00:29

จังหวัดร้อยเอ็ด

บเอ็ดประตูเมืองงาม เรืองนามพระสูงใหญ่
ผ้าไหมสาเกต บุญผะเหวดประเพณี
มหาเจดีย์ชัยมงคล งามน่ายลบึงพลาญชัย

เขตกว้างไกลทุ่งกุลา โลกลือชาข้าวหอมมะลิ




บึงพลาญชัย

ประวัติ


จังหวัดร้อยเอ็ด ตามประวัติที่นายสบายได้อ่านมาเล่าว่า อดีตเคยเป็นเมืองใหญ่ที่รุ่งเรืองมาก ชื่อว่า สาเกตนคร มีประตูเข้าเมือง 11 ประตู เมืองขึ้น 11 เมือง แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาในด้านต่าง ๆ มากมาย เมืองร้อยเอ็ดได้เปลี่ยนแปลงไปจนแทบจะหาริ้วรอยแห่งอดีตไม่พบ ประวัติศาสตร์ของเมืองร้อยเอ็ด เริ่มปรากฏขึ้นในราวสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยมีเจ้าลาวจากนครจำปาศักดิ์ ได้เดินทางมาตั้งบ้านเรือนในบริเวณที่เป็นอำเภอสุวรรณภูมิในปัจจุบัน ต่อมาได้มาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 แห่งกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ย้ายเมืองใหม่มาตั้งที่บริเวณเมืองร้อยเอ็ดปัจจุบัน ส่วนเมืองสุวรรณภูมิเดิมก็ยังคงมีอยู่ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์คิดกบฏต่อกรุงเทพฯ ได้ยกทัพเข้ามาตีหัวเมืองรายทางจนถึงนครราชสีมา แต่ก็ถูกทัพไทยตีแตกพ่ายไปในที่สุด
ครับ


อาณาเขต :

ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดกาฬสินธุ์ และมุกดาหาร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดยโสธร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดมหาสารคาม
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดสุรินทร์ และศรีสะเกษ

ห่าง จากกรุงเทพฯ509 กิโลเมตร พื้นที่ 7737.087 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ3 กิ่งอำเภอคือ อ.เมืองร้อยเอ็ด อ.เกษตรวิสัย อ. ปทุมรัตน์ อ.จตุรพักตรพิมาร อ. ธวัชบุรี อ. พนมไพร อ. โพธิ์ชัย อ. โพนทอง อ. เสลภูมิ อ. สุวรรณภูมิ อ.อาจสามารถ อ. หนองพอก อ. เมืองสรวง กิ่ง อ. เมยวดี กิ่ง อ. โพนกราย กิ่ง อ.ศรีสมเด็จ


แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง


ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองร้อยเอ็ด ถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด มีลักษณะเป็นเกาะอยู่กลางบึงน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 2 แสนตารางเมตร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ตกแต่งเป็นสวนไม้ดอกขนาดใหญ่ มีพันธุ์ไมต่างๆ ร่มรื่นและในบึงน้ำมีปลาชนิดต่างๆ หลายพันธุ์มากมาย มีเรือสำหรับให้ประชาชนได้พายเล่นในบึง นอกจาก นั้นยังใช้เป็นสถานที่จัดงานเทศกาลของจังหวัด รวมทั้ง จัดมหรสพต่างๆ ภายในบึงพลาญชัยยังมีสิ่งก่อสร้างที่น่า สนใจ คือ

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นที่เคารพบูชาของชาว ร้อยเอ็ด
พระพุทธรูปปางลีลาขนาดใหญ่ กลางสวนดอกไม้
พานรัฐธรรมนูญ และนาฬิกาดอกไม้
ภูพลาญชัย มีลักษณะเป็นสวนสัตว์และน้ำตกจำลอง
สนามเด็กเล่น นกชนิดต่างๆ สวนสุขภาพ เป็นสวนออกกำลังกาย เพื่อให้ประชาชนได้ออก กำลังกายอันเป็นการเสริมสร้างพลานามัยแก่ชาว ร้อยเอ็ด

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด เป็นสวนสาธารณะกลางเมือง อยู่หน้าศาลากลางจังหวัด เปิดเมื่อปี พ.ศ. 2529 มีเนื้อที่ประมาณ 225 ไร่ ตกแต่งบริเวณ ด้วยไม้ดอกไม้ประดับ และต้นไม้นานาพรรณ จุดเด่นของสวนแห่งนี้อยู่ที่น้ำพุบริเวณใจกลางสวนที่พุ่งฉีดในระดับสูง หอ นาฬิกากลางเมืองสีขาวสวยเดินเป็นสง่าแก่เมืองร้อยเอ็ด มีอาคารอ่านหนังสือไว้สำหรับบริการประชาชน สถานที่แห่งนี้ใช้ เป็นสถานที่จัดงานเทศกาลและพิธีการต่าง ๆ ของจังหวัด

วัดบูรพาภิราม

แหล่งท่องเที่ยว:

วัด บูรพาภิราม ตั้งอยู่ที่ถนนผดุงพานิช ตำบลในเมือง ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ใครที่มาถึงตัวเมืองร้อยเอ็ดคงได้พบกับภาพที่น่าตื่นตาขององค์พระเจ้าใหญ่ หรือ พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี ประทับยืนเด่นเป็นสง่ามองเห็นได้จากระยะไกล องค์พระเจ้าใหญ่นั้นประดิษฐานอยู่ที่วัดบูรพาภิรามในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด อันเป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวร้อยเอ็ด ซึ่งแสดงถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอันแรงกล้าของชาวเมืองที่ได้สร้างพระ พุทธรูปปางประทานพรที่กล่าวกันว่าสูงที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้องค์พระเจ้าใหญ่ยังเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด และปรากฎอยู่ในคำขวัญของเมืองร้อยเอ็ดว่า "สิบเอ็ดประตูงาม เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมสาเกตุ บุญผะเหวดประเพณี มหาเจดีย์ไชยมงคล งามน่ายลบึงพระลานชัย เขตกว้างไกลทุ่งกุลา โลกลือชาข้าวหอมมะลิ"

พระ พุทธรัตนมงคลมหามุนี หรือพระเจ้าใหญ่ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2516 องค์พระนั้นสร้างขึ้นด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ความสูงขององค์พระ วัดจากพระบาทถึงยอดเกศสูงถึง 59 เมตร 20 เซนติเมตร และมีความสูงทั้งหมด 67 เมตร 85 เซนติเมตร ที่ฐานพระพุทธรูปองค์นี้มีห้องที่ใช้ในศาสนกิจและห้องพิพิธภัณฑ์จำนวนหลาย ห้อง

วัดบูรพาภิรามสร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2456 เดิมชื่อ วัดหัวรอ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น วัดบูรพาภิราม เพราะในสมัยนั้นได้ใช้เป็นสถานที่สำหรับพักค้างแรมของพ่อค้าและประชานที่ อาศัยการเดินเท้าเป็นหลัก เพราะยังไม่มีพาหนะการเดินทางสะดวกเหมือนปัจจุบัน วัดหัวรอจึงเป็นจุดเริ่มของการพักแรมในคืนแรกของการเดินทางและมักเป็นจุดนัด พบกันที่วัดแห่งนี้ ต่อมาพระอธิการหล้า อินทว์โส ได้ขยายวัดให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และได้เรียกชื่อวัดใหม่ว่า "วัดบูรพา" เพราะว่าตั้งอยู่ในทิศตะวันออกของเมือง แต่ในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่เพื่อความเหมาะสมว่า "วัดบูรพาภิราม" ด้านทิศตะวันออกของบริเวณวัดอยู่ติดกับคูรอบเมืองสมัยเก่า นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดยังเป็นที่ตั้งศูนย์งานพระธรรมทูต โรงเรียนปริยัติธรรม และมีศาลเจ้าพ่อมเหศักดิ์ซึ่งเป็นที่เคารพของชาวเมืองอยู่ด้วย ความเชื่อและวิธีการบูชา ชาวร้อยเอ็ดถือว่าพระเจ้าใหญ่นั้นเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่คอยปก ป้อง คุ้มครองชาวร้อยเอ็ด ให้มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขด้วยความสูงขององค์พระทำให้เกิด ความเชื่อว่า หากได้มากราบไหว้ จะได้อานิสงส์สูงเทียมเมฆเทียมฟ้า ทำการสิ่งใดก็สำเร็จผลด้วยประการทั้งปวง

วัดสระทอง

ตั้งอยู่ในตัวเมือง เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระสังกัจจายน์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ชาวร้อยเอ็ดเคารพสักการะสร้างในสมัยใดไม่ปรากฏ เมื่อปี พ.ศ. 2325 พระยาขัตติยะวงษา(ท้าวธน) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองร้อยเอ็ด คนแรก ได้พบพระองค์นี้เห็นว่ามีความเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์มาก จึงได้นำมาประดิษฐานที่วัดสระทองและยก ใ้ห้เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง ในอดีตข้าราชการทุกคนต้องมาสาบานตนต่อหน้าหลวงพ่อว่าจะซื่อสัตย์ต่อบ้าน เมืองเป็นประจำทุกปี

วัดกลางมิ่งเมือง


ตั้งอยู่บนเนินใจกลางเมืองเป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐาน ว่าสร้างก่อนตั้งเมืองร้อยเอ็ดส่วนอุโบสถสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลายในอดีตเคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำ พิพัฒน์สัตยา ปัจจุบัน เป็นสถานที่ศึกษาปริยัติธรรมและ สถานที่สอบธรรมสถานชื่อโรงเรียนสุนทรธรรมปริยัติ บริเวณผนังรอบอุโบสถมีลวดลายภาพวาด แสดงถึงพุทธ ประวัติ สวยงาม และมีค่าทางศิลปะ

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอธวัชบุรี

ปรางค์กู่หรือปราสาทหนองกู่

ปรางค์กู่ หรือปราสาทหนองกู่ ตำบลมะอึอำเภอ ธวัชบุรี หรือสายร้อยเอ็ด – โพนทอง ประมาณ 8 กิโลเมตรมีทางแยกด้านขวามือ เข้าปรางค์กู่ประมาณ 1กิโลเมตรเลี้ยวซ้ายอีกครั้งเข้าวัดศรีรัตนารามปรางค์กู่ตั้งอยู่ภายในวัดปรางค์กู่เป็นกลุ่มอาคารที่มีลักษณะแบบ เดียวกันกับอาคารที่เชื่อกันว่า คือ อโรคยศาสล ตามที่ ปรากฏในจารึกปราสาทตาพรหมอันประกอบด้วยปรางค์ ประธาน บรรณาลัย กำแพงพร้อมซ้อมประตูและสระน้ำ นอกกำแพง โดยทั่วไปนับว่าคงสภาพเดิมพอควรโดย เฉพาะปรางค์ประธานชั้นหลังคาคงเหลือ 3 ชั้น และ มีฐานบัวยอดปรางค์อยู่ตอนบนอาคารอื่นๆ แม้หักพังแต่ ทางวัดก็ได้จัดบริเวณให้ดูร่มรื่นสะอาดตา นอกจากนี้ภายในกำแพงด้านหน้าทางทิศตะวันออก เฉียงใต้ ใต้ยังพบโบราณวัตถุอีกหลายชิ้นวางเก็บรักษาไว้ใต้อาคารไม้ ได้แก่ทับหลังหินทรายสลัก เป็นภาพบุคคล นั่งบนหลังช้างหรือวัว ภายใน ซุ้มเรือนแก้วหน้ากาล จากการสอบถามเจ้าอาวาส วัดศรีรัตนาราม กล่าวว่าเป็น ทับหลังหน้าประตูมุข ของปรางค์ประธาน เสากรอบประตู 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งมีภาพสลักรูปฤาษีที่โคนเสาศิวลึงค์ขนาดใหญ่ พร้อมฐานที่ได้จากทุ่งนาด้านนอกออกไป และชิ้น ส่วนบัวยอดปรางค์ ซึ่งถูกดัดแปลงเป็นฐานของพระสังกัจจายน์ปูนปั้น กำหนดอายุุว่าสร้างราว พุทธศตวรรษที่ 18

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเกษตรวิสัย
ปรางค์ประธาน
ปรางค์ประธาน หรืออาคารหลักที่มี 3 องค์นั้น ตั้งเรียงอยู่บนฐานเดียวกันในแนวเหนือ-ใต้ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หันหน้าไปทางทิศ ตะวันออก ปรางค์องค์กลางมีขนาดใหญ่กว่าอีกสององค์ที่ขนาบข้าง และมีมุขยื่นทางด้านหน้าเป็นห้องยาว มีประตูทางเข้า 3 ทาง คือด้านหน้าและด้านข้างของห้องยาวทั้งสอง ส่วน,ฐานขององค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาทราย ยังคงปรากฏลวดลายสลัก เป็นชั้นเป็นแนว ผนังก่ออิฐที่ห้องในสุดหรือส่วนครรภคฤหะได้ ค้นพบศิวลึงค์ซึ่งเป็นตัวแทนของเทพสูงสุด (พระอิศวร) และ ความอุดมสมบูรณ์ตามลัทธิความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย นอกจากนี้ยังพบทับหลังอีกหลายชิ้น ชิ้นหนึ่งสลัก เป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณในซุ้มเรือนแก้ว โดยยืนอยู่เหนือหน้ากาลซึ่งมีมือยึดจับท่อนพวงมาลัยอีกทีหนึ่ง และยัง ได้พบซุ้มหน้าบันสลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณท่ามกลางลายก้านขดอีกด้วย ส่วนปรางค์อีกสององค์ที่ขนาบนั้น มีขนาดและลักษณะเดียวกัน ฐานก่อด้วยศิลาทราย ผนังก่ออิฐที่ประตูเพียงด้านหน้า ภายในมีแท่นรูปเคารพวางอยู่

กู่กาสิงห์



ตั้งอยู่ในวัดบูรพากู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย สามารถเดินทางได้ 2 ทางคือ ใช้เส้นทางร้อยเอ็ด-เกษตรวิสัย ทางหลวงหมายเลข 214 ระยะทาง 47 กิโลเมตร เดินทางต่อไปตามทางหลวงสายเกษตรวิสัย-สุวรรณภูมิ ประมาณ 10 กิโลเมตรมีทางแยกขวากู่กาสิงห์เป็นระยะทางอีก 10 กิโลเมตร หรืออาจจะใช้เส้นทางร้อยเอ็ด-สุวรรณภูมิ-สุรินทร์ (ทางหลวง215 ต่อด้วย 214) ระยะทาง 60 กิโลเมตร ถึงวัดกู่พระโกนา ด้านตรงข้ามวัดมีทางแยกไปกู่กาสิงห์ ระยะทางอีก 18กิโลเมตร กู่กาสิงห์ เป็นสถาปัตยกรรมแบบเขมรอีกแห่งหนึ่ง มีขนาดค่อนข้างใหญ่และยังอยู่ในสภาพดีพอสมควร ประกอบด้วยปรางค์ 3 องค์ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน มีวิหาร หรืออาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เรียกว่าบรรณาลัยอยู่ทางด้านเหนือหน้าทั้งสองข้าง ทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงซึ่งมีซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ ถัดออกไปเป็นคูน้ำรูปเกือกม้าล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง

รอบอีกชั้นหนึ่ง ปรางค์ประธาน หรืออาคารหลักที่มี 3 องค์นั้น ตั้งเรียงอยู่บนฐานเดียวกันในแนวเหนือ-ใต้ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปรางค์องค์กลางมีขนาดใหญ่กว่าอีก 2 องค์ที่ขนาบข้าง และมีมุขยื่นทางด้านหน้าเป็นห้องยาวมีประตูทางเข้า 3 ทางคือด้านหน้าและด้านข้างของห้องยาวทั้งสอง ส่วนฐานขององค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาทรายยังคงปรากฏลวดลายสลักเป็นชั้นเป็นแนวเช่น ลายกลีบบัวและลายกนก ผนังก่ออิฐ ที่ห้องในสุดหรือ ส่วนครรภคฤหะได้ค้นพบศิวลึงค์ ซึ่งเป็นตัวแทนของเทพสูงสุด (พระอิศวร)และความอุดมสมบูรณ์ตามลัทธิความ เชื่อในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย นอกจากนี้ยังพบทับหลังอีกหลายชิ้น ชิ้นหนึ่งสลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณในซุ้มเรือนแก้ว โดยยืนอยู่เหนือหน้ากาลซึ่งมีมือยึดจับท่อนพวงมาลัยอีกทีหนึ่ง และยังได้พบซุ้มหน้าบันสลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณท่ามกลางลายก้านขดอีกด้วย ส่วนปรางค์อีก 2 องค์ที่ขนาบนั้น มีขนาดและลักษณะเดียวกัน ฐานก่อด้วยศิลาทราย ผนังก่ออิฐมีประตูเพียงด้านหน้า ภายในมีแท่นรูปเคารพวางอยู่จากลวดลายของศิลปกรรม แบบแผนผังและโบราณวัตถุที่พบแสดงให้ทราบว่า กู่กาสิงห์สร้างขึ้นในแบบศิลปะเขมรที่เรียกว่า "แบบบาปวน"อายุราว พ.ศ. 1560-1630 เพื่อเป็นเทวสถานอุทิศถวายแด่พระอิศวร เทพเจ้าสูงสุดองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอสุวรรณภูมิ

บึงเกลือ


บึงเกลือ (บุ่งเกลือ) อยู่ในเขตตำบลเมืองไพร อำเภอเสลภูมิ ห่างจากตัวอำเภอเสลภูมิไปทางทิศตะวันออกประมาณ 10 กิโลเมตร เป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ 7,500 ไร่ ในบังน้ำแห่งนี้มีน้ำขังตลอดปี ริมบึงมีหาดทรายขยวาสะอาด กว้างขวางในวันหยุดจะมีนักท่องเที่ยวมาพักผ่อนกันมาก

กู่พระโกนา



กู่พระโกนา ตั้งอยู่ที่บ้านกู่ หมู่ที่ 2 ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ การเดินทาง จากจังหวัดร้อยเอ็ดเดินทางตามทางหลวงสาย215 ผ่านอำเภอเมืองสรวง แล้วเข้าสาย 202 ผ่าน อ.สุวรรณภูมิ จากนั้นเข้าสาย214 ไปประมาณ 12 กิโลเมตร ถึงกู่พระโกนาระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร จากตัวจังหวัดปัจจุบันมีวัดสร้างอยู่ในบริเวณเดียวกัน มีถนนเป็นทางแยกเข้าไป ทางด้านซ้ายมือด้านหน้าจะเป็นสวนยางกู่พระโกนาประกอบด้วยปรางค์อิฐ 3 องค์ บนฐานศิลาทรายเรียงจากเหนือ – ใต้ทั้งหมดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีกำแพงล้อม และซุ้มประตูเข้า – ออกทั้งปรางค์องค์ กลางถูกดัดแปลงเมื่อ พ.ศ. 2471 โดยการฉาบปูนทับและก่อขึ้นเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมีซุ้มพระทั้ง 4 ทิศ หน้าปรางค์องค์กลางชั้นล่างสร้างเป็นวิหาร พระพุทธบาท ประดับเศียรนาค 6 เศียรของเดิมไว้ด้านหน้าส่วน ปรางค์อีก 2 องค์ ก็ได้รับการบูรณะจากทางวัด เช่นกัน แต่ไม่ถึงกับเปลี่ยนรูปทรงอย่างปรางค์องค์กลาง ปรางค์องค์กลางถูกดัดแปลงเมื่อ พ.ศ. 2471 โดยการฉาบปูนทับและก่อขึ้นเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมีซุ้มพระทั้ง 4 ทิศ หน้าปรางค์องค์กลางชั้นล่าง สร้างเป็นวิหาร มีพระพุทธบาทประดับ เศียรนาค 6 เศียรของเดิมไว้ด้านหน้า ส่วนปรางค์ อีก 2 องค์ ก็ได้รับการบูรณะจากทางวัดเช่นกันแต่ไม่ถึงกับเปลี่ยนรูปทรงอย่างปรางค์องค์กลาง ปรางค์องค์ทิศเหนือ ทางวัดสร้างศาลาครอบ ภายในมีหน้าบันสลักรามายณะและประทับสลัก ภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์อยู่ที่เดิมคือเหนือประตูทาง ด้านหน้า ส่วนทับหลังประตูด้านทิศตะวันตกหล่นอยู่บน พื้นเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑปรางค์องค์ทิศใต้ยังคงมีทับหลังของเดิมเหนือประตู หลอกด้านทิศเหนือเป็นภาพเทวดานั่งชันเข่าในซื้อเรือนแก้วเหนือหน้ากาลนอกจากนี้ ทางด้านหน้ายังมีทับหลังหล่นที่พื้นเป็นภาพพระอิศวรประทับนั่งบนหลังโคและมีเสานางเรียงวางอยู่ด้วย สันนิษฐานว่ากู่พระโกนาเดิมคงจะมีสะพานนาคและทาง เดินประทับเสานางเรียงทอดต่อจากซุ้มประตูหน้าไปยังสระน้ำหรือบาราย ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 300 เมตร จากรูปแบบลักษณะทางศิลปกรรมทั้งหมดของภาพสลัก และเสากรอบประตูซึ่งเป็นศิลปะขอม ที่มีอายุในราว พ.ศ. 1560-1630 (แบบปาปวน) สันนิษฐานว่ากู่พระโกนาคงจะสร้างขึ้นในราว พุทธศตวรรษที่ 16

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอหนองพอก


วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์นาราม (ผาน้ำย้อย)




วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม (ผาน้ำย้อย)ตั้งอยู่ที่ บ้านโคกกลาง ต.ผาน้ำย้อย อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด (ห่างจาก อ.หนองพอก 13 กม. ถนนสายหนองพอก-เลิงนกทา) มูลเหตุในการก่อตั้งวัด เมื่อปี พ.ศ.2493-2494 ท่านพระอาจารย์ศรี มหาวีโร ได้ธุดงค์มาเจริญสมถกัมมัฎฐา่นเพื่อแสวงหาความสงบ ครั้นต่อมาเมื่อ พ.ศ.2493-2500 ท่านพระอาจารย์ได้พาพระภิกษุซึ่งเป็นศิษย์มาปฏิบัติธรรม ซึ่งสถานที่แห่งนี้แต่ก่อนเป็นป่าดงดิบสภาพป่า สวยงามตามธรรมชาติ มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่สาเหตุที่ได้ชื่อว่าผาน้ำย้อย เพราะภูเขาลูกนี้มีสภาพเป็นหน้าผาสูงชัน มีน้ำตกไหลหยดย้อยตลอดเวลาทั้งปีคล้ายกับน้ำตกจากชายคา เมื่อชาวบ้านเจ็บป่วยก็จะได้น้ำ ณ จุดนี้ไปดื่มกิน เพื่อรักษาโรคตามความเชื่อจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ได้ชื่อโดยสมบูรณ์ว่า วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนารามครั้นต่อมา สภาพป่าถูกทำลายเนื่องจากประชาชนได้ลักลอบ ตัดไม้บางกลุ่มก็เข้าไปทำไม้แปรรูปขาย บางกลุ่มก็เข้าไปทำลายเพื่อเข้าไปอาศัยอยู่ปฏิบัติเพื่ออุดมการณ์ จึงเป็นสาเหตุให้ทางราชการได้พยายาม หาวิธีปราบปรามด้วยวิธีต่างๆ ต่อมาได้พิจารณาเห็นความสำคัญของพุทธศาสนาว่า พระพุทธศาสนาเป็นที่รวมจิตใจของประชาชนได้ เพราะพระพุทธศาสนาได้สอนให้คนเป็นคนดี มีความรักหมู่รักคณะ เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมอัน จะนำความสงบมั่นคงให้แก่ประเทศชาติ บ้านเมืองได้ ดังนั้นในปี พ.ศ.2517 น.อ.ประสิทธิ์ ทองใบใหญ่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ในสมัยนั้น จึงได้กราบนิมนต์ท่านพระอาจารย์ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม ต.ศรีสมเด็จ อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด เพื่อให้ท่านพิจารณาตั้งวัดเป็นการถาวรขึ้น เพื่อจะได้ใช้สถานแห่งนี้เป็นที่ปฏิบัติธรรม และอบรมสั่งสอนศีลธรรมให้กับประชาชน ตามหลักของพระพุทธศาสนา ซึ่งตามแนวปฏิบัติของท่าน พระอาจารย์ศรี มหาวีโร ท่านได้ปฏิบัติเคร่ง- ครัดในธุดงควัตร และการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ อันเป็นเหตุผลให้ความตรึงเครียดทางด้านการเมือง การก่อการร้ายลดลง และได้้หมดไปในที่สุด ดังที่ได้เห็นในขณะนี้ และในปีนี้นั้นเอง ท่านได้ส่งพระมาจำพรรษา จำนวน5 รูป ซึ่งมี หลวงปู่ บุญศรี ญาณธมฺโม รวมอยู่ด้วย เนื้อที่ของวัดมีประมาณ 28,000 ไร่ และยังได้ปลูกต้นไม้เสริมขึ้นอีก 300,000 ต้น

เสนาสนะและสิ่งสำคัญ
เริ่มพัฒนาปี พ.ศ. 2517-2546
1. สร้างอ่าง เหมืองฝายเก็บกักน้ำขนาดใหญ่จำนวน 3 แห่ง ข้างล่าง 2 แห่ง และบนเขาอีก 1 แห่ง
2. สร้างศาลาการเปรียญขนาดใหญ่ กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร
3. สร้างศาลาหอฉันท์ 2 ชั้น กว้าง 25 เมตร ยาว 40 เมตร จุพระเณรได้ประมาณ 1,000 รูป
4. สร้างสำนักงานเลขาพระ 2 ชั้น คอนกรีตเสริม เหล็ก กว้าง 5 เมตร ยาว 20 เมตร
5. สร้างตำหนักสมเด็จพระสังฆราช กว้าง 20 เมตร ยาว 20 เมตร
6. สร้างตึกรับรองพระเถระ คอนกรีต 2 ชั้น กว้าง 8 เมตร ยาว 25 เมตร จำนวน 2 หลัง
7. สร้างโรงครัว กว้าง 15 เมตร ยาว 25 เมตร จำนวน 1 หลัง
8. สร้างที่พักสำนักแม่ชี จำนวน 1 หลัง
9. สร้างกุฏิกัมมัฎฐาน ข้างล่างและข้างบนเขา จำนวน 700 หลัง
10.สร้างห้องน้ำ-ห้องส้วม ไว้ 19 แห่ง มีห้องส้วม จำนวน 200 หัอง
11.สร้างถังเก็บน้ำฝนขนาดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-10 เมตร จำนวน 6 ถัง
12. สร้างถนนขึ้นหลังเขาผาน้ำย้อย (ลาดยาง) ความยาว ประมาณ 10 กม.
13. สร้างพระมหาเจดีย์ชัยมงคล ขนาดใหญ่บนเขา ผาน้ำย้อย ขนาดความกว้าง-ความยาว 101 เมตร ความสูงจากพื้นถึงยอดเจดีย์ 109 เมตร และมีพระเจดีย์ องค์เล็กรองลงมา 8 องค์ รายล้อมทั้ง 8 ทิศ
14. สร้างวิหารคต เรียงรายรอบองค์พระมหา เจดีย์ชัยมงคล
15. สร้างกำแพงเอนกประสงค์ล้อมรอบพระมหาเจดีย์ฯ ภายในกำแพงมีห้องน้ำ-ห้องส้วม 1,000 ห้อง พร้อมที่พักรอบพระมหาเจดีย์ ยาว 3,500 เมตร สูง 5 เมตร หนา 4 เมตร โครงสร้างคอนกรีต เสริมเหล็ก
16. สร้างตำหนักสมเด็จพระสังฆราชบนเขาผา น้ำย้อย 1 ตำหนัก
17. สร้างตึกรับรองหลวงปู่ บนหลังเขา 1 หลัง
18. สร้างกำแพงด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 3 เมตร ยาวรอบวัดประมาณ 120 กม. คลุมพื้นที่วัด 28,000 ไร่ ยังไม่เสร็จสมบูรณ์

ทุ่งกุลาร้องไห้



ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นทุ่งกว้างใหญ่ของภาคอีสาน มีอาณาเขตครอบคลุมถึง 5 จังหวัด คือ ในแนวทิศเหนือนั้นครอบคุลมอำเภอปทุมรัตน์ อำเภอเกษตรวิสัย และอำเภอสุวรรณภูมิ ของจังหวัดร้อยเอ็ด ในแนวทิศใต้มีลำน้ำมูลทอดยาวตลอดพื้นที่อำเภอชุมพล บุรี อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ในแนวทิศตะวันตกผ่านอำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร และอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยของจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ประมาณ 3 ใน 5 นั้น อยู่ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด ทุ่งกุลารอ้งไห้มีเนื้อที่กว้าง 2,107,681 ไร่ สาเหตุที่ทุ่งกว้างแห่งนี้ได้ชื่อว่าทุ่งกุลาร้องไห้นั้น ก็ด้วยมีเรื่องเล่ากันว่าพวก กุลาซึ่งเป็นพวกที่เดินทางค้าขายระหว่างเมืองต่าง ๆ ในสมัยโบราณได้ชื่อว่าเป็นนักต่อสู้ คือ มีความเข้าแข็งอดทนเป็น เยี่ยมแต่เมื่อพวกกุลาเดินทางมาถึงทุ่งนี้ ได้รับความทุกข์ยากเป็นอันมากจนถึงกับร้องไห้ เพราะตลอดทุ่งนี้ไม่มีน้ำหรือ ต้นไม้ใหญ่เลย ฤดูแล้งแผ่นดินก็แห้งแตกระแหง ปัจจุบันทุ่งอันกว้างใหญ่นี้ได้รับการพัฒนาจากส่วนราชการและหน่วย งานต่าง ๆ บางแห่งก็ทำการเกษตรกรรม บางแห่งก็ใช้เป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ ซึ่งนับแต่จะมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นเรื่อย ๆ ศูนย์พัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ห่างจากที่ว่าการอำเภอสุวรรณภูมิ 6 กิโลเมตร เลยกู่พระโกนาไปเล็กน้อย

สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดี


เป็นโครงการสวนพกฤษศาสตร์ในวรรณคดี ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งอยู่ในบริเวณป่าสงวนแห่งชาติดงมะอี่ ตำบลผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 85 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ เป็นเนื้อที่สำหรับปลูกต้นไม้แบ่งสำหรับปลูกต้นไม้แบ่งตามวรรณคดี เช่น เรื่องพระเวสสันดร ลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย ลานพุทธประวัติ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรแยกตามสรรพคุณบริเวณสวนมีสภาพภูมิประเทศสวยงาม

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์


เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์เป็นหน่วยงาน ราชการที่สังกัดกระทรวงป่าไม้กระทรวงเกษตร และ สหกรณ์ มีพื้นที่ประมาณ151,242 ไร่ หรือประมาณ242 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงบังอี่ บางส่วนในท้องที่ อ.หนองพอกจ.ร้อยเอ็ด อ.กฉินารายณ์, อ.คำชะอี, อ.นิคมคำสร้อย, อ.หนองสูง และ อ.เมือง จ.มุกดาหาร เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผา น้ำทิพย์ นับว่ามีความสำคัญด้านนิเวศน์วิทยา มีความ หลากหลายด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นป่าต้นน้ำลำธารหลายสายที่หล่อเลี้ยงชีวิตราษฎรใน จ.ร้อยเอ็ด จ.มุกดาหาร และ จ.กาฬสินธุ์ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ ตั้งอยู่ในท้องที่ อ.บึงงาม อ.หนองพอกจ.ร้อยเอ็ด มีหน่วยพิทักษ์ป่า ที่ตั้งอยู่รอบแนวเขตห้ามล่าสัตว์ป่าผาน้ำทิพย์ 4 หน่วย

ลักษณะภูมิประเทศ
โดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปา่นกลาง 200-600 เมตร ประกอบก้วยป่าดงดิบแล้ง, ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็ง รัง ซึ่งสภาพป่ายังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก

ภาพทิวทัศน์บริเวณผาหมอกมิวาย
สัตว์ป่า ที่พบในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าผาน้ำทิพย์ มีหลายประเภท แบ่งได้ ดังนี้
1. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น หมู่ป่า, เก้ง, ลิง, สุนัขจิ้งจอก, อีเห็น, กระรอก, กระแต ฯลฯ
2. สัตว์เลื้อยคลาน เช่น งูจงอาง, งูเหลือม, งูเห่า, งูเขียว ฯลฯ
3. สัตว์ปีก เช่น เหยี่ยว, นกบั้งรอกใหญ่, นกโพ ระดก, นกปรอดเหลืองหัวจุก และนกอพยพหนีหนาวมา

จุดชมวิวผาหมอกวิวาย
จากไซบีเรียทางตอนเหนือของประเทศจีน
พรรณไม้ เนื่องจากสภาพป่าในเขตห้าล่าพันธ์สัตว์ป่าถ้ำ ผาน้ำทิพย์ ยังมีความอุดมสมบูรณ์ ต้นไม้ทางเศรษฐกิจ จึงยังคงมีอยู่มาก เช่น ตะเคียน พยัง มะค่าโมง ลูกดิ่ง รวมทั้งสมุนไพร

เส้นทางเดินทาง
จากร้อยเอ็ด ใช้ทางหลวงหมายเลข 2044 ร้อยเอ็ด-โพนทอง และต่อไปตามทางหลวงหมาย เลข 2136 โพนทอง-หนองพอก แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 2 จากหองพอก-บ้านท่าสะอาด ระยะทาง 9 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายจากบ้านท่าสะอาด ถึงสำนักงานเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ ระยะทาง 13 กิโลเมตร

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอโพนทอง
แหลมพยอม
แหลมพยอม อยู่บริเวณทิศตะวันออกของบึงโพนทอง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำกว้างใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ อยู่ห่างจากที่ว่าการ อำเภอโพนทองไปทางทิศตะวันออก (ถนนสายอำเภอโพนทอง-อำเภอหนองพอก) ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตรครับ

ที่อื่น ๆ


พิพิธภัณฑ์แห่งชาติร้อยเอ็ด
จัดตั้งขึ้นตามโครงการการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมืองเป็นสถานที่จัดแสดงและรวบรวมเรื่องราวน่ารู้ทุกด้านของจังหวัด เดิมที่เดียวนั้นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้อยเอ็ดจัดตั้งขึ้นตามดำริของท่านศาสตราจารย์ ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ในอันที่จะเป็นพิพิธภัณฑ์ฯ ศิลปหัตถกรรมอีสาน โดยเฉพาะผ้าไหม และ ผ้าพื้นเมือง ต่อมาเมื่อกรมศิลปกรมีนโยบายในการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมืองจึงได้ทำการปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาในการจัดแสดงให้ครอบคลุมข้อมูลเรื่องราวของจังหวัดทุกด้านทั้งด้านภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรณี โบราณคดี ประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญ วิถีชีวิต ประเพณี และศิลปหัตถรรม เริ่มโครงการจัดตั้งมาตั้งแต่งบประมาณ 2536 ซึ่งเป็นปีที่ได้รับงบประมาณ ก่อสร้างอาคารต่อเนื่อง มาจนกระทั่ง ปี 2540 จึงดำเนินการได้แล้วเสร็จสมบูรณ์ประกอบด้วยงบประมาณด้านการจัด แสดงนิทรรศการถาวร ปรับสภาพภูมิทัศน์ติดตั้งระบบไฟฟ้าและระบบปรับอากาศ จัดทำห้องประชุมและนิทรรศการพิเศษ ปรับปรุงบ้านพักเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้เฉพาะการ จัดแสดงได้มีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหมได้แก่ ระบบสารสนเทศการทำหุ่นจำลองและฉากชีวิตต่าง ๆ เข้ามาประกอบการนำเสนอเรื่องราว ทำให้อาจกล่าวได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในความดูแลของกรมศิลปากร

สถานแสดงพันธ์สัตว์น้ำ


สถานที่แสดงพันธ์สัตว์น้ำตั้งอยู่ที่ถนนสุนทรเทพ(หน้าวัดบึงพระลานชัย) ตำบลในเมือง อำเภอเมือง เป็นอาคาร 2 อาคารเชื่อมต่อกันอาคารแรกประกอบด้วยห้องโถง ห้องบรรยายห้องนิทรรศการ สำนักงาน ห้องจำหน่ายบัตรและของที่ระลึก ส่วนอาคารที่ 2 เป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่างเป็น ส่วนแสดงพันธุ์สัตว์น้ำประกอบด้วยตู้ปลาขนาดเล็กที่ ฝังอยู่ในผนังรอบ ๆ อาคาร จำนวน 24 ตู้ กลางอาคาร เป็นตู้ปลาขนาดใหญ่ 1 ตู้ กว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตรสับเปลี่ยนหมุนเวียนกับตู้แสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่ป่วย ด้านนอกของตัวอาคารจะมีการจัดภูมิทัศน์ให้เหมาะสมแก่ตัวอาคาร โดยจัดเป็นสวนหย่อมและปลูกไม้ดอกไม้ประดับโดยรอบของตัวอาคารพร้อมทั้งจัดให้ ้มีลานจอดรถสำหรับผู้เข้าชมอีก 2 จุด มีอุโมงค์แก้ว ผ่านกลางตู้สำหรับให้ผู้เข้าชมเดินชมได้อย่างใกล้ชิด ชั้นบนของอาคารเป็นบ่อพักน้ำ ถังกรองน้ำบ่อพัก และสำรองพันธุ์สัตว์น้ำไว้สำหรับสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดนี้

เปิดทุกวันเว้นวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ระหว่างเวลา 08.30-16.30 น.
อัตราค่าเข้าชม เด็ก 5 บาท ผู้ใหญ่ 10 บาท และชาวต่างประเทศ 30 บาท

สวนสาธารณะ พุทธประประวัติ เวสสันดรชาดก







ตั้งอยู่บ้านน้อยหัวฝาย หมู่ที่ 8 ตำบลรอบเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด (เริ่มก่อสร้าง ปี 2545 )สร้างขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ ของจังหวัดร้อยเอ็ดในอนาคต เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อนออก กำลังกายของประชาชน พื้นที่สวนห้อมล้อมด้วยบึงขนาดใหญ่ ประกอบด้วยรูปหล่อสวยงามของพระเวสสันดรชาดกทั้ง 13 กัณฑ์งบประมาณ จำนวน 28,700,000 บาท โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นผู้ดำเนินการ


0 ความคิดเห็น: