่นๆมีความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 350-450 เมตรจากระดับน้ำทะเล พื้นที่แห่งนี้ยังเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำหลายสาย เช่น ห้วยทม ห้วยกบก ห้วยก้านเหลือง ห้วยลำกลาง ห้วยขี้เหล็ก ห้วยหินขัว ห้วยตูบ และห้วยไห เป็นต้น ลำห้วยเหล่านี้ไหลลงสู่พื้นราบรอบพื้นที่อุทยาน ที่ชาวท้องถิ่นใช้อุปโภคบริโภค และทำการเกษตรกรรม จากอดีตจนถึงปัจจุบัน

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :

ประกอบด้วยป่าอันอุดมสมบูรณ์หลายชนิด พื้นที่หลายแห่งมีลานหินขนาดใหญ่ ซึ่งชาวท้องถิ่นเรียกว่า "ดาน" กระจายอยู่ตามป่า ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง กระจายอยู่ตามเทือกเขาต่างๆ

บริเวณพื้นที่ป่าเหล่านี้ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่หลายชนิด โดยเฉพาะที่เทือกเขาภูสระบัว ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าขนาดใหญ่ และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแหล่งน้ำ สามารถพบสัตว์ป่าได้หลายชนิด เช่น เก้ง หมูป่า กระต่ายป่า ลิง บ่าง เม่น กระจง และสัตว์ปีกประเภทต่างๆ ได้แก่ ไก่ฟ้า ไก่ป่า เป็นต้น


จุดเด่นที่น่าสนใจ :

ภูผาแต้ม
เป็นหน้าผาประกอบด้วยรูปรอยฝ่ามือ และการเขียนสีโบราณก่อนประวัติศาสตร์ สันนิษบานว่าเป็นยุคเดียวกับภาพเขียนสีของอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบที่จังหวัด มุกดาหาร และอุทยานแห่งชาติผาแต้ม หน้าผามีลักษณะคล้ายถ้ำเพราะหินไหลเลื่อนลงมา ภาพเหล่านี้อยู่สูงจากพื้นถ้ำประมาณ 7-12 เมตร และถ้ำมีความยาวประมาณ 60 เมตร

ผามะเกลือ
จุดพักผ่อนหย่อนใจและที่ชมวิว อยู่ใกล้บริเวณภูผาแต้ม มีลักษณะเป็นลานหินใต้เพิงผา ร่มรื่นไปด้วยแมกไม้เหมาะสำหรับนั่งเล่นพักผ่อน

ลานหินบนภูวัด
เป็นแหล่งท่องเที่ยวของชาวท้องถิ่นโดยรอบภูผาแต้ม ในช่วงวันสงกรานต์และวันสำคัญทางศาสนา มีชาวบ้านมาชุมนุมกันเป็นจำนวนมาก

ภูผาหอม
เป็นจุดชมวิวที่สวยงามมากของเทือกเขาภูผาแต้ม จุดนี้สามารมองเห็นทิวทัศน์ได้ในระยะไกลออกไปทางทิศตะวันตก มีความสูงประมาณ 366 เมตร จากระดับน้ำทะเล ด้านหลังจะมองเห็นภูหมู ภูแผงม้า ภูไม้ซาง ภูซอง ภูอัครชาด

ในยามเย็นตรงจุดนี้มีนักท่องเที่ยวนิยมมาชมพระอาทิตย์อัสดง เพื่อเก็บภาพอันน่าประทับใจและพักค้างแรมกันมาก

ภูสระบัว
เป็นภูเขาที่มีความสูงประมาณ 423 เมตร บนรอยต่อเขต 3 จังหวัด ที่ยอดภูสระบัวมีแอ่งหินขนาดกว้างประมาณ 2-5 เมตร อยู่ 5-6 แห่ง มีน้ำขังตลอดปี มีบัวพันธุ์ต่างๆ ขนาดเล็กขึ้นอยู่เต็มสระ เมื่อออกดอกจะดูสวยงามมาก ชาวบ้านเล่ากันว่ามีบัวขึ้นอยู่อย่างนี้มานานแล้ว และเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จึงได้ชื่อว่า "ภูสระบัว" และบริเวณเดียวกันมีถ้ำขนาดใหญ่ เคยเป็นที่อยู่อาศัยของผู้ฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ สามารถจุคนได้ถึง 100 คน

ภูผาแตก
หรือชื่อยุทธการสงครามว่า "เนิน 420" ที่นี่มีจุดชมวิวที่มีองค์ประกอบทางธรรมชาติสวยงาม ทางด้านทิศเหนือสามารมองเห็นทิวเขาของอุทยานแห่งชาติมุดาหารในระยะไกลได้

ลานหินและป่าเต็งรังแคระ
พบได้ทั่วไปและมีอยู่มาก เป็นลานหินยาวและใหญ่ บางแห่งมีขนาด 20-40 ไร่ สลับกับป่าเต็งรังแคระ บางแห่งเป็นป่าเต็งรังสลับกับป่าหญ้าเพ็ก มองดูสวยงามมาก และพบได้หลายแห่ง เช่น ภูผาหอม หลังภูผาด่าง หลังภูผา ภูสระบัว ภูกบก ภูหัวนาค เป็นต้น



หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 045)

ททท.สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เขต 2 จ.อุบลราชธานี

243-770-1

ตำรวจท่องเที่ยว

1155

ตำรวจทางหลวง

451-656

สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง

512-007

ไปรษณีย์จังหวัด

451-495

สถานีขนส่งจังหวัด

511-018

รพ.อำนาจเจริญ

451-025 , 451-075

รพ.ชานุมาน

499-002

รพ.เสนางนิคม

461-008

รพ.พนา

486-003

0 ความคิดเห็น: