00:25

จังหวัดนครราชสีมา

" เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหินดินด่านเกวียน "

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/3/3a/ThaoSuranaree.jpg
อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี

นครราชสีมา หรือที่เรียกว่า “โคราช” เปรียบเสมือนประตูสู่ภาคอีสาน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 259 กิโลเมตร เป็นเมืองใหญ่บนดินแดนที่ราบสูง ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว ผู้มาเยือนจะเพลิดเพลินกับกิจกรรมท่องเที่ยวที่หลากหลายทั้งเดินป่าศึกษา ธรรมชาติ พักผ่อนหย่อนใจริมอ่างเก็บน้ำ ชื่นชมความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมขอมโบราณ และเรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้าน ทั้งยังได้อิ่มอร่อยกับอาหารอีสานต้นตำรับ ก่อนกลับยังได้ซื้อหาสินค้าเกษตรหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีให้เลือกอีกมากมาย

คำว่า นครราชสีมา เกิดจากการรวมชื่อเมืองโบราณสองเมือง คือ เมืองโคราชและเมืองเสมา ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอโนนสูง นครราชสีมาเคยเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณหลายแห่งตั้งแต่สมัยก่อนประวัติ ศาสตร์ จนถึงสมัยที่มีการเผยแพร่ของวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมแบบขอมเข้ามาในดิน แดนแถบนี้ เคยมีฐานะเป็นเมือง “เจ้าพระยามหานคร” เช่นเดียวกับเมืองนครศรีธรรมราชทางภาคใต้ มีอำนาจปกครองหัวเมืองน้อยใหญ่ในอีสานหลายแห่ง จนมาถึงปัจจุบันก็ยังคงความสำคัญอย่างต่อเนื่องในฐานะที่เป็นเมืองศูนย์กลาง ทางด้านคมนาคม เศรษฐกิจของภาคอีสาน

จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่ประมาณ 20,494 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 26 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครราชสีมา ปากช่อง สีคิ้ว สูงเนิน ขามทะเลสอ ด่านขุนทด โนนไทย โนนสูง ขามสะแกแสง พิมาย คงโนนแดง ประทาย ชุมพวง บัวใหญ่ แก้งสนามนาง บ้านเหลื่อม จักราช ห้วยแถลง ปักธงชัย โชคชัย ครบุรี เสิงสาง หนองบุนนาก วังน้ำเขียว เฉลิมพระเกียรติ และอีก 6 กิ่งอำเภอ คือ กิ่งอำเภอเมืองยาง เทพารักษ์ ลำทะเมนชัย พระทองคำ บัวลายและสีดา

อาณาเขต : ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดชัยภูมิ และขอนแก่น
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดนครนายก และปราจีนบุรี
ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดบุรีรัมย์
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดชัยภูมิ และสระบุรี


ที่เที่ยว

อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2476 ตั้งอยู่หน้าประตูชุมพล ซึ่งเป็นประตูเมืองเก่าทางด้านทิศตะวันตก อนุสาวรีย์หล่อด้วยทองแดงรมดำ สูง 1.85 เมตร หนัก 325 กิโลกรัม ประดิษฐานอยู่บนไพทีสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง สูง 2.5 เมตร แต่งการด้วยเครื่องยศพระราชทาน มือขวากุมดาบ ปลายดาบจรดพื้น มือซ้ายท้าวสะเอว หันหน้าไปทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงเทพฯ ฐานอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิของท้าวสุรนารี เป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดใกล้เคียง

ท้าวสุรนารี มีนามเดิมว่า คุณหญิงโม เป็นภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมา ท่านให้สร้างวีรกรรมไว้ให้แก่ประเทศชาติเมื่อ ปี พ.ศ. 2369 โดยสามารถรวบรวมชาวบ้านเข้าสู้รบและต่อต้านกองทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่ง เวียงจันทน์ ไม่ให้มาตีกรุงเทพฯ เป็นผลสำเร็จ พระบาmสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาคุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี และเพื่อเป็นการระลึกถึงคุณความดีของท่าน ชาวเมืองนครราชสีมาได้พร้อมใจกันจัดงานเฉลิมฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุ รนารีขึ้น ระหว่างวันที่ 23 มีนาคม ถึงวันที่ 3 เมษายน ของทุกปี

ประตูชุมพล
เป็นประตูเมืองด้านทิศตะวันตกของเมืองนครราชสีมา ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมืองนครราชสีมาในสมัยนั้นมีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ล้อมรอบด้วยคูน้ำและกำแพง มีประตูเมืองสี่ประตู ปัจจุบันคงเหลือเพียงประตูชุมพลทางด้านทิศตะวันตกที่เป็นประตูเดิม ส่วนอีกสามประตูอันได้แก่ ประตูพลแสนด้านทิศเหนือ ประตูพลล้านด้านทิศตะวันออก และประตูชัยณรงค์ด้านทิศใต้ ได้สร้างขึ้นใหม่แทนของเดิม

ศาลเจ้าหลักเมือง
ตั้งอยู่ที่ถนนจอมพล มุมวัดพระนารายณ์มหาราช เป็นที่ประดิษฐานหลักเมืองนครราชสีมา ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประจำจังหวัด ชาวเมืองทั้งชาวไทย และชาวจีน เคารพนับถือและไปสักการะบูชาเป็นประจำ

ศาลเจ้าหลักช้างเผือก
ตั่งอยู่ริมคูเมืองด้านทิศเหนือ ตรงมุมถนนมนัส ตัดกับถนนพลแสน ในอำเภอเมือง เป็นศาลเจ้าสร้างครอบหลักตะเคียนหิน ซึ่งเดิมเป็นหลักที่ชาวเมืองภูเขียว นำช้างเผือกมาผูกไว้ เพื่อให้พนักงานกรมคชบาลตรวจดูลักษณะช้าง ก่อนกราบทูลถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เพื่อทรงรับไว้เป็นพระราชพาหนะ

ศูนย์วัฒนธรรมสถาบันราชภัฏนครราชสีมา
ตั้งอยู่ในบริเวณสถาบัน ราชภัฏนครราชสีมา ถนนสุรนารายณ์ เป็นสถานที่รวบรวมภาพและประวัติโบราณสถาน ประวัติศาสตร์ รูปภาพศิลปะ ของใช้สมัยโบราณและเงินตราต่างๆเปิดให้ชมในวันและเวลาราชการ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์
ตั้งอยู่ในบริเวณวัดสุทธิจินดาตรงข้ามศาลากลางจังหวัด มีศิลปวัตถุทั้งที่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทธิจินดารวบรวมไว้ โบราณวัตถุที่กรมศิลปากรได้สำรวจขุดพบในเขตจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดใกล้เคียง และที่มีผู้บริจาค เช่น พระพุทธรูปศิลาสมัยขอม สมัยอยุธยา เครื่องเคลือบดินเผาขนาดต่างๆ พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ เครื่องใช้สมัยโบราณ ภาพไม้แกะสลักซึ่งนำมาจากวัดโบราณ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์, วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00-16.00 น. อัตราค่าเข้าชม คนไทย คนละ 5 บาท ชาวต่างประเทศ คนละ 20 บาท

วัดเก่าแก่ของเมืองโคราช
ได้แก่ วัดบูรพ์ วัดอีสาน วัดพายัพ ตั้งอยู่ในตัวเมืองเก่า ณ ทิศตามชื่อวัด วัดกลางอยู่กลางเมือง ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชื่อ วัดพระนารายณ์มหาราช นอกจากนี้ยังมีวัดสระแก้ว วัดบึงอยู่ริมบึงใหญ่ วัดแจ้ง วัดสมอราย และวัดสามัคคี วัดทั้งหมดนี้เป็นวัดโบราณคู่บ้านคู่เมืองสมัยเริ่มสร้างเมืองโคราช ทุกวัดอยู่ในเขตอำเภอเมือง เป็นที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยวที่นิยมชมของโบราณ

วัดศาลาลอย
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมือง ทางเข้าแยกจากถนนรอบเมืองเข้าไปประมาณ 500 เมตร อยู่ติดกับลำตะคอง ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำมูล มีพระอุโบสถเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี และพระอุโบสถหลังใหม่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2510 เป็นลักษณะศิลปะไทยประยุกต์ โดยสร้างเป็นรูปสำเภาโต้คลื่น ใช้วัสดุพื้นเมือง คือใช้กระเบื้องดินเผาด่านเกวียน วัดนี้ได้รับรางวัลดีเด่นแนวบุกเบิกอาคารทางศาสนา จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และรางวัลจากมูลนิธิเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป ในปี พ.ศ. 2516

วัดศาลาทอง
ตั้งอยู่ที่ตำบลหัวทะเล ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว 1 กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งบรรจุอยู่ในพระเจดีย์องค์เล็ก ปัจจุบันได้ก่อพระเจดีย์ใหญ่ครอบองค์เดิมไว้

วัดป่าสาละวัน
อยู่หลังสถานีรถไฟนครราชสีมา เป็นวัดที่เก็บพระอัฐิธาตุของอาจารย์เสา อาจารย์มั่น และอาจารย์ทิม

อนุสาวรีย์สถานนางสาวบุญเหลือ
ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ ตำบลโคกสูง อำเภอเมือง ห่างจากตัวเมือง 12.5 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายนครราชสีมา-ชัยภูมิ ชาวนครราชสีมาได้ร่วมสร้างขึ้น และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2529 เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของนางสาวบุญเหลือและเหล่าบรรพบุรุษของชาวนครราชสีมา ที่ได้พลีชีพเพื่อปกป้องชาติเมื่อครั้งวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ในปี พ.ศ. 2369 นับเป็นอนุสรณ์สถานอีกแห่งหนึ่งที่ชาวนครราชสีมาให้ความเคารพสักการะเป็น อย่างสูง

ปราสาทหินพนมวัน
ตั้งอยู่ที่บ้านมะค่า ตำบลโพธิ์ เดินทางไปตามถนนสายโคราช-ขอนแก่น ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร จะมีทางแยกขวาไปตามทางราดยางอีก 5 กิโลเมตร เป็นโบราณสถานสมัยขอม สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เพื่อเป็นเทวสถาน ต่อมาภายหลังดัดแปลงเป็นพุทธสถานตัวปราสาทหินพนมวัน สร้างเป็นปรางค์มีฉนวน (ทางเดิน) ติดต่อกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมยาว 25.50 เมตร กว้าง 10.20 เมตร พระปรางค์มีประตูซุ้ม 3 ด้าน ซุ้มประตูด้านทิศเหนือประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางประธานอภัย 1 องค์ ลักษณะศิลปะแบบอยุธยา รอบปราสาทเป็นลานกว้างมีระเบียงคดก่อด้วยหินกว้าง 54 เมตร ยาว 63.30 เมตร ประกอบด้วยประตูทางเข้า 4 ทิศ ปราสาทแห่งนี้เป็นโบราณสถานที่น่าชม น่าศึกษาแห่งหนึ่ง

วัดปรางค์
ตั้งอยู่ที่บ้านพุดชา ห่างจากตัวเมือง 25 กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (โคราช-ขอนแก่น) ถึงสี่แยกจอหอเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 205 เป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2189 อีก 10 กิโลเมตร ภายในวัดมีปรางค์สมัยขอม รูปสี่เหลี่ยม จัตุรัสก่อด้วยอิฐ ส่วนยอดได้รับการดัดแปลงในสมัยหลังเป็นรูปกรวยสี่เหลี่ยมแบบเจดีย์ล้านช้าง องค์ปรางค์มีประตูเดียว หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีทับหลังหินทรายสลักลวดลายเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณอยู่เหนือประตู เป็นศิลปะเขมรแบบบันทายศรี อายุราวต้นศตวรรษที่ 16 ภายในเรือนธาตุมีจิตรกรรมฝาผนังสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันลบเลือนเกือบหมดแล้ว

สวนแก้ว
อยู่ริมถนนสายโคราช-ปักธงชัย ห่างจากตัวจังหวัดไปประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นสวนพักผ่อนหย่อนใจของชาวจังหวัดนครราชสีมา อัตราค่าเข้าชมสวนแก้ว เด็ก 5 บาท ผู้ใหญ่ 10 บาท

สวนสัตว์นครราชสีมา
อยู่ห่างจากตัวเมือง 13 กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข 304 โคราช-ปักธงชัย ระยะทาง 12 กิโลเมตรเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2310 ไปอีก 1 กิโลเมตร เป็นสวนสัตว์แบบกึ่งเปิดและปิด พื้นที่กว่า 500 ไร่ สัตว์ป่าที่น่าสนใจ ได้แก่ กระทิง เนื้อทราย ละอง ละมั่ง ค่าง งู แมวป่า นก กระเรียน นกยูงไทย และนกยูงอินเดีย เป็นต้น เปิดให้เข้าชมทุกวันระหว่างเวลา 08.00-16.30 น.

อ.สูงเนิน

เมืองโบราณที่ตำบลโคราช หรือเมืองโคราชเก่า
มีโบราณสถานเหลืออยู่ให้เห็น 3 แห่งด้วยกัน คือ ปราสาทโนนกู่ ปราสาทเมืองแขก และปราสาทเมืองเก่า การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 2 ไปจนถึงกิโลเมตร ที่ 221-222 เลี้ยวขวาไปตามทางเข้าสู่อำเภอสูงเนิน 2.7 กิโลเมตร จะพบทางแยกขวามือตรงมุมวัดญาณโศภิตวนาราม (วัดป่าสูงเนิน) ซึ่งเป็นเส้นทางเข้าสู่เมืองโบราณโคราช รวมระยะทางห่างจากตัวเมืองประมาณ 32 กิโลเมตร

เมืองโบราณที่ตำบลโคราช ประกอบด้วย

- ปราสาทโนนกู่
ตั้งอยู่ที่บ้านกกกอก หมู่ที่ 7 ตำบลโคราช ห่างจากแยกวัดญาณโศภิตวนาราม 3 กิโลเมตร เป็นศาสนสถานแบบศิลปะเขมร ก่อด้วยอิฐปนหินทราย ประกอบด้วยปรางค์หลังเดี่ยวบนฐานสูง ด้านหน้ามีวิหารหันเข้าหาปรางค์ประธานอยู่ 2 หลัง ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีซุ้มประตูทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเป็นทางเข้า-ออก และที่ลานระหว่างวิหารทั้งสองนั้นพบโคนนทิหมอบในอาการเคารพปราสาทประธาน อันเป็นที่สถิตของพระศิวะมหาเทพ ตามคติความเชื่อของศาสนาฮินดู ในราวพุทธศตวรรษที่ 16

- ปราสาทเมืองแขก
ตั้งอยู่ที่บ้านกกกอก หมู่ที่ 7 ตำบลโคราช อยู่เลยปราสาทโนนกู่ไปประมาณ 600 เมตร ปราสาทเมืองแขกเป็นศาสนสถานแบบศิลปะเขมร ก่อด้วยอิฐปนหินทราย ประกอบด้วยปรางค์ 3 หลัง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน หันหน้าไปทางทิศเหนือ ปัจจุบันเหลือเพียงมณฑปด้านหน้าล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วและคูน้ำคั่นดินอีกชั้น หนึ่ง มีซุ้มประตูทิศเหนือเป็นทางเข้า-ออก นอกประตูซุ้มบนคันดินชั้นนอกสุด มีซากปราสาทขนาดย่อมอีกสองหลัง หน่วยศิลปากรได้ทำการขุดแต่งปราสาทเมืองแขกซึ่งได้พบทับหลังสลักลายตามแบบ ศิลปะเขมรสมัยเกาะแกร์แปรรูป รวมทั้งศิลาจารึกที่ถูกนำมาก่อเป็นฐานประตูซุ้มชั้นนอกสุด

- ปราสาทเมืองเก่า
ตั้งอยู่ในวัดปราสาทเมืองเก่า ตำบลโคราช อยู่เลยปราสาทเมืองแขกไปอีกประมาณ 3.3 กิโลเมตร เป็นอโรคยาศาลที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรเขมร ทรงสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1724-1763 อโรคยาศาลมีแผนผังประกอบด้วยปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง มีบรรณาลัยอยู่ทางมุมขวาด้านหน้า ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วซึ่งมีซุ้มประตูทางเข้าอยู่ด้านหน้า นอกกำแพงมีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมกรุด้วยศิลาแลง

เมืองเสมา
เป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี ตั้งอยู่ที่ตำบลเสมา ห่างจากนครราชสีมาประมาณ 37 กิโลเมตร จากตลาดอำเภอสูงเนิน เดินทางข้ามลำตะคองและผ่านบ้านหินตั้งไปจนถึงเมืองเสมาเป็นระยะทาง 4 กิโลเมตร แผนผังเมืองเป็นรูปไข่กว้าง 1,400 เมตร ยาว 2,000 เมตร มีการค้นพบโบราณวัตถุในบริเวณนี้มากมาย ปัจจุบันเหลือให้เห็นเพียงเนินดินเป็นแนวยาวคล้ายกำแพง และพระนอนสมัยทวารวดีที่วัดธรรมจักรเสมาราม

เมืองโบราณตำบลเสมา ประกอบด้วย

- วัดธรรมจักรเสมาราม
ตั้งอยู่ที่บ้านคลองขวาง ตำบลเสมา แต่เดิมบริเวณนี้เป็นศาสนสถานในสมัยทวารวดี มีโบราณวัตถุที่สำคัญคือ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ก่อสร้างด้วยหินทรายแดงที่มีความเก่าแก่และใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีความยาว 13.30 เมตร สูง 2.80 เมตร อายุราว พ.ศ. 1200 และธรรมจักรเก่าแก่ ลักษณะเหมือนเสมาธรรมจักรที่ขุดพบที่จังหวัดนครปฐม หลักฐานทางโบราณคดีอื่นๆ ที่ค้นพบบริเวณพระนอนและภายในเมืองเสมา ได้แก่ พระพุทธรูปสำริด ประพิมพ์ดินเผา ลูกปัดแก้ว แวดินเผาที่ใช้ปั่นฝ้าย และจารึกที่บ่ออีกา ซึ่งเป็นศาสนสถานพราหมณ์แบบศิลปะขอม ได้กล่าวถึงอาณาจักรจานาศะ หรือเมืองเสมา ว่ามีการนับถือพุทธศาสนามาแต่เดิม ต่อมาภายหลังได้รับวัฒนธรรมแบบขอมที่บูชาพระศิวะเข้ามาพร้อมกันด้วย

วัดบ้านไร่
ตั้งอยู่ที่ตำบลกุดพิมาน จากตัวเมืองเดินทางไตามถนนมิตรภาพ ถึงกิโลเมตรที่ 237 แยกขวาผ่านขามทะเลสอและหนองสรวงไปจนถึงอำเภอด่านขุนทด ระยะทาง 60 กิโลเมตร จากด่านขุนทดใช้ทางหลวงหมายเลข 2217 เป็นระยะทางอีก 10 กิโลเมตร เป็นวัดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเป็นสถานที่จำพรรษาของหลวงพ่อคูณ ปริสทฺโธ เกจิอาจารย์ชื่อดัง ในแต่ละวันมีผู้คนจากทุกสารทิศเดินทางมานมัสการหลวงพ่อคูณกันเป็นจำนวนมาก


อ.สีคิ้ว

เขื่อนลำตะคอง
อยู่ที่ตำบลลาดบัวขาว ห่างจากตัวจังหวัด 62 กิโลเมตร มีทางแยกจากทางหลวงหมายเลข 2 บริเวณกิโลเมตร ที่ 193-194 ไปประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2507 สร้างกั้นลำตะคองที่ช่องเขาเขื่อนลั่นและช่องเขาถ่านเสียด พื้นที่เหนือเขื่อนเป็นอ่างเก็บน้ำมีธรรมชาติสวยงาม

วัดเขาจันทร์งาม
ตั้งอยู่ที่บ้านเลิศสวัสดิ์ เดินทางจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 2 ประมาณ 58 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายที่กิโลเมตรที่ 198 ไปอีก 3 กิโลเมตร มีภาพเขียนสีโบราณบนเพิงผาหินด้านหลังวัด มีทั้งภาพลงสีแบบเงาทึบและภาพร่างเป็นรูปคนและสัตว์ที่แสดงถึงวิถีชีวิตของ กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ราว 3,000-4,000 ปีมาแล้ว

แหล่งหินตัด
ตั้งอยู่บนถนนมิตรภาพ (ทางหลวงหมายเลข 2) บริเวณกิโลเมตรที่ 207 ห่างจากตัวเมืองประมาณ 50 กิโลเมตร ด้านซ้ายมือบริเวณแหล่งหินตัดเป็นเนินเขาที่มีหินทรายสีขาวอยู่ทั่วบริเวณ ปรากฏร่องรอยการสกัดหินเป็นแท่งสี่เหลี่ยมขนาดต่างๆ และยังทิ้งร่องรอยของคมสิ่วที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสกัด สันนิษฐานว่าเดิมคงจะนำหินทรายบริเวณนี้ไปสร้างปราสาทหินที่อยู่ในบริเวณ ใกล้เคียง เช่น ปราสาทเมืองแขก ปราสาทโนนกู่ ปราสาทหินเมืองเก่า ในอำเภอสูงเนิน ซึ่งห่างออกไป 20 กิโลเมตร

อ.ปากช่อง

วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม
ตั้งอยู่บริเวณเขาสีเสียดอ้า ตำบลกลางดง ทางฝั่งขวาของทางหลวงหมายเลข 2 บนถนนมิตรภาพ หลักกิโลเมตรที่ 150 มีทางแยกเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร เป็นถนนราดยาง ที่วัดแห่งนี้มีพระพุทธรูปปางสมาธิสีขาวองค์ใหญ่ ชื่อว่า พระพุทธสกลสีมามงคล สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก โดดเด่นอยู่บนยอดเขาแลเห็นได้แต่ไกล

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 4 จังหวัด คือ นครราชสีมา นครนายก สระบุรี และปราจีนรี เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2505

อ.ปักธงชัย

ปักธงชัย
เป็นอำเภอแห่งการทอผ้าไหมที่มีชื่อเสียง อยู่ห่างจากนครราชสีมา 32 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 304 (โคราช-ปักธงชัย-กบินทร์บุรี) มีโรงงานทอผ้าไหมจำนวนมากที่ผลิตผ้าไหมส่งจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ

ศูนย์วัฒนธรรมผ้าไหมปักธงชัย
อยู่ในเขตเทศบาลเมืองปักธงชัยบนเส้นทางหลวงหมายเลข 304 กิโลเมตรที่ 107-108 มีการจัดแสดงนิทรรศการกระบวนการเลี้ยงไหมและผลิตผ้าไหมแบบครบวงจร บริเวณด้านหน้าศูนย์มีร้านขายผ้าไหมและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ที่ตัดเย็บจากผ้าไหมจำนวนหลายร้าน

วัดหน้าพระธาตุ
ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลตะคุ จากทางหลวงหมายเลข 304 บริเวณอำเภอปักธงชัย มีทางแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2236 ไปบ้านตะคุ ระยะทาง 4 กิโลเมตร ประกอบด้วยโบสถ์เก่าแก่ ภายในโบสถ์มีภาพเขียนฝาผนังสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีเจดีย์ศิลปะแบบลาว ซึ่งสร้างโดยชุมชนอพยพจากนครเวียงจันทน์และหอไตรกลางน้ำ ซึ่งมีภาพลายรดน้ำที่บานประตู เป็นลวดลายวิจิตรสวยงามมาก กรมศิลปากรเคยนำไปแสดงที่กรุงเทพฯ

เขื่อนลำพระเพลิง
อยู่ในเขตอำเภอปักธงชัย โดยเดินทางไปตามทางสาย 304 ผ่านทางเข้าอำเภอปักธงชัยไป 4 กิโลเมตร จะพบสี่แยกเลี้ยวขวามือเข้าไปเป็นระยะทาง 28 กิโลเมตร ก็จะถึงตัวเขื่อน ซึ่งเป็นสถานที่เหมาะสำหรับพักผ่อนและเช่าเรือชมอ่างเก็บน้ำ

น้ำตกปักธงชัย หรือน้ำตก 79
เดินทางจากอำเภอปักธงชัย ไปตามทางหลวงหมายเลข 304 เป็นระยะทาง 41 กิโลเมตร ถึงหลักกิโลเมตรที่ 64 มีทางลูกรังแยกซ้ายไปอีก 12 กิโลเมตร บริเวณน้ำตกเป็นโขดหินสลับซับซ้อน น้ำตกลงมาจากผาหลายชั้น หน้าผาที่ใหญ่ที่สุดกว้างประมาณ 50 เมตร มีน้ำเฉพาะในฤดูฝน

กู่เกษม หรือปราสาทบึงคำ
ตั้งอยู่ที่บ้านคลองเตย หมู่ 5 ตำบลสะแกราช จากตัวเมืองเดินทางไปตามทางหลวง 304 ผ่านอำเภอปักธงชัย ตรงไปอีกประมาณ 11 กิโลเมตร ถึงกิโลเมตรที่ 92 มีทางแยกซ้ายไปอีก 2 กิโลเมตร ถึงบ้านคลองเตย แยกซ้ายอีก 1 กิโลเมตร กู่เกษมเป็นปรางค์หินทรายทั้งองค์ รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีมุขยื่นด้านหน้า มีประตูเดียว ผนังสองข้างมุขทำเป็นช่องหน้าต่างข้างละ 2 ช่อง ประดับลูกมะหวด ส่วนหลังคาได้หักพังลง ไม่พบร่องรอยการแกะสลักลวดลายตามที่ต่างๆ สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อใช้เป็นเทวาลัยในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย

อ.โชคชัย

ด่านเกวียน
อยู่ห่างจากตัวเมือง 15 กิโลเมตร ตามทางหลวงสาย 224 (โคราช-โชคชัย) ในสมัยโบราณตำบลนี้เป็นที่พักกองเกวียนที่ค้าขายระหว่างโคราช-เขมร มีแม่น้ำมูลไหลผ่าน ชาวบ้านใช้ดินริมฝั่งแม่น้ำมาปั้นภาชนะใช้สอย และได้ทำสืบต่อมาจนปัจจุบันนี้ นับเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน ปัจจุบันด่านเกวียนมีชื่อเสียงมากในฐานะที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาได้สวยงาม มีรูปแบบที่แปลกและหลากหลาย แต่ยังคงลักษณะดั้งเดิมของกรรมวิธีในการปั้นและใช้ดินดำสัมฤทธิ์ที่มี เอกลักษณ์ของสีเป็นเครื่องปั้นแบบด่านเกวียนโดยเฉพาะไว้ นักท่องเที่ยวนิยมไปชมวิธีการผลิตและซื้อหาเครื่องปั้นดินเผาขนาดต่างๆ อยู่เสมอ

ปราสาทพะโค
ตั้งอยู่ที่ตำบลกระโทก จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 224 ประมาณ 29 กิโลเมตร ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 2071 อีกประมาณ 3 กิโลเมตร ปรางค์พะโคเป็นศาสนสถานสมัยขอมก่อสร้างด้วยหินทรายสีขาว ประกอบด้วยกลุ่มโบราณสถาน 2 หลัง มีคูน้ำล้อมรอบเป็นรูปเกือกม้า ทางเข้าอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ได้พบชิ้นส่วนหน้าบัน ประตูหลอกที่แสดงถึงอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรแบบปาปวนในราวพุทธสตวรรษที่ 16 ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย

อ.ครบุรี

ปรางค์ครบุรี
ตั้งอยู่ในโรงเรียนบ้านครบุรีนครธรรมโฆสิตวิทยาคาร จากตัวเมืองใช้เส้นทางหมายเลข 244 ผ่านอำเภอโชคชัยตรงข้ามถนนสาย 2071 ถึงกิโลเมตรที่ 20 มีทางแยกขวาไปอีก 5 กิโลเมตร รวมระยะทางจากตัวเมือง 55 กิโลเมตร ปรางค์ครบุรีเป็นโบราณสถานสมัยขอมที่ใช้เป็น อโรคยาศาล ประกอบด้วยปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีมุขยื่นด้านหน้า ด้านหน้าเยื้องไปทางขวามือมีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เรียกว่า บรรณาลัย มีกำแพงแก้วล้อมรอบโดยมีซุ้มประตูอยู่ตรงทางเข้าด้านทิศตะวันออก นอกกำแพงที่มุมซ้ายด้านหน้ามีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 1 สระ สิ่งก่อสร้างทั้งหมดเป็นศิลาแลง ยกเว้นเสาประดับประตูทับหลังเป็นหินทราย ชิ้นส่วนเหล่านี้ยังคงเหลือเฉพาะส่วนที่ไม่มีลวดลาย ส่วนที่แกะสลักลวดลายไม่มีเหลือให้เห็นแล้ว

อ.โนนสูง

แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท
ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านปราสาทใต้ ตำบลธารปราสาท ห่างจากตัวเมือง 45 กิโลเมตร การเดินทางสามารถใช้เส้นทางสายมิตรภาพ จากจังหวัดนครราชสีมาขึ้นเหนือไปจังหวัดขอนแก่น ถึงหลักกิโลเมตรที่ 44 จะมีทางแยกซ้ายเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร เป็นแหล่งโบราณคดีแห่งที่สองต่อจากบ้านเชียง ที่ได้จัดทำเป็นลักษณะพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง จากการขุดแต่งหลุมทำให้พบโครงกระดูกมนุษย์ที่มีสภาพสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ หันศีรษะไปทางทิศต่างๆ มีการฝังภาชนะดินเผาแบบเคลือบโคลนสีแดง แบบลายเชือกทาบ เครื่องประดับต่างๆ เช่น กำไลเปลือกหอย ลูกปัด แหวนสำริด กำไลสำริด เครื่องประดับศีรษะทำด้วยสำริด

จากหลักฐานที่ได้ค้นพบสันนิษฐานว่า บริเวณบ้านปราสาทมีชุมชนอาศัยอยู่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงสมัย ประวัติศาสตร์ ที่มีหลักฐานของกลุ่มวัฒนธรรมแบบทวารวดีและแบบเขมรโบราณ ระยะเวลาอยู่ในช่วงระหว่าง 2,500-3,000 ปีมาแล้ว

อ.พิมาย

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย
ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองนครราชสีมา 60 กิโลเมตร ในตัวอำเภอพิมาย เชิงสะพานท่าสงกรานต์ ก่อนถึงปราสาทหินพิมาย 300 เมตร เป็นสถานที่เก็บรวบรวมหลักฐาน และจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองของวัฒนธรรมอีสานในอดีต โดยเฉพาะโบราณวัตถุศิลปวัตถุที่ค้นพบในเขตอีสานตอนล่าง โบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่นำมาจัดแสดงได้แก่ เครื่องปั้นดินเผาโบราณ โครงกระดูก เครื่องมือ เครื่องประดับที่ทำจากสำริดและหิน ส่วนโบราณวัตถุสมัยประวัติศาสตร์ได้แก่ ใบเสมาแบบศิลปทวารวดี ชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมแบบเขมร เช่น ทับหลัง หน้าบัน เสาประดับกรอบประตู ทวารบาล และประติมากรรมรูปเคารพ อาทิ พระพุทธรูป เทวรูป รูปพระโพธิสัตว์ และรูปสลักศิลาพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งพบที่ปราสาทหินพิมาย นับเป็นโบราณวัตถุชิ้นเยี่ยมของพิพิธภัณฑ์นี้ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์ วันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชม คนไทย 5 บาท ชาวต่างประเทศ 20 บาท

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของโคราช เป็นระยะทาง 60 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายมิตรภาพ (โคราช-ขอนแก่น) อุทยานประวัติศาสตร์พิมายครอบคลุมพื้นที่เมืองโบราณอันเป็นที่ตั้งของศาสน สถานที่ใหญ่โตและงดงามแห่งหนึ่ง คือ “ปราสาทหินพิมาย” เป็นแหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์สร้างขึ้นในราวปลายพุทธ ศตวรรษที่ 16 และมาต่อเติมอีกครั้งในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งครั้งนั้นเมืองพิมายเป็นเมืองใหญ่ของขอมบนแผ่นดินที่ราบสูง

ปราสาทหินพิมาย
หันหน้าไปทางทิศใต้ อันเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงแห่งอาณาจักรขอม แผนผังของปราสาทแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ลานชั้นใน ซึ่งล้อมรอบด้วยระเบียงคดหรือกำแพงชั้นใน มีทางเดินกว้าง 2.35 เมตร เดินทะลุกันได้ตลอดทั้งสี่ด้าน หลังคามุงด้วยแผ่นหิน มีปรางค์ประธานสร้างด้วยหินทรายสีขาวตั้งอยู่กลางลาน ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง กว้าง 18 เมตร ความยาวรวมทั้งมุขหน้า 32.50 เมตร หน้าบันและทับหลังส่วนใหญ่สลักเป็นภาพเล่าเรื่องรามายณะ (รามาวตาร) และกฤษณาวตาร หน้าบันด้านหน้าสลลักเป็นภาพศิวนาฏราช ส่วนทับหลังของประตูห้องชั้นในขององค์ปรางค์สลลักเป็นภาพทางคติพุทธศาสนา นิกายมหายาน ด้านหน้าปรางค์ประธานเยื้องไปทางซ้ายและขวามีปรางค์องค์เล็กอีกสองหลัง องค์ทางซ้ายสร้างด้วยศิลาแลง เรียกว่า ปรางค์พรหมทัต มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม กว้าง 14.50 เมตร สูง 11.40 เมตร ปรางค์ทางด้านขวาสร้างด้วยหินทรายสีแดง เรียกว่า ปรางค์หินแดง กว้าง 11.40 เมตร สูง 15 เมตร

ถัดจากระเบียงคดออกมาเป็นลานชั้นนอก ล้อมรอบด้วยกำแพงอีกชั้นหนึ่ง ประกอบด้วยอาคารที่เรียกว่า บรรณาลัยสองหลัง ตั้งคู่กันอยู่ทางด้านทิศตะวันตก มีสระน้ำอยู่ทั้งสี่มุม ทางเข้าด้านหน้ากำแพงชั้นนอกมีสะพานนาคราชและประติมากรรมรูปสิงห์

ถัดจากกำแพงชั้นนอกออกไปยังมีกำแพงเมืองล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง ปัจจุบันมีให้เห็นชัดเจนทางด้านทิศใต้ นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานนอกเขตกำแพงเมืองทางด้านทิศใต้ ได้แก่ ท่านางสระผม กุฏิฤาษี และอโรคยาศาล

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 07.30-18.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทยคนละ 5 บาท ชาวต่างประเทศคนละ 20 บาท

ไทรงาม
ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำมูล บริเวณเขื่อนพิมายก่อนข้ามสะพานท่าสงกรานต์เข้าตัวอำเภอพิมาย จะมีทางแยกไปเขื่อนพิมาย อีก 2 กิโลเมตร ไทรงามแห่งนี้มีอายุประมาณ 350 ปี มีกิ่งก้านสาขามากมาย ให้ความร่มรื่นสวยงาม มีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณประมาณ 15,000 ตารางฟุต เป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันมานานตั้งแต่สมัยสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถเสด็จประพาสเมืองพิมาย เมื่อ พ.ศ. 2454 ไทรงามแห่งนี้เป็นสถานที่พักผ่อนของนักท่องเที่ยว มีร้านอาหารและเครื่องดื่มจำหน่าย โดยเฉพาะผัดหมี่พิมายที่มีรสชาติอร่อยไม่แพ้ก๋วยเตี๋ยวจันทบุรี

อ.จักราช

ไทรงาม
ตั้งอยู่ที่บ้านหนองบัวรี ตำบลท่าช้าง มีขนาดย่อมกว่าไทรงามที่พิมาย และยังไม่ได้รับการพพัฒนา อยู่ห่างจากตัวจังหวัด 20 กิโลเมตร ก่อนถึงตัวอำเภอจักราช ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 226 หลักกิโลเมตรที่ 17-18 มีทางแยกเลี้ยวซ้ายเข้าไป 2 กิโลเมตร เส้นทางลูกรังสภาพไม่ดีนัก

อ.บัวใหญ่

ปรางค์กู่
ตั้งอยู่ในโรงเรียนวัดบ้านกู่ ตำบลดอนตะหนิน จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (สายโคราช-ขอนแก่น) ระยะทาง 67 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายตรงตู้ยามตำรวจทางหลวงบ้านโนนตาเถรอีก 7 กิโลเมตร ลักษณะเป็นปรางค์กู่ฐานสี่เหลี่ยม ก่อด้วยศิลาแลงวางซ้อนกันจากฐานถึงยอด ภายในบรรจุพระพุทธรูปดินเผา

ปรางค์สีดา
ตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระปรางค์สีดา ตำบลสีดา จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 2 ถึงสี่แยกสีดาเลี้ยวขวาเป็นระยะทาง 1.5 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปอีก 1.5 กิโลเมตร รวมระยะทางจากตัวเมืองนครราชสีมา 90 กิโลเมตร มีลักษณะคล้ายปรางค์กู่ที่ตำบลดอนตะหนิน แต่ปรางค์สีดาปิดทึบทั้งสี่ด้าน

อ.ประทาย

ปราสาทนางรำ
ตั้งอยู่ที่บ้านนางรำ ตำบลนางรำ ห่างจากตัวเมือง 79 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหมายเลข 2 ผ่านทางเข้าอำเภอพิมายไปจนถึงแยกบ้านวัด ระยะทาง 62 กิโลเมตร เลี้ยวเข้าทางหลวง 207 ไปประมาณ 22 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายไปปราสาทนางรำอีก 4 กิโลเมตร รวมระยะทางจากตัวเมือง 88 กิโลเมตร เป็นอโรคยาศาลที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอม ประกอบด้วย ปราสาทองค์กลาง มีมุขยื่นออกไปข้างหน้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ส่วนทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทมีวิหารก่อด้วยศิลาแลงหันหน้าไปทาง ทิศตะวันตก มีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบ นอกกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำขนาดเล็กก่อด้วยศิลาแลง ถัดจากปราสาทนางรำไปทางทิศใต้ 80 เมตร มีปราสาทอีก 3 หลังเรียงกันในแนวเหนือ-ใต้ มีกำแพงศิลาแลงและคูน้ำรูปเกือกม้าล้อมรอบ


อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

ข้อมูลทั่วไป :

ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 4 จังหวัด คือ นครราชสีมา นครนายก สระบุรี และปราจีนรี เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2505

ได้รับสมญาว่าเป็น "อุทยานมรดกของกลุ่มประเทศอาเซียน" เป็นผืนป่าใหญ่ในเทือกเขาพนมดงรัก ในส่วนหนึ่งของดงพญาไฟหรือดงพญาเย็นในอดีต

ประกอบไปด้วยขุนเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อนหลายลูก เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารที่สำคัญถึง 5 สาย เช่น แม่น้ำนครนายก แม่น้ำมูล อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิด เช่น ช้างป่า กวาง เก้ง กระทิง ตลอดจนมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีเนื้อที่ 2,168.64 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,355,396.96 ไร่

การเดินทาง :

การเดินทางสู่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ไปได้หลายทางดังนี้

สายที่ 1 ถนนพหลโยธินผ่านรังสิตถึงสระบุรี เลี้ยวขวาเข้าถนนมิตรภาพผ่านมวกเหล็กไปทางอำเภอปากช่อง ก่อนถึงอำเภอปากช่องเลี้ยวเข้าถนนธนรัตน์ ระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 205 กิโลเมตร

สายที่ 2 ถนนพหลโยธินผ่านรังสิต ผ่านหนองแค เลี้ยวขวาสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 305 (สุวรรณศร)ที่หินกอง ผ่านตัวเมืองนครนายกถึงสี่แยกเนินหอม หรือวงเวียนนเรศวร ก่อนเข้าตัวเมืองปราจีนบุรีเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนปราจีนบุรี-เขาใหญ่ รวมระยะทางประมาณ 190 กิโลเมตร

สายที่ 3 ถนนพหลโยธิน เลี้ยวขวาบริเวณรังสิต เข้าสู่ทางหลวงสายรังสิต-องค์รักษ์ และสายองค์รักษ์-นครนายก บรรจบกับเส้นทางสายที่ 2 แล้วเดินทางต่อตามเส้นทางสายที่ 2

สิ่งอำนวยความสะดวก :

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ นับว่าเป็นอุทยานฯที่มีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อนักท่องเที่ยวที่สมบูรณ์ที่สุด ดังนี้

ที่พักแรม

1.บ้านพัก(มีเครื่องนอน)

สิ่งอำนวยความสะดวก :

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ นับว่าเป็นอุทยานฯที่มีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อนักท่องเที่ยวที่สมบูรณ์ที่สุด ดังนี้

ที่พักแรม

1.บ้านพัก(มีเครื่องนอน)

  • บ้านแก่งสงวน 1 จำนวน 12 คน ราคา 1,200 บาท/คืน
  • บ้านกองแก้ว 1 จำนวน 12 คน ราคา 1,200 บาท/คืน

  • ค่ายพัก(ไม่มีเครื่องนอน)


  • ค่ายพักเยาวชน 1.1 จำนวน 30 คน ราคา 20 บาท/คน/คืน
  • ค่ายพักเยาวชน 1.2 จำนวน 30 คน ราคา 20 บาท/คน/คืน
  • ค่ายพักเยาวชน 2.1 จำนวน 30 คน ราคา 20 บาท/คน/คืน
  • ค่ายพักกองแก้ว 1 จำนวน 50 คน ราคา 10 บาท/คน/คืน
  • ค่ายพักกองแก้ว 2 จำนวน 80 คน ราคา 10 บาท/คน/คืน
  • สำรองที่พักได้ที่ : งานบ้านพัก ฝ่ายนันทนาการและสื่อความหมาย ส่วนอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 579-7223 , 579-5734 ,561-4292-3 ต่อ 724 , 725 โทรสาร 579-4611

    สถานที่กางเต็นท์ผากล้วยไม้
    นำเต๊นท์และเครื่องนอนมาเอง ค่าธรรมเนียมคนละ 20 บาท/คืน เด็กคนละ 10 บาท/คืน

    หากไม่มีเต๊นท์และเครื่องนอน อุทยานฯมีบริการให้เช่าดังนี้


  • เต๊นท์ขนาด 2 คน ราคา 100 บาท/คืน
  • เต๊นท์ขนาด 4 คน ราคา 150 บาท/คืน
  • เต๊นท์ขนาด 8 คน ราคา 300 บาท/คืน
  • ถุงนอน ราคา 50 บาท/ถุง/คืน
  • ผ้าห่ม ราคา 15 บาท/ถุง/คืน
  • อุปกรณ์พักค้างแรมอื่นๆ
  • หมายเหตุ : ต้องติดต่อที่สถานที่กางเต็นท์ผากล้วยไม้ก่อนเวลา 18.00 น. ของวันที่จะพักค้างแรม หลังเวลาดังกล่าวไม่อนุญาตให้พักค้างแรม

    ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอยู่ใหล้กับที่ทำการอุทยานฯมีขนาดใหญ่ สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ครั้งหนึ่งไม่ต่ำกว่า 150 คน และในบริเวณนี้มีโรงประชุมขนาดใหญ่ใช้สำหรับเป็นที่ประชุม บรรยายด้วย

    สาธารณูปโภค มีถนนระบบสองทางเชื่อมโยงไปยังจุดท่องเที่ยวและนันทนาการต่างๆอย่างทั่วถึง ความยาวรวมกันกว่า 86 กิโลเมตร มีไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง

    บริการเกี่ยวกับรถ


  • รถบริการส่องสัตว์ไม่เกิน 12 คน ราคา 300 บาท/คัน
  • รถบริการส่องสัตว์ไม่เกิน 25 คน ราคา 450 บาท/คัน
  • รถบริการส่องสัตว์ไม่เกิน 40 คน ราคา 600 บาท/คัน
  • รถสวัสดิการนำเที่ยว สายด่านตรวจศาลเจ้าพ่อฯ-น้ำตกเหวสุวัต ราคาคนละ 20 บาท ตลอดเส้นทาง ออกจากด่านตรวจศาลเจ้าพ่อเวลา 10.00 น. และออกจากน้ำตกเหวสุวัต เวลา 13.00 น. ทุกวัน
  • หมายเหตุ : ให้ติดต่อสำรองรถส่องสัตว์ได้ที่ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ภายในเวลา 18.00 น.ของวันที่จะส่องสัตว์ อนึ่ง ไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวส่องสัตว์ด้วยตนเอง ฝ่าฝืนจับ-ปรับ

    นอกจากนี้ยังมีร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก หน่วยกู้ภัย พยาบาลสนาม ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่คอยให้คำแนะนำและอำนวยความสะดวกตลอดเวลา

    ลักษณะภูมิประเทศ :

    สภาพทั่วๆไปของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ประกอบด้วยเทือกเขาที่สลับซับซ้อนกันหลายลูก ได้แก่ เขาร่ม ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด 1,351 เมตร เขาแหลมสูง 1,326 เมตร เขาเขียวสูง 1,292 เมตร เขาสามยอดสูง 1,142 เมตร เขาฟ้าผ่าสูง 1,078 เมตร เขากำแพงสูง 875 เมตร เขาสมอปูนสูง 805 เมตร และเขาแก้วสูง 802 เมตร วัดความสูงจากระดับน้ำทะเลเป็นเกณฑ์ และยังประกอบด้วยทุ่งกว้างสลับกับป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกพื้นที่จะลาดลง ทางทิศใต้และทิศตะวันตกเป็นที่สูงชันขึ้นไปเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่สำคัญถึง 5 สาย ดังนี้

    แม่น้ำปราจีนบุรีและแม่น้ำนครนายก
    อยู่ในพื้นที่ด้านทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งมีความสำคัญต่อการเกษตรกรรมและระบบเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคนี้ แม่น้ำทั้ง 2 สายนี้ พบกันที่จังหวัดฉะเชิงเทรา กลายเป็นแม่น้ำบางปะกงแล้วไหลลงสู่อ่าวไทย

    แม่น้ำลำตะคองและลำพระเพลิง
    อยู่ในพื้นที่ด้านทิศเหนือ ไหลไปหล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมของที่ราบสูงโคราช ไปบรรจบกับแม่น้ำมูล ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของภาคอีสานตอนล่าง ไหลลงสู่แม่น้ำโขง

    ห้วยมวกเหล็ก
    ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีปริมาณน้ำไหลตลอดทั้งปี และให้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร โดยเฉพาะการปศุสัตว์ของภูมิภาคนี้ ไหลลงสู่แม่น้ำป่าสัก ที่อำเภอมวกเหล็ก

    ลักษณะภูมิอากาศ :

    สภาพป่ารกทึบ ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ทำให้เกิดพายุฝนตกชุกตามฤดูกาล อากาศไม่ร้อนจัดหรือหนาวจัดจนเกินไป จัดอยู่ในประเภทเย็นสบายเหมาะแก่การเดินทางท่องเที่ยว และประกอบกิจกรรมนันทนาการชนิดต่างๆอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 23 องศาเซลเซียส

    ฤดูร้อน
    แม้ว่าอากาศจะร้อนอบอ้าวในที่อื่นใด แต่บนเขาสูงเช่นเขาใหญ่ อากาศกำลังเย็นสบาย เหมาะแก่การพักผ่อนเล่นน้ำในลำธารและนำอาหารไปรับประทาน ดอกไม้ป่าหลากสีสันกำลังบานสะพรั่งออกดอกออกผลตามฤดูกาล

    ฤดูฝน
    เป็นช่วงหนึ่งของปีที่สภาพธรรมชาติบนเขาใหญ่ชุ่มฉ่ำ ป่าไม้และทุ่งหญ้าเขียวขจีสดสวย น้ำตกทุกแห่งไหลแรงเสียงดังก้องป่าให้ชีวิตชีวาแก่ผู้มาเยือน แม้การเดินทางจะลำบากสักหน่อยแต่จำนวนนักท่องเที่ยวก็ไม่ได้ลดน้อยลงเลย

    ฤดูหนาว
    ในช่วงเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ เป็นฤดูที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเขาใหญ่มากที่สุด ท้องฟ้าสีครามแจ่มใสตัดกับสีเขียวขจีของป่าไม้ พยับหมอกที่ลอยเอื่อยไปตามทิวเขา ดวงอาทิตย์กลมโตอยู่เบื้องหน้าไกลโพ้น อากาศที่หนาวเย็นในตอนกลางคืนแต่รุ่งเช้าของวันใหม่เราจะพบกับธรรมชาติที่ สวยงามแตกต่างไปจากเมื่อวานอีกรูปแบบหนึ่ง

    พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :

    1.ป่าเบญจพรรณแล้ง
    ลักษณะของป่าชนิดนี้อยู่ทางด้านทิศเหนือซึ่งมีระดับความสูงระหว่าง 200-600 เมตร จากระดับน้ำทะเล ประกอบไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ เช่น มะค่าโมง ประดู่ ตะแบก ตะเคียน หนู แดงนนทรีย์ ซ้อ ปออีเก้ง สมอพิเภก ตะคล้ำ เป็นต้น พืชชั้นล่างมีไม้ไผ่และหญ้าต่างๆรวมทั้งกล้วยป่าด้วย ในฤดูแล้งป่าชนิดนี้จะมีไฟไหม้ลุกลามเสมอ และตามพื้นป่า จะมีหินปูนผุดขึ้นทั่วๆไป

    2.ป่าดงดิบแล้ง
    ลักษณะป่าชนิดนี้มีอยู่ทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นที่ราบลูกเนินในระดับความสูง 200-600 เมตรจากระดับน้ำทะเล ไม้ชั้นบนได้แก่ ไม้ยางนก พันจำ เคี่ยมคะนอง ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะแบก สมพงสอง สลึง มะค่าโมง ปออีเก้ง สะตอ ซาก และคอแลนเป็นต้น ไม้ยืนต้นชั้นรองลงมามี กระเบา กลัก หลวงขี้อาย และกัดลิ้น เป็นต้น พืชจำพวกปาล์ม เช่น หมากลิง และลาน พืชชั้นล่างประกอบด้วย พืชจำพวกมะพร้าวนกคุ้ม พวกขิง ข่า กล้วยป่าและเตย เป็นต้น

    3.ป่าดงดิบชื้น
    ลักษณะป่าชนิดนี้เป็นป่าที่อยู่ในระดับความสูง 400-1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล จะมีชนิดไม้คล้ายคลึงกับป่าดงดิบแล้ง เพียงแต่ว่ามีพันธุ์ไม้วงศ์ยางขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ยางกล่อง ยางขน ยางเสี้ยน และกระบาก โดยเฉพาะพื้นที่ถูกรบกวนจะพบชมพูป่า และกระทุ่มน้ำขึ้นอยู่โดยทั่วไป พันธุ์ไม้ผลัดใบเช่น ปออีเก้ง สมพง และกว้าว แทบจะไม่พบเลย บริเวณริมลำธารมักจะมีไม้ไผ่ลำใหญ่ๆคือ ไผ่ลำมะลอกขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม ป่าดิบชื้นบนที่สูงขึ้นไปจะมียางปายและยางควน นอกจากไม้ยางแล้วไม้ชั้นบนชนิดอื่นๆยังมี เคียนคะนอง ปรก บรมือ จำปีป่า พะดงและทะโล้ ไม้ชั้นรองได้แก่ ก่อน้ำ ก่อรัก ก่อด่าง และก่อเดือย ขึ้นปะปนกัน

    4.ป่าดิบเขา
    ป่าชนิดนี้ เกิดอยู่ในที่มีอากาศเย็นบนภูเขาสูง ที่อยู่จากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตรขึ้นไป สภาพป่าแตกต่างไปจากป่าดงดิบชื้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่มีไม้วงศ์ยางขึ้นอยู่เลย พันธุ์ไม้ที่พบเป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น พญาไม้ มะขามป้อมดง ขุนไม้ และสนสามพันปี และไม้ก่อชนิดต่างๆที่พบขึ้นในป่าดงดิบชื้น นอกจากก่อน้ำและก่อต่างๆ ความสูงจากระดับน้ำทะเล 600-900 เมตรเท่านั้น ตามเขาสูงจะพบกำลังเสือโคร่งขึ้นกระจัดกระจาย ไม้ชั้นรองได้แก่ เก็ดส้าน ส้มแปะ แกนมอ เพลาจังหัน และหว้า พืชชั้นล่าง ได้แก่ ต้างผา กำลังกาสา ตัวผู้ กูด และกล้วยไม้ดิน

    5.ทุ่งหญ้าและป่ารุ่นหรือป่าเหล่า
    ลักษณะป่าชนิดนี้เป็นผลเสียเนื่องจากการทำไร่เลื่อนลอยในอดีต ก่อนมีการจัดตั้งป่าเขาใหญ่เป็นอุทยานแห่งชาติได้มีราษฎรอาศัยอยู่ และได้แผ้วถางป่าทำไร่ เมื่อมีการอพยบราษฎรลงไปสู่ที่ราบ บริเวณไร่ดังกล่าวจึงถูกปล่อยทิ้ง ต่อมามีสภาพเป็นทุ่งหญ้าคาเสียส่วนใหญ่ บางแห่งมีหญ้าแขม หญ้าพง หญ้าขนตาช้างเลา และตองกง และยังมีกูดชนิดต่างๆขึ้นปะปนอยู่ด้วย เช่น โขนใหญ่ กูดปิ้ด โขนผี กูดงอดแงด และกูดตีนกวาง ปัจจุบัน พื้นที่ป่าทุ่งหญ้าบางแห่งได้กลับฟื้นคืนสภาพเป็นป่าละเมาะบ้างแล้ว

    สัตว์ป่า
    อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าชุกชุมมาก ในบางโอกาสขณะขับรถยนต์ไปตามถนน จะสามารถเห็นสัตว์ป่าเดินผ่านหรือออกหากินตามทุ่งหญ้า หรืออาจจะเห็นโขลงช้างออกหากินริมถนนบริเวณตั้งแต่ที่ชมวิว กิโลเมตรที่ 30 จนถึงปากทางเข้าหนองผักชี ตลอดจนโป่งต้นไทร ลูกช้างเล็กๆซน และน่ารักมาก ในปัจจุบันถ้าขับรถยนต์ขึ้นเขาใหญ่ทางด่านตรวจเนินหอมข้ามสะพานคลองสามสิบไป แล้ว ก็สามารถเห็นโขลงช้างได้เหมือนกัน โดยเฉพาะในตอนกลางคืน จากการศึกษาตามโครงการการอนุรักษ์ช้างป่า และการจัดการพื้นที่ป้องกัน(Elephant Conservation and Protected area management) โดย Mr. Robert J. Dobias ภายใต้ความร่วมมือของ WWF และ IUCN ในปี 2527-2528 พบว่ามีจำนวนประมาณ 250 เชือก

    สัตว์ป่าที่สามารถพบเห็นได้บ่อยๆและตามโอกาสอำนวย ได้แก่ เก้ง กวาง ตามทุ่งหญ้าทั่วๆไป นอกจากนี้ยังพบเสือโคร่ง กระทิง เลียงผา หมี เม่น ชะนี พญากระรอก หรือหมาไม้ ชะมด อีเห็น กระต่ายป่า นก ฯลฯ จำนวน 200 ชนิด จากจำนวนไม่น้อยกว่า 293 ชนิดที่สำรวจพบอาศัยป่าเขาใหญ่เป็นแหล่งอาหารและที่อาศัยอย่างถาวร นกที่น่าสนใจและพบเห็นบ่อยๆได้แก่ นกเงือก นกขุนทอง นกขุนแผน นกพญาไฟ นกแต้วแร้ว นกโพระดก นกแซงแซว นกเขา นกกระปูด ไก่ฟ้า และนกกินแมลงชนิดต่างๆ นกเงือกทั้ง 3 ชนิดที่พบบนเขาใหญ่ นับว่าเป็นสิ้งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ชอบดูนกเป็นอย่างดี เพราะพบเห็นได้โดยทั่วไป พวกแมลงที่มีมากก็คือ ผีเสื้อชนิดต่างๆที่สวยงามมีประมาณ 5,000 ชนิด

    จุดเด่นที่น่าสนใจ :

    อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญนั้นก็คือ น้ำตกที่สวยงาม มีน้ำตกน้อยใหญ่เกิดขึ้นหลายแห่ง ซึ่งสำรวจพบและทำเส้นทางเดินเท้าไปถึงแล้วประมาณ 30 แห่ง ที่มีความสวยงามแตกต่างกันไปตามสภาพธรรมชาติของภูมิประเทศ เป็นที่รู้จักกันดี เช่น

    น้ำตกนางรองและน้าตกสาริกา
    น้ำตกทั้ง 2 แห่ง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่อยู่ในพื้นที่จังหวัดนครนายก มีชื่อเสียงมาช้านาน ก่อนการจัดตั้งอุทยานฯ การเดินทางไปยังน้ำตกทั้ง 2 แห่งนี้ ทำได้โดยสะดวกเพราะมีถนนลาดยาง แยกจากถนนสุวรรณศรเข้าไปประมาณ 20 กิโลเมตร

    น้ำตกกองแก้ว
    เป็นน้ำตกเตี้ยๆที่เกิดจากห้วยลำตะคอง ในฤดูฝนจะดูสวยงามมากเหมาะสำหรับการเล่นน้ำ ใกล้บริเวณน้ำตกจะมีสะพานแขวนข้ามลำห้วย 2 สะพาน ห้วยลำตะคองเป็นแนวเขตแบ่ง 2 จังหวัด คือ จังหวัดนครนายก และจังหวัดนครราชสีมา น้ำตกแห่งนี้อยู่ห่างจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ประมาณ 100 เมตร

    น้ำตกผากล้วยไม้
    เป็นน้ำตกขนาดกลาง ที่อยู่ในห้วยลำตะคองเช่นเดียวกัน ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 7 กิโลเมตร สามารถเข้าถึงได้โดยทางรถยนต์และทางเดินเท้า น้ำตกผากล้วยไม้จะมีกล้วยไม้หวายแดงขึ้นอยู่ ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ของน้ำตกแห่งนี้

    น้ำตกเหวสุวัต
    เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงมากจนเป็นที่รู้จักของประชาชนโดยทั่วไป น้ำตกเหวสุวัตนี้อยู่สุดถนนธนะรัชน์หรือจะเดินเท้าต่อจากน้ำตกผากล้วยไม้ไป ก็ได้ ประมาณ 3 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นสายน้ำตกลงมาจากหน้าผาสูงประมาณ 20 เมตรเศษ บริเวณด้านล่างของน้ำตกเป็นแอ่งน้ำและลำธารเหมาะที่จะลงเล่นน้ำ แต่สำหรับฤดูฝนน้ำจะมากและไหลแรง และค่อนข้างเย็นจัด

    น้ำตกเหวนรก
    เป็นน้ำตกขนาดใหญ่และสูงที่สุด อยู่ทางด้านทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ๋ มีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นแรกสูงประมาณ 60 เมตร เมื่อน้ำไหลผ่านหน้าผาชั้นนี้ จะไหลลงสู่หน้าผาชั้นที่สองและที่สามที่อยู่ถัดลงไปใกล้ๆกัน ในลักษณะการไหลตก 90 องศา รวมความสูงไม่ต่ำกว่า 150 เมตร เป็นสายน้ำที่ไหลทะลักไปสู่หุบเหวเบื้องล่าง ในฤดูฝนน้ำจะไหลแรงมากจนดูน่ากลัว

    น้ำตกไม้ปล้อง
    เป็นน้ำตกที่พบมานาน ได้รับการปรับปรุงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ มัทั้งหมด 5 ชั้น ลดหลั่นกันลงมา ชั้นสูงสุดไม่เกิน 12 เมตร มีลักษณะคล้ายคลึงกับน้ำตกเหวนรก หรือเหวสุวัต ความงามตลอดเส้นทางเดินเท้าประกอบด้วย โขดหินเล็กใหญ่และลำธารที่สวยงาม การเดินทางไปน้ำตกแห่งนี้เริ่มต้นที่วังตะไคร้ โดยการเดินเท้าตามเส้นทางเดินเท้าระยะทางประมาณ 24 กิโลเมตร ผู้สนใจติอต่อได้ที่หน่วย ขญ.9(นางรอง) มีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกให้ด้วย

    น้ำตกวังเหว
    เป็นน้ำตกขนาดใหญ่มีความกว้างประมาณ 40-60 เมตร ในฤดูฝนน้ำมากและไหลแรง อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์ฯ ขญ.6(ไสใหญ่)ประมาณ 17 กิโลเมตร อยู่ใจกลางป่าทางด้านทิศตะวันออกของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ การเดินทางจะต้องใช้เวลาในการเดินทางถึง 2 วัน จึงเหมาะกับผู้ที่ชอบการผจญภัยและพักค้างแรมในป่าเป็นอย่างยิ่ง ตลอดเวลาการเดินทางจะพบกับพันธุ์ไม้นานาชนิด และแก่งหินที่สวยงามตามธรรมชาติ นับเป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง

    น้ำตกตะคร้อ, น้ำตกสลักได,น้ำตกส้มปล่อย,น้ำตกพันธุ์ทิพย์
    เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่สวยงามอยู่ใกล้กับที่ทำการหน่วยพิทักษ์ ขญ.7(ประจันตคาม)เหมาะสำหรับพักผ่อนเล่นน้ำ ในทุกๆวันจะมีนักท่องเที่ยวในท้องถิ่นและใกล้เคียงไปเที่ยวชมและเล่นน้ำตก นี้ไม่ขาดสาย โดยเฉพาะในวันหยุดสุดสัปดาห์จะมีนักท่องเที่ยวจากถิ่นอื่นไปเที่ยวมากเหมือน กัน

    น้ำตกแก่งกฤษณา น้ำตกเหว น้ำตกจั๊กจั่น น้ำตกเหวอีอ่ำ
    เป็นน้ำตกขนาดเล็กและขนาดใหญ่ที่มีความงดงามไม่แพ้แห่งอื่นๆโดยเฉพาะน้ำตก เหวอีอ่ำมีความสูงประมาณ 25 เมตร เหมาะสำหรับการพักแรมในป่าจะได้ชมทิวทัศน์ธรรมชาติรอบกายอย่างเพลิดเพลินใจ

    น้ำตกผาไทรคู่ น้ำตกผากระชาย
    เป็นน้ำตกขนาดกลางที่เกิดจากห้วยโกรกเค้บริเวณเขาแหลมอยู่ทางด้านทิศเหนือ ของอุทยานฯ มีความสูงประมาณ 15 เมตร ไหลลาดไปตามพื้นหินเหมาะสำหรับผู้ชอบผจญภัยค้างแรมในป่า อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์ ขญ.2(กระดาษ) ประมาณ 12-15 กิโลเมตร น้ำตกทั้ง 2 แห่งเป็นน้ำตกที่มีความสวยงามอีกรูปแบบหนึ่ง

    น้ำตกแก่งหินเพลิง
    เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่อยู่ไม่ไกล ประมาณ 5 กิโลเมตรจากหน่วยพิทักษ์ฯ ขญ.2(กระดาษ) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวประจำท้องถิ่น ในช่วงอากาศร้อนจะมีชาวบ้านหนุ่มสาวไปเที่ยวกันมาก

    น้ำตกเหวไทร
    เป็นน้ำตกอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ใต้ถัดไปจากน้ำตกเหวสุวัต ห่างจากน้ำตกเหวสุวัตประมาณ 700 เมตร น้ำตกนี้มีลักษณะเป็นหน้าผากว้างเต็มลำห้วย สูงประมาณ 5 เมตร ในฤดูฝนน้ำตกนี้จะไหลแรงเต็มหน้าผาสวยงามน่าชมมาก การเดินทางไปน้ำตกเหวไทรไปได้ 2 เส้นทาง คือเดินต่อไปจากเหวสุวัตระยะทางประมาณ 700 เมตร หรือจะเดินไปจากที่ทำการอุทยานฯไปตามเส้นทางเดินเท้าสายกองแก้ว-เหวสุวัตก็ ได้ ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร ตามสองข้างทางเดินที่ผ่านไป จะมีสิ่งที่น่าสนใจอย่างอื่นมากมาย เช่น สมุนไพร และเห็ดป่า เป็นต้น

    น้ำตกเหวประทุน
    เป็นน้ำตกที่อยู่ในห้วยลำตะคองอีกแห่งหนึ่งเหมือนกัน อยู่ถัดจากน้ำตกเหวไทรประมาณ 2 กิโลเมตรเศษ จะเดินทางจากน้ำตกเหวสุวัตไปก็ได้ หรือจะเดินจากที่ทำการอุทยานฯไปก็ได้ เดินตามเส้นทางเดินเท้ากองแก้ว-เหวสุวัต ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร น้ำตกนี้มีลักษณะเป็นหน้าผากว้างและสูงสวยงามมาก

    น้ำตกมะนาว
    เป็นน้ำตกขนาดเล็กๆที่สวยงามอีกรูปแบบหนึ่ง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เดินไปตามเส้นทางเดินเท้าออกจากด้านหลังอาคาร โภชนาการ ททท.เขาใหญ่ ประมาณ 5-6 กิโลเมตร จะผ่านป่าดงดิบชื้นที่มีพันธุ์ไม้เล็กใหญ่และไม้สมุนไพรที่น่าสนใจศึกษา

    น้ำตกตาดตาภู่
    น้ำตกนี้อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานฯ เกิดจากห้วยระย้า เป็นน้ำตกที่มีลักษณะเป็นโขดหินและลานหินที่มีน้ำไหลหลั่นเป็นทอดลาดเอียงไป ข้างล่างประมาณ 100 เมตร เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบพักค้างแรมในป่า ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ใกล้ๆน้ำตกจะมีทุ่งหญ้าสลับกับป่าไม้ ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสัตว์ป่านานาชนิด ที่เห็นประจำได้แก่ เก้ง กวาง ช้างป่า กระทิง นกนานาชนิด เป็นต้น

    น้ำตกตาดตาคง
    เป็นน้ำตกที่งดงามและสูงอีกแห่งหนึ่ง ที่อยู่ถัดไปจากน้ำตกตาดตาภู่ประมาณ 4 กิโลเมตรเศษ การเดินทางจะเริ่มต้นที่ด่านหลังโภชนาการ ททท. เขาใหญ่ ก็ได้ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร หรือจะเริ่มต้นที่ กม.55 ถนนเขาใหญ่-ปราจีนบุรีก็ได้ ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร

    กลุ่มน้ำตกผาตะแบก
    น้ำตกนี้เป็นน้ำตกขนาดที่ไม่เล็กมากนัก เกิดบนห้วยน้ำซับลักษณะของน้ำตกเป็นชั้นๆลดหลั่นกันลงไป 5 ชั้น จากปากทางเข้าบนถนนสายเขาใหญ่-ปราจีนบุรี ช่วงระหว่าง กม. 6.5-7 จะมีทางเดินเท้าที่อุทยานฯจัดทำเอาไว้ เดินเข้าไปเพียง 500 เมตร ก็จะถึงน้ำตกแห่งแรก คือน้ำตกผากระจายและเดินต่อไปอีกจะถึงน้ำตกผาหินขวาง น้ำตกผารากไทร น้ำตกผาชมพู และน้ำตกผาตะแบก รวมระยะทางในการเดินเท้าทั้งสิ้น ประมาณ 3 กิโลเมตรเศษ

    จุดชมทิวทัศน์
    จุดชมวิวทิวทัศน์ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ที่เด่นๆมีด้วยกัน 3 จุด คือ

    จุดชมทิวทัศน์ กม.30 ถนนธนรัตน์
    อยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 680 เมตรจากระดับน้ำทะเล สามารถชมทิวทัศน์ด้านทิศเหนือของอุทยานฯได้เป็นบริเวณกว้างและสวยงาม มองเห็นเทือกเขาสลับซับซ้อน แม้แต่ทุ่งนาหมู่บ้านท่ามะปรางที่อยู่ห่างไกล ก็ช่วยแต้มเติมให้ภูมิทัศน์งดงามยิ่ง

    จุดชมทิวทัศน์เขาเขียว (ผาตรอมใจ)
    นับเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงามน่าชมและเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวเป็น อย่างมาก มีลักษณะคล้ายผานกเค้าที่ภูกระดึง จะมองเห็นภูเขาร่มขวางอยู่เป็นแนวยาว และทิวทัศน์ที่สวยงามด้านจังหวัดปราจีนบุรี ตอนเช้าตรู่จะเห็นพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้าเป็นดวงกลมสีแดงเหนือสันเขาร่มที่ สวยงาม

    จุดชมทิวทัศน์ กม.9
    อยู่ช่วงกิโลเมตรที่ 9 ถนนขึ้นเขาเขียว สามารถมองทิวทัศน์ป่าไม้และภูเขาด้านทิศเหนือตลอดแนวได้เป็นอย่างดี

    เส้นทางเดินป่าประเภทเดินเที่ยวได้ภายในวันเดียว

    ทางเดินป่าแต่ละสายก็มีสิ่งที่น่าสนใจแตกต่างกันไป สำหรับเส้นทางเดินป่ามีดังนี้

    สายน้ำตกผากล้วยไม้-เหวสุวัต
    ทางสายนี้เลียบริมฝั่งลำตะคองไปโดยตลอด เป็นเส้นทางที่นักท่องเที่ยวทั่วไปรู้จัก ระยะทางจากสถานที่กางเต็นท์ผากล้วยไม้-น้ำตกผากล้วยไม้-น้ำตกเหวสุวัต รวมระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร

    สายน้ำตกเหวสุวัต-น้ำตกเหวไทร-น้ำตกเหวประทุน
    ทางเดินสายนี้เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว เป็นทางเดินบนไหล่เขาและสันเขาผ่านป่าแล้ววกลงสู่น้ำตกในหุบเขา รวมระยะทางประมาณ 3.5 กิโลเมตร

    สายหนองผักชี-คลองอีเฒ่า-บึงไผ่-ด่านช้าง
    เส้นทางนี้ผ่านป่าทึบและทุ่งหญ้าที่ชอบออกดอกขาวโพลนไปทั่วในช่วงฤดูฝน มีระยะทางไกลพอสมควร ใช้เวลาเดินประมาณ 5-7 ชั่วโมง มีทากเยอะ สำหรับผู้ที่ต้องพักแรมในระหว่างทางก็สามารถเตรียมอุปกรณ์ไปขอพักได้ที่บ้าน พักยามสายตรวจคลองอีเฒ่า และบ้านพักยามสายตรวจบึงไผ่

    สายดงงูเห่า-โป่งเครื่องบิน-ซากเครื่องบินตก
    เป็นอีกเส้นทางหนึ่งที่มีสัตว์ป่าชุกชุมมาก ระยะทางไม่ไกลนัก ประมาณ 3 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 1-2 ชั่วโมง นักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินป่าตามทางสายนี้ควรติดต่อเจ้าหน้าที่นำทาง

    สายน้ำตกกรองแก้ว-น้ำตกเหวสุวัต
    ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร เส้นทางนี้นักท่องเที่ยวไม่ค่อยนิยม เพราะทางเดินผ่านไปในป่าทึกและรกมาก ทั้งมีทากชุกชุมด้วย การเดินทางไปน้ำตกเหวสุวัตมีทางอื่นที่สะดวกกว่า

    สายชายป่าเขาเขียว-น้ำตกนางรอง
    เป็นเส้นทางเดินที่มีระยะทางไกลมากสายหนึ่ง แต่ก็เป็นที่นิยม ใช้เวลาเดินผ่านทุ่งหญ้าคาและหย่อมป่าลาดลงเล็กๆ และมีการปีนเขาสูงชันในช่วงสุดท้าย จึงอาจต้องใช้เวลาสำหรับเส้นทางนี้หนึ่งวันเต็มๆ

    เส้นทางเดินป่าที่ต้องใช้เวลามากกว่าหนึ่งวัน

    การเดินทางตามเส้นทางนี้ นักท่องเที่ยวจะต้องเตรียมอาหารและเครื่องนอนติดไปด้วย มีเส้นทางดังนี้

    จุดตรวจเนินหอม-เขาสมอปูน
    เส้นทางขึ้นเขาสมอปูนมีอยู่มากกว่าหนึ่งเส้นทาง แต่แนะนำให้ใช้เส้นทางขึ้นบริเวณจุดตรวจเนินหอม ซึ่งเป็นด่านขึ้นเขาใหญ่ ด้านที่เดินทางมาจากนครนายก/ปราจีนบุรี เพื่อจะได้ติดต่อเจ้าหน้าที่หน่วยเนินหอมนำทางขึ้นเขาสมอปูน

    เขาสมอปูน
    เป็นเสมือนแหล่งท่องเที่ยวขึ้นหน้ามาแรงของเขาใหญ่ เนื่องจากมีความบริสุทธิ์สวยงามมาก ลักษณะเป็นเทือกเขายอดตัด พื้นที่ราบบนยอดเขามีสภาพเป็นทุ่งหญ้าสวนหิน สลับกับป่าแคระและป่าดิบบางส่วน ด้วยสภาพที่เป็นลานหินทรายและทุ่งหญ้า ในช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาวบนนั้นจะมีดอกไม้ป่าที่สวยงาม เช่น กล้วยไม้ดิน"ม้าวิ่ง" ดอกกระดุมเงิน พราวทั่วไป นับว่าคุ้มค่าต่อการปีนป่ายเขาที่สุด การเดินทางจะต้องเตรียมอาหารและเครื่องนอนไปค้างแรม

    สายน้ำตกเหวสุวัต-ยอดเขาแหลม
    เป็นทางเดินป่าที่มีระยะทางไกลและยากลำบากมาก ในปี 2515 เคยมีการตั้งรางวัลสำหรับหญิงไทยคนแรกที่สามารถเดินป่าเส้นทางนี้ไปยังยอด เขาแหลมเป็นเงินถึง 60,000 บาท ต่อมาเส้นทางนี้มีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจอย่างสูง ระยะเวลาในการเดินทางไปกลับและพักแรมตามเส้นทางนี้ ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 วัน

    สายมอสิงโต-น้ำตกมะนาว-น้ำตกตาดตาภู-น้ำตกตาดตาคง
    เส้นทางนี้เป็นอีกเส้นทางหนึ่งที่นักเดินทาง นักนิยมธรรมชาติแต่ละคน ชอบนำมาบอกเล่าถึงความงามและการผจญภัยอันน่าตื่นเต้น เป็นทางเดินป่าที่ผ่านน้ำตกมากมาย เช่นเดียวกับเส้นทาง "กม.5-น้ำตกผากระจาย-น้ำตกผาชมพู-น้ำตกผาตะแบก"

    อุทยานแห่งชาติทับลาน

    ข้อมูลทั่วไป :

    อุทยานแห่งชาติทับลาน เป็นอุทยานที่มีเนื้อที่มากเป็นอันดับสองรองจากอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน คือประมาณ 2,240 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,400,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอปักธงชัย อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี

    การเดินทาง :

    จากอำเภอกบินทร์บุรีใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 304 สายอำเภอกบินทร์-จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวง ห่างจากจังหวัดปราจีนบุรี ประมาณ 90 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดนครราชสีมา ประมาณ 107 กิโลเมตร ระยะทางประมาณ 32 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานฯ

    สิ่งอำนวยความสะดวก :

    อุทยานฯ ยังไม่มีบ้านพักบริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวต้องการเข้าพักแรมจะต้องนำเต็นท์ไปเอง โดยเสียค่าพื้นที่คนละ 10 บาท/คืน ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุยานแห่งชาติทับลาน ตู้ ปณ. 37 ปท. อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี 25116 หรือที่กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ บางเขน กรุงเทพฯ โทร. 561-4292 ต่อ 724-5, 579-5734, 579-7223

    เนื่องจากอุทยานแห่งชาติทับลาน มียุงลายชุกชุมมาก ดังนั้นจึงควรเตรียมการป้องกันให้พร้อม

    ลักษณะภูมิประเทศ :

    ประกอบด้วยภูเขาใหญ่น้อยสลับซับซ้อนต่อเนื่องเป็นอาณาบริเวณกว้างขวาง ยอดเขาที่สูงที่สุดคือยอดเขาละมั่ง มีความสูง 992 เมตรจากระดับน้ำทะเล รองลงมาคือ ภูสามง่าม สูงจากระดับน้ำทะเล 949 เมตร ซึ่งภูสามง่ามนี้ เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำหลายสาย เช่น ห้วยขี้มิ่น คลองตาดำ ห้วยปลาก้าง ห้วยสวนน้ำหอม แต่ละสายจะไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำมูล และแม่น้ำบางปะกง

    พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :

    สำหรับสภาพป่านั้นประกอบไปด้วย ป่าลาน ป่าเต็งรัง และป่าดิบ

    เริ่มจากป่าลานซึ่งเป็นป่าลานผืนใหญ่แห่งสุดท้ายของ ประเทศไทย ต้นลานนั้นเป็นพันธุ์ไม้ดึกดำบรรพ์ ช่อดอกจะออกที่ยอดเมื่อมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป มีดอกมากกว่า 60 ล้านดอกในหนึ่งต้น และเมื่อออกดอกแล้ว ต้นลานต้นนี้จะตายไป

    ส่วนป่าลึกข้างในนั้นเป็นป่าดงดิบสลับกับป่าเต็งรัง จึงมีสัตว์ป่ามากมายอาศัยอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ช้างป่า กระทิง วัวแดง กวาง เก้ง เสือโคร่ง กระรอก รวมถึงนกชนิดต่างๆอีกมากมาย

    ในช่วงฤดูฝนบางช่วงของเส้นทางยังมีพรรณไม้ดอกเล็กๆ สวยงามมากมาย โดยเฉพาะลานหินที่ปรากฏโดยทั่วไปจะเหมาะแก่การเติบโตของข่าหวายหรือหนาม เดือนห้า ดอกไม้ที่มีก้านสีแดงเกล็ดน้ำใสๆจับเป็นเม็ดอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นยังมีดอกไม้ป่าที่หาดูได้เฉพาะในป่าเท่านั้น เช่น ดอกกระดุมเงิน กระดุมทอง ขึ้นเป็นกอเบียดเสียดกันสวยงาม เอื้องม้าวิ่ง สร้อยสุวรรณา เป็นต้น

    จุดเด่นที่น่าสนใจ :

    ป่าลาน และสวนพักผ่อน
    อยู่บริเวณที่ทำการอุทยานฯ ป่าลาน เป็นป่าลานที่ขึ้นเองตามธรรมชาติแห่งสุดท้ายของประเทศไทย เป็นพันธุ์ไม้ดึกดำบรรพ์ตระกูลปาล์มที่หายาก จะออกดอกเมื่อต้นมีอายุ 20 ปีขึ้นไป ช่วงฤดูออกดอกในราวเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ดอกมีสีเหลืองสดสวยงามมาก หลังออกดอกแล้วต้นลานนั้นจะตายไป นอกจากดงลานแล้ว ภายในพื้นที่อุทยานฯ ยังปกคลุมด้วยป่าเต็งรัง และป่าดงดิบที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และนกชนิดต่าง ๆ สวนพักผ่อน อยู่ติดกับที่ทำการอุทยานฯ พื้นที่ประมาณ 20 ไร่ ประกอบด้วยต้นลาน และพันธุ์ไม้นานาชนิด ภายในร่มรื่น มีซุ้มสำหรับนั่งพักผ่อน กลางสวนมีสระน้ำขนาดใหญ่

    น้ำตกเหวนก กก
    อยู่ห่างจากบ้านทับลาน ประมาณ 7 กิโลเมตร เดินเท้าอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จึงจะถึงตัวน้ำตก เป็นน้ำตกที่สวยงาม มีนน้ำไหลเฉพาะในช่วงฤดูฝนเท่านั้น

    อ่างเก็บน้ำทับลาน
    อยู่ห่างจากบ้านทับลานประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นอ่างเก็บน้ำที่สวยงามล้อมรอบไปด้วยภูเขา อากาศเย็นสบายเหมาะแก่การพักผ่อน

    น้ำตกห้วยใหญ่
    อยู่ทางทิศตะวันตกของ อุทยานฯ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่มีความสวยงาม มีความสูง ประมาณ 50 เมตร กว้าง 30 เมตร การเดินทาง แยกจากทางหลวงหมายเลข 304 ตรงหลักกิโลเมตรที่ 79 เข้าไปอีก 6 กิโลเมตร อยู่ในเขตอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ในหน้าแล้งนำรถยนต์เข้าได้เกือบถึงตัวน้ำตก


    หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 044)

    ตำรวจท่องเที่ยว

    1155 , 0 4434 1777-9

    ท่าอากาศยานนครราชสีมา

    0 4425 9524

    บมจ. การบินไทย (สนามบิน)

    0 4425 5425

    ประชาสัมพันธ์จังหวัด

    0 4425 1818

    โรงพยาบาลมหาราช

    0 4425 4990-1

    สถานีขนส่งแห่งที่ 1

    0 4424 2889

    สถานีขนส่งแห่งที่ 2

    0 4425 6006-9

    สถานีตำรวจภูธร

    0 4424 2010

    สถานีรถไฟ

    0 4424 2044

    สำนักงานจังหวัด

    0 4424 3798

    0 ความคิดเห็น: